ริกเตอร์แมกนิจูต ของ มาตราริกเตอร์

ริกเตอร์แมกนิจูดของแผ่นดินไหวสามารถหาค่าได้จากลอการิทึมของแอมพลิจูดของคลื่นที่สามารถตรวจวัดได้โดยเครื่องวัดแผ่นดินไหว (ต่อมามีการแก้ไขรูปแบบการคำนวณ เพื่อชดเชยระยะห่างระหว่างเครื่องวัดแผ่นดินไหวจำนวนมากและศูนย์กลางแผ่นดินไหว) สูตรดั้งเดิมเป็นดังนี้[3]

M L = log 10 ⁡ A − log 10 ⁡ A 0 ( δ )   {\displaystyle M_{\mathrm {L} }=\log _{10}A-\log _{10}A_{\mathrm {0} }(\delta )\ }

โดยที่ A เป็นการเบี่ยงเบนที่มีค่ามากที่สุดของเครื่องวัดแผ่นดินไหววูด-แอนเดอร์สัน ในเชิงประจักษ์แล้ว การทำงานของ A0 ขึ้นอยู่กับระยะทางจากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของสถานี (δ) ในทางปฏิบัติแล้ว การอ่านค่าจากสถานีสังเกตการณ์ทั้งหมดจะถูกนำมาเฉลี่ยหลังจากมีการปรับแก้โดยเฉพาะของแต่ละสถานีเพื่อให้ได้มาซึ่งค่ามาตราริกเตอร์

เนื่องจากพื้นฐานลอการิทึมของมาตราริกเตอร์ การเพิ่มขึ้นของตัวเลข 1 หน่วยหมายความว่า แอมพลิจูดที่สามารถวัดได้มีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม 10 เท่า ในแง่ของพลังงาน การที่แมกนิจูดเพิ่มขึ้น 1 หน่วย หมายความว่า มีพลังงานปลดปล่อยออกมามาขึ้น 31.6 เท่า และการเพิ่มขึ้น 0.2 แมกนิจูด หมายความว่าพลังงานจะปลดปล่อยออกมามากกว่าเดิมถึง 2 เท่า

ตารางแสดงมาตราริกเตอร์และผลกระทบ โดยสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา[4]
ตัวเลขริกเตอร์จัดอยู่ในระดับผลกระทบอัตราการเกิดทั่วโลก
1.9 ลงไปไม่รู้สึกไม่มี ไม่สามารถรู้สึกได้[5]8,000 ครั้ง/วัน
2.0-2.9เบามากคนทั่วไปมักไม่รู้สึก แต่ก็สามารถรู้สึกได้บ้าง และตรวจจับได้ง่าย1,000 ครั้ง/วัน
3.0-3.9คนส่วนใหญ่รู้สึกได้ และบางครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง49,000 ครั้ง/ปี
4.0-4.9เบาข้าวของในบ้านสั่นไหวชัดเจน สามารถสร้างความเสียหายได้ปานกลาง6,200 ครั้ง/ปี
5.0-5.9ปานกลางสร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง แต่กับสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงนั้นไม่มีปัญหา800 ครั้ง/ปี
6.0-6.9แรงสร้างความเสียหายที่ค่อนข้างรุนแรงได้ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร120 ครั้ง/ปี
7.0-7.9รุนแรงสามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในบริเวณกว้างกว่า18 ครั้ง/ปี
8.0-8.9รุนแรงมากสร้างความเสียหายรุนแรงได้ในรัศมีเป็นร้อยกิโลเมตร1 ครั้ง/ปี
9.0 ขึ้นไป'ล้างผลาญ' ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีเป็นพันกิโลเมตร1 ครั้ง/20 ปี

แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้น คือ แผ่นดินไหวในประเทศชิลี ที่เมืองวัลดิเวีย พ.ศ. 2503 ซึ่งสามารถวัดความรุนแรงได้ 9.5 [6]

ใกล้เคียง

มาตรา มาตราพายุหมุนเขตร้อน มาตราประเมินความซึมเศร้า มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น มาตราริกเตอร์ มาตราชั่งตวงวัดของญี่ปุ่น มาตราเมร์กัลลี มาตราโบฟอร์ต มาตราโมส มาตราทองคำ