ประวัติ ของ มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นประสบกับแผ่นดินไหวกว่า 400 ครั้งในทุกวัน[4] แม้ว่าส่วนใหญ่จะอยู่ในขนาด "0" ชินโดะหรือน้อยกว่านั้นและสามารถตรวจจับได้เฉพาะเครื่องตรวจเท่านั้น

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มกำหนดสี่ขั้นตอนชินโดะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2427 ด้วยสี่ระดับคือ: 微 (เงียบ), 弱 (อ่อน), 強 (แรง), และ 烈 (รุนแรง)

ในปี พ.ศ. 2441 ระบบมาตราได้เปลี่ยนเป็นระบบตัวเลข โดยกำหนดระดับการเกิดแผ่นดินไหวเป็นระดับ 0 – 7

ในปี พ.ศ. 2451 ระดับของมาตรานี้ได้รับการอธิบายให้ละเอียดขึ้น และการระบุระดับจะขึ้นอยู่กับผลกระทบกับผู้คน โดยสเกลนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายในสมัยเมจิ และได้รับการแก้ไขในสมัยโชวะโดยมีการแก้ไขคำอธิบายใหม่ทั้งหมด

หลังจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538 ระดับ "5" และ "6" ถูกแบ่งออกเป็นสองระดับ ทำให้กลายเป็น 10 ระดับแผ่นดินไหวโดย: 0–4, อ่อน/แรง 5 (5弱、5強), อ่อน/แรง 6 (6弱、6強) และ 7

โดย ชินโดะ ได้มีการนำมาใช้ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกเลย[5][6]

ใกล้เคียง

มาตรา มาตราพายุหมุนเขตร้อน มาตราประเมินความซึมเศร้า มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น มาตราริกเตอร์ มาตราชั่งตวงวัดของญี่ปุ่น มาตราเมร์กัลลี มาตราโบฟอร์ต มาตราโมส มาตราทองคำ

แหล่งที่มา

WikiPedia: มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น http://wwweprc.eri.u-tokyo.ac.jp/CSS/shindo.html http://www.e-pisco.jp/equake/shindo/old/oldshindo2... http://www.hinet.bosai.go.jp/about_earthquake/part... http://www.hp1039.jishin.go.jp/eqchreng/at2-3.htm http://www.jma.go.jp/en/quake/ http://www.seisvol.kishou.go.jp/eq/intens_st/index... http://web.archive.org/web/20060909043549/http://g...