ชื่อกับกายวิภาค ของ มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: กายวิภาคศาสตร์มนุษย์

ชื่อทวินามโดยอนุกรมวิธานของสปีชีส์ที่รวมประชากรมนุษย์ทั้งโลกก็คือ Homo sapiensซึ่งเชื่อว่าเกิดจากบรรพบุรุษในสกุล Homo ราว ๆ 300,000 ปีก่อน[3][17][18]

รูปร่างสัณฐานทั่วไป

โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ปัจจุบันจะบอบบางกว่ามนุษย์โบราณที่เป็นบรรพบุรุษแต่มนุษย์ก็แตกต่างกันมากคือมนุษย์ปัจจุบันก็ยังอาจแข็งแรงมาก และมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ ก็จะยิ่งแข็งแรงกว่านั้นถึงกระนั้น มนุษย์ปัจจุบันก็ยังแตกต่างจากมนุษย์โบราณ (เช่น นีแอนเดอร์ทาลและมนุษย์กลุ่ม Denisovan) ทางกายวิภาคพอสมควร

การเปรียบเทียบทางกายวิภาคของกะโหลกมนุษย์ Homo sapiens (ซ้าย) และ Homo neanderthalensis (ขวา)
(ในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์)
ส่วนที่เปรียบเทียบรวมทั้งกระดูกหุ้มสมอง หน้าผาก สันคิ้ว กระดูกจมูก การยื่นออกของใบหน้า มุมกระดูกแก้ม คาง และกระดูกท้ายทอย

กระดูกหุ้มสมอง

กระดูกหุ้มสมองไม่มีส่วนยื่นออกที่กระดูกท้ายทอย (occipital bun) ตรงคอ ซึ่งเป็นส่วนยึดกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงของนีแอนเดอร์ทาลโดยทั่วไป มนุษย์ปัจจุบันแม้ระยะต้น ๆ จะมีสมองส่วนหน้าใหญ่กว่าของมนุษย์โบราณ โดยอยู่เหนือลูกตาแทนที่จะอยู่ไปทางด้านหลังดังนั้น หน้าผากจึงมักทอดสูงกว่าแม้จะไม่เสมอไป และมีสันคิ้วที่เล็กลงถึงกระนั้น ทั้งมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ และมนุษย์บางพวกในปัจจุบันก็ยังมีสันคิ้วหนาพอสมควร แต่ต่างจากแบบโบราณเพราะมีช่องเหนือเบ้าตาเป็นร่องวิ่งผ่านสันคิ้วเหนือตาแต่ละข้าง[19]ซึ่งแบ่งสันคิ้วออกเป็นส่วนตรงกลางส่วนหนึ่งและส่วนปลายสองข้างดังนั้น มนุษย์ปัจจุบันบ่อยครั้งจะมีแค่ส่วนตรงกลาง ถ้ามีซึ่งต่างจากมนุษย์โบราณ ที่สันคิ้วทั้งใหญ่และไม่แยกออกจากกัน[20]

มนุษย์ปัจจุบันมักจะมีหน้าผากสูง บางครั้งตั้งฉาก เทียบกับของบรรพบุรุษที่มักจะเทลาดไปทางด้านหลังอย่างชัดเจน[21]ตามนักชีวสังคมวิทยาท่านหนึ่ง หน้าผากที่ตั้งฉากในมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารโดยการขยับคิ้วและย่นหน้าผาก[22]

ขากรรไกร

เทียบกับมนุษย์โบราณ มนุษย์ปัจจุบันมีฟันที่เล็กกว่าและมีรูปร่างต่างกัน[23][24]ทำให้กระดูกขากรรไกรล่างเล็กกว่าและยื่นออกน้อยกว่า มีผลให้คางดูยื่นออกมาบ่อยครั้งอย่างเด่นชัดโดยส่วนกลางของกระดูกขากรรไกรล่างที่เป็นส่วนของคาง มีบริเวณรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นส่วนสุดของคางที่เรียกว่า mental trigon ซึ่งมนุษย์โบราณไม่มี[25]มีสันนิษฐานว่า ในกลุ่มมนุษย์ที่ยังมีอยู่ การใช้ไฟและเครื่องมือทำให้จำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อขากรรไกรลดลง ขากรรไกรจึงบอบบางและเล็กกว่าเมื่อเทียบกับมนุษย์โบราณ มนุษย์ปัจจุบันจะมีใบหน้าที่เล็กกว่าและยื่นออกน้อยกว่า

กระดูกร่าง

กระดูกร่างกายของมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ ที่แข็งแรงที่สุด ก็ยังแข็งแรงสู้ของนีแอนเดอร์ทาล (และของมนุษย์กลุ่ม Denisovan แม้จะยังรู้จักน้อย) ไม่ได้ โดยเฉพาะเกี่ยวกับกระดูกยาวของแขนขา คือ กระดูกท่อนปลายของแขนขา (คือกระดูกเรเดียส/อัลนา) และกระดูกแข้ง/น่อง มีขนาดเกือบเท่ากับ หรือสั้นกว่ากระดูกส่วนต้น (คือกระดูกต้นแขน/ต้นขา) เพียงเล็กน้อยแต่ว่าในมนุษย์โบราณ โดยเฉพาะนีแอนเดอร์ทาล กระดูกส่วนปลายจะสั้นกว่า ซึ่งมักพิจารณาว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับอากาศหนาว[26]และการปรับตัวเช่นเดียวกันก็เห็นได้ในมนุษย์ปัจจุบันที่อยู่ในเขตขั้วโลก[27]

มนุษย์โบราณมีโครงกระดูกที่แข็งแรง ซึ่งแสดงถึงชีวิตที่ต้องใช้แรงมากและอาจหมายความว่า มนุษย์ปัจจุบันที่มีโครงสร้างบอบบางกว่า ได้กลายมาพึ่งเทคโนโลยีแทนที่จะพึ่งกำลังกายล้วน ๆ เพื่อต่อสู้กับธรรมชาติ

แหล่งที่มา

WikiPedia: มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน http://bioanth.ucalgary.ca/Katzenberg http://www.cell.com/ajhg/pdf/S0002-9297 http://io9.com/5889484/neanderthals-were-sailing-t... http://emedicine.medscape.com/article/834862-overv... http://news.nationalgeographic.com/news/2002/03/03... http://www.natureasia.com/en/nmiddleeast/article/1... http://www.sciencedaily.com/releases/2012/08/12083... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=f... http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/artic... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/ajpa.20...