สถานที่สำคัญ ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร

วังท่าพระ

  • ประตูและกำแพงวังท่าพระ

กำแพงก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาประกอบ กำแพงนี้คาดว่าก่อสร้างพร้อมกับ วังท่าพระ ตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะด้านริมถนนหน้าพระลาน ถือเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

  • ท้องพระโรงและกำแพงแก้ว

ปัจจุบันเป็นหอศิลป์ของมหาวิทยาลัย ลักษณะท้องพระโรงเป็นแบบเรือน 5 ห้อง เฉลียงรอบหันหน้ายาวออกหน้าวัง รูปทรงท้องพระโรงที่ปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นภายนอกคงยึดตามแบบที่ปรากฏเมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ภายในคงไว้แต่เสาเดิม มีบันไดใหญ่เข้าทางด้านหน้าได้ทางเดียว กำแพงนั้นเป็นสถาปัตยกรรมใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลูกกรงที่ทำด้วยเหล็กหล่อเป็นลายสวยงาม และได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

  • ตำหนักกลางและตำหนักพรรณราย

สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรุ่นแรก ๆ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือเป็นตึกสองชั้น มีเฉลียงหลังหนึ่งหันเข้าหาอีกหลังหนึ่ง ส่วนหลังนอกนั้นอยู่ข้างสวนแก้ว ตึกหลังในที่มีเฉลียงทำเรียบกว่าหลังนอก และมีเสาทึบ หัวเสาเป็นแบบศิลปะโรมัน ช่องคูหาด้านล่างเป็นช่องโค้ง มีการตกแต่งที่ส่วนต่าง ๆ ภายนอกอาคารเล็กน้อย ส่วนตึกหลังนอกมีรูปทรงทึบกว่า มีการตกแต่งผิวหนังโดยการเซาะเป็นร่องในชั้นล่าง ส่วนชั้นบนผนังเรียบ มีเสาติดผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตูต่าง ๆ ด้วยลายปูนปั้นหรือตีตารางไม้ไว้ในช่องแสงเหนือประตูบางส่วน ตึกหลังนอกมีกันสาด มีเท้าแขนรับกันสาดทำอย่างเรียบ ๆ และประดับชายคาด้วยลายฉลุไม้ ตึกหลังในนี้เป็นที่ประทับของ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย พระมารดาของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยตำหนักกลางนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของหอศิลป์และหน่วยงานของมหาวิทยาลัย

  • ศาลาในสวนแก้ว

เรียกว่า ศาลาดนตรี เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์เจ้าของวังเคยประทับที่ศาลานี้เพื่อชมการแสดงหรือประชันดนตรีซึ่งจะตั้งวงกันในสวนแก้ว เพราะในวังท่าพระขณะนั้นมีวงดนตรีประจำวังที่มีชื่อเสียง ศาลาในสวนนี้ทำเป็นศาลาโปร่งมีผนังด้านเดียว หันหน้าเข้าหาสวนแก้ว หลังคาเป็นแบบปั้นหยา มีลายประดับอาคารอย่างละเอียดซับซ้อนกว่าตัวตำหนัก จึงเข้าใจว่าสร้างทีหลัง ลายฉลุไม้ทั้งที่ชายคาท้าวแขนระเบียบทำอย่างประณีตงดงาม

  • อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

เป็นหนึ่งในศูนย์รวมใจของชาวศิลปากร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บริเวณลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี หลังตึกกรมศิลปากร

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

พระตำหนักที่โดดเด่นที่สุดในหมู่พระตำหนักและพระที่นั่ง และเป็นสัญลักษณ์ของ พระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสนามใหญ่ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2451 โดยมี หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ จุดเด่นของพระตำหนักองค์นี้คือสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับปราสาท ซึ่งเป็นการผสมระหว่างศิลปะเรอเนซองส์ของฝรั่งเศส กับอาคารแบบฮาล์ฟ ทิมเบอร์ของอังกฤษ แต่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย ใน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระตำหนักว่า "พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์"[65] และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนัก เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460

พระตำหนัก 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทอง ทาสีแดง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิกของประเทศทางตะวันตก แต่ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วนให้เหมาะกับภูมิอากาศแบบเมืองร้อน พระตำหนักองค์นี้สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดยมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพาน จากชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนัก สะพานดังกล่าวหลังคามุงกระเบื้อง และติดหน้าต่างกระจกทั้งสองด้าน ตลอดความยาวของสะพานที่เชื่อมติดต่อถึงกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ ในราว พ.ศ. 2459 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ

  • พระตำหนักทับแก้ว

อาคารตึกสองชั้นในพระราชวังสนามจันทร์ เคยเป็นที่ประทับในฤดูหนาวของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในอาคารมีเตาผิงและหลังคา มีปล่องไฟตามแบบตะวันตก ในระหว่างที่มีการซ้อมรบเสือป่า พระตำหนักเป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่ากองเสนาน้อยราบเบารักษาพระองค์ โดยพื้นที่ด้านหลังของพระตำหนักเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อันเป็นที่มาของคำว่า "ม.ทับแก้ว"

เป็นเรือนไทยภาคกลางที่อาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณ และใช้พระตำหนักองค์นี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์ โดยบริเวณกลางชานเรือนปลูกต้นจันใหญ่แผ่กิ่งก้านไว้ให้ร่มเงาอยู่ เหตุนี้ต้นจันจึงถูกกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

  • เทวาลัยคเณศร์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ณ ที่อันเป็นศูนย์กลางของพระราชวังสนามจันทร์ สำหรับประดิษฐานพระคเณศ ซึ่งนับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง และเพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งพระราชวังสนามจันทร์ และเมื่อมองจากพระที่นั่งพิมานปฐม จะเห็นพระปฐมเจดีย์ เทวาลัยคเณศร์ และพระที่นั่งพิมานปฐมอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน

  • อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ก่อตั้งวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่บริเวณหน้าคณะศึกษาศาสตร์ ทางทิศเหนือของสำนักงานอธิการบดี

  • สระแก้ว สะพานสระแก้ว และศาลาสระแก้ว

สระน้ำขนาดใหญ่กลางมหาวิทยาลัย อยู่คู่กับพระราชวังสนามจันทร์ มีบรรยากาศร่มรื่น มีการสร้างสะพานข้ามสระหลายแห่ง แต่ที่โดดเด่นคือสะพานไม้หน้าโรงอาหารสระแก้ว ใกล้กันมีศาลาไม้แปดเหลี่ยมแบบโปร่ง ฉลุตามแบบตะวันตก สระน้ำนี้เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและใช้จัดงานลอยกระทงที่มีชื่อเสียง

  • ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

สร้างขึ้นในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นอาคารขนาดใหญ่ ขนาดความสูง 2 ชั้น ใช้ในกิจกรรมสำคัญของมหาวิทยาลัย อาทิ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา พิธีปฐมนิเทศและบายศรีสู่ขวัญนักศึกษาชั้นปีที่ 1

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

  • เทวาลัยพระคเณศ

พระคเณศหล่อโลหะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน้าตักกว้าง 96 นิ้ว ประดิษฐานเมื่อ พ.ศ. 2550 ปัจจุบันอยู่บริเวณลานเทวาลัยพระคเณศ เนื่องในปีมหามงคลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อองค์พระคเณศ ออกแบบปั้นและหล่อโดย อาจารย์ เสวต เทศน์ธรรม ประติมากรอาวุโส ศิษย์คนสำคัญของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นสิริมงคลแก่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

  • ลานประติมากรรม

ลานเนินสูงต่ำหลายเนิน ปูคลุมทั้งหมดด้วยสนามหญ้า มีต้นไม้และสระน้ำขนาดใหญ่ กว้างขวาง จัดแสดงผลงานประติมากรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากทั้งในและต่างประเทศหลายชิ้น ตั้งอยู่บริเวณหน้าวิทยาเขต มีชื่อเล่นว่า "ลานเทเลทับบีส์" เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับสถานที่ในละครทีวีเรื่องเทเลทับบีส์ เป็นสถานที่พักผ่อนและใช้จัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ พิธีบรวงสวงพระคเณศ เทศกาลตลาดศิลป์ และพิธีลอยกระทง

  • อาคารบริหาร

อาคารสูง 7 ชั้น มีลักษณะโดดเด่น ก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้วัสดุและแนวคิดประหยัดพลังงาน เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดีและหน่วยงานต่าง ๆ ในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และเป็นสัญลักษณ์ของวิทยาเขต ด้านข้างอาคารมีทางเดินเชื่อมกับอาคารเรียนรวม 1 เรียกว่าระเบียงชงโค

  • สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ

ระเบียงภาพ

  • มศก. วังท่าพระ
  • ประตู มศก. วังท่าพระ
  • กำแพง มศก. วังท่าพระ
  • ท้องพระโรงและกำแพงแก้ว วังท่าพระ
  • อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ใน มศก. วังท่าพระ
  • ประตูฝั่งถนนทรงพล หน้า มศก. สนามจันทร์
  • สระแก้วและสะพานสระแก้ว ใน มศก. สนามจันทร์

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.trueplookpanya.com/blog/content/67376/-... http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/09/13/entr... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.admissions.su.ac.th/ http://www.thapra.lib.su.ac.th/princess/text/artic... http://www.plan.su.ac.th/mis-info/detail-basic/Fil... http://www.su.ac.th/ http://www.tnews.co.th/contents/207621 http://www.tnews.co.th/contents/361165 http://art.culture.go.th/art01.php?nid=15