มาตราการตวงของไทย

มาตราการตวงของไทย สมัยก่อนเรานิยมใช้การตวงโดยใช้กะลามะพร้าว ใช้ถัง ใช้กระบุงสานจากไม้ไผ่ ในการหาปริมาณของสิ่งของที่เป็นของแห้ง ซึ่งอาจมีขนาดที่ไม่แน่นอน เมื่อการค้าเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก จนต้องตั้งกระทรวงเกษตรพณิชยการขึ้นมาในรัชกาลที่ 6 จัดการการค้าขายโดยเฉพาะ และกำหนดวิธีการชั่งตวงวัดขึ้นให้มีมาตรฐานเดียวกันไม่เป็นอุปสรรดในการค้าขายในประเทศและระหว่างประเทศใน พ.ศ. 2466 ได้มีการตราพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด ขึ้นมาเพื่อกำหนดการตวงขึ้นใช้ร่วมกันมาตราที่ 13 มูลจำนวนหน่วยแห่งความจุสำหรับวัตถุเหลวฟาวัตถุแห้งนั้น ให้เป็น ลิตร คือ ขนาดโวลูมของน้ำบริสุทธิ (ปราศจากอากาศ) หนักหนึ่งกิโลกรัมในเวลาที่ความหนาวร้อนเสมอขีด 4 ดีกรีเซนติกราด และมีความกดอากาศเปนธรรมดา

ใกล้เคียง

มาตรา มาตราพายุหมุนเขตร้อน มาตราประเมินความซึมเศร้า มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น มาตราริกเตอร์ มาตราชั่งตวงวัดของญี่ปุ่น มาตราโมส มาตราโบฟอร์ต มาตราเมร์กัลลี มาตราทองคำ