พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของ มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด

ถึงแม้ว่ามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดจะเป็นมงกุฎเฉพาะพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเท่านั้น แต่ได้ถูกใช้ทรงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์เพียงหกพระองค์ ได้แก่ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 (ค.ศ. 1661) พระเจ้าเจมส์ที่ 2 (ค.ศ. 1685) พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1689) พระเจ้าจอร์จที่ 5 (ค.ศ.1911) พระเจ้าจอร์จที่ 6 (ค.ศ.1937) และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 และสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ได้เลือกทรงมงกุฎเพชรของพระองค์เอง พระเจ้าจอร์จที่ 1 พระเจ้าจอร์จที่ 2 พระเจ้าจอร์จที่ 3 และพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 ได้เลือกทรงมงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 1 ส่วนพระเจ้าจอร์จที่ 4 ทรงมงกุฎราชาภิเษกองค์ใหญ่ที่จัดสร้างขึ้นใหม่สำหรับพระองค์เอง

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ทรงเลือกทรงมงกุฎอิมพีเรียลสเตท ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแทนมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดเนื่องจากน้ำหนักซึ่งหนักถึงสองกิโลกรัมกว่าๆ (2,155 กรัม)

ในกรณีที่ไม่ได้ใช้มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดทรงในระหว่างพระราชพิธี มงกุฎจะถูกเชิญไว้บนแท่นบูชาในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่ไม่พบการปฏิบัติเช่นนี้ในคราของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย[6]

ก่อนหน้าค.ศ. 1649 ในพระราชพิธีบรมราชภิเษก พระมหากษัตริย์จะทรงมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดองค์เดิม และจะเปลี่ยนไปทรงมงกุฎองค์อื่นๆ ในระหว่างพระราชพิธี

หลังจากปี ค.ศ. 1689 มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดมิได้ถูกใช้ในการราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรนานกว่าสองร้อยปี จนกระทั้งในปี ค.ศ. 1911 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเลือกมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดในพระราชพิธีราชาภิเษก นับตั้งแต่นั้นมุงกุฏก็ได้ถูกใช้มาตลอดจนถึงรัชสมัยปัจจุบัน

ใกล้เคียง

มงกุฎ มงกุฎพระสันตะปาปา มงกุฎดอกส้ม มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด มงกุฎอิมพีเรียลสเตต มงกุฎดอกหญ้า มงกุฎทิวดอร์ มงกุฎจักรพรรดิแห่งออสเตรีย มงกุฎไพร มงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4