ประโยชน์ ของ มะม่วงหิมพานต์

ผลมะม่วงหิมพานต์
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์สด
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน2,314 kJ (553 kcal)
30.19 g
น้ำตาล5.91 g
ใยอาหาร3.3 g
43.85 g
18.22 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(37%)
.42 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(5%)
.06 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(7%)
1.06 มก.
(17%)
.86 มก.
วิตามินบี6
(32%)
.42 มก.
โฟเลต (บี9)
(6%)
25 μg
วิตามินซี
(1%)
.5 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(4%)
37 มก.
เหล็ก
(51%)
6.68 มก.
แมกนีเซียม
(82%)
292 มก.
ฟอสฟอรัส
(85%)
593 มก.
โพแทสเซียม
(14%)
660 มก.
สังกะสี
(61%)
5.78 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA Nutrient Database

ปัจจุบันมะม่วงหิมพานต์พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน เพราะเติบโตได้อย่างเหมาะสมในสภาพอากาศที่ชื้น และอบอุ่น ทั้งในเอเชีย และอเมริกาใต้ นิยมใช้เนื้อภายในเมล็ดเป็นอาหารว่าง และยังเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกของอินเดีย เวียดนาม และบราซิล ทั้งสามประเทศนี้ มีอัตราการส่งออกถึง 90% ของผลิตภัณฑ์เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ทั่วโลก

ส่วนผลมะม่วงหิมพานต์นั้นเนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ แต่มีรสเปรี้ยว รับประทานได้ทั้งห่ามและสุก ทางภาคใต้ของไทย นิยมนำผลห่ามแกงส้ม แกงเลียง ส่วนผลสุก รับประทานกับเกลือเป็นของกินเล่น บางครั้งออกรสฝาดเล็กน้อย นอกจากนี้ยังสามารถนำไปหมักเป็นไวน์ น้ำส้มสายชู หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ได้ ผลมะม่วงหิมพานต์มีส่วนประกอบของแทนนินมาก และเน่าเสียเร็วมาก ด้วยเหตุนี้ โดยทั่วไปจึงมักจะทิ้งผลเทียม หลังจากเก็บเมล็ดออก

ส่วน urushiol นั้น จะต้องนำออกจากเปลือกเมล็ดสีเขียวเข้มก่อนที่จะรับประทานเนื้อสีขาวนวลข้างใน ยางจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์นี้ในอินเดีย ควาญช้างนำมาใช้เพื่อคุมช้างให้เชื่อง

เมล็ดมะม่วงหิมพานต์คั่ว โรยเกลือ เป็นอาหารว่าง

เมล็ดมะม่วงหิมพานต์นับเป็นส่วนประกอบอาหารหลายชนิดในเอเชีย อาจบดให้ป่น เป็นเนยเมล็ดมะม่วงสำหรับใช้ทาขนมปังแบบเดียวกับเนยถั่วก็ได้ เมล็ดมะม่วงนี้มีน้ำมันพืชสูงมาก มีการนำไปใช้ในเนยถั่วอื่น ๆ บางชนิด เพื่อเพิ่มน้ำมันพิเศษ เมล็ดมะม่วงบรรจุหีบห่อที่พบในสหรัฐอเมริกา ปริมาณ 30 กรัม มีพลังงาน 180 แคลอรี (750 กิโลจูล) โดยมีไขมัน 70% เม็ดมะม่วงหิมพานต์สดได้จากการกะเทาะเปลือกของผลแก่ออก นำมาแช่น้ำปูนใสเพื่อป้องกันไม่ให้ดำ นำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่นใส่ในแกงไตปลา แกงส้ม นำไปอบแล้วผัดกับน้ำตาลปี๊บเคี่ยว กินเป็นของหวาน เช่นหัวครกฉาบ[1]

ของเหลวที่มีอยู่ในเปลือก ที่หุ้มเนื้อข้างใน เรียกว่า Cashew Nut Shell Liquid (CNSL) มีประโยชน์หลายประการในด้านอุตสาหกรรม ซึ่งมีการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในราวทศวรรษ 1930 ของเหลวชนิด CNSL นี้ถูกนำไปผ่านกระบวนการคล้ายการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม โดยได้ผลผลิตเบื้องต้นสองอย่าง นั่นคือ ของแข็งบดละเอียด ใช้หุ้มเบรก และของเหลวสีอำพัน ที่ใช้เพื่อสร้างตัวทำให้แข็งแบบฟีนอลคามีน (phenalkamine) และตัวปรับปรุงคุณภาพเรซิน สารฟีนอลคามีนนั้นเดิมใช้ในการเคลือบอีพอกซีสำหรับตลาดผลิตภัณฑ์ปูพื้นและเกี่ยวกับการเดินเรือ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่มีไฮโดรโฟบิกเข้มข้น และสามารถมีปฏิกิริยาเคมีได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ