ข้อมูลการออกอากาศ ของ มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์_ซีซันที่_2

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ตอนที่ 1 : การทำเมนู Signature Dish เพื่อความภูมิใจของครอบครัว

ออกอากาศ 22 กันยายน 2562

เนื่องจากน้องๆ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 28 คนได้พิสูจน์ความสามารถในรอบคัดเลือกเป็นอย่างดี จึงได้รับผ้ากันเปื้อนทุกคน โดยผ้ากันเปื้อนซ่อนอยู่ในลูกโป่งใบใหญ่ น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันต้องทำลายลูกโป่งให้แตกจึงจะได้ผ้ากันเปื้อนไป

  • การแข่งขันรอบกล่องปริศนา: ในรอบกล่องปริศนา ในกล่องนั้นเป็นรูปของผู้เข้าแข่งขันและครอบครัว น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำ Signature Dish หรืออาหารจานที่ถนัดที่สุด เพื่อให้พ่อ แม่ และครอบครัวของผู้เข้าแข่งขันภูมิใจในฝีมือการทำอาหารของผู้เข้าแข่งขันมากที่สุด โดยมีวัตถุดิบเสริมอย่างจำกัดให้คนละเท่า ๆ กัน มีเวลาในการปรุงอาหารเป็นเวลา 60 นาที แมนต้า, วี, อิ่ม และพอดี เป็นสี่คนที่ทำเมนูออกมาได้ดี โดยแมนต้าสามารถรีดแป้งเป็นราวิโอลี่และทำเมนูมังสวิรัติออกมาได้ดี, วีใช้เทคนิคในการทำแซลม่อนถึง 2 แบบ และทำออกมาได้ดี, อิ่มทำแกงคั่วใบชะครามของไทยและนำมาผสมกับล็อบสเตอร์ได้ดี ส่วนพอดีสามารถนำแกงมัสมั่นไก่ซึ่งเป็นอาหารตะวันออกมารวมเข้ากับคอทเทจพายซึ่งเป็นอาหารตะวันตกได้อย่างลงตัวและสร้างสรรค์ และแมนต้าก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนาคนแรก โดยไม่มีใครถูกคัดออกในสัปดาห์นี้
  • ผู้ที่ได้เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด: แมนต้า, วี, อิ่ม และพอดี
  • ผู้ชนะ: แมนต้า

ตอนที่ 2 : การทำเมนูจากสมบัติล้ำค้าแห่งท้องทะเลไทย

ออกอากาศ 29 กันยายน 2562

  • บททดสอบทักษะในการทำอาหาร: ในรอบบททดสอบทักษะในการทำอาหาร เนื่องจากหม่อมหลวงภาสันต์ไม่อยู่ ป๋าเปิ้ล - นาคร ศิลาชัย จึงมาเป็นแขกรับเชิญในวันนี้ และจากการที่แมนต้าเป็นผู้ชนะในสัปดาห์ที่แล้ว จึงทำให้แมนต้าผ่านเข้ารอบต่อไป โดยไม่ต้องทำการแข่งขัน และมีสิทธิ์เลือกเพื่อนอีก 6 คนให้ผ่านเข้ารอบไปด้วยโดยไม่ต้องทำการแข่งขัน ซึ่งแมนต้าได้เลือกภูมิใจ, คีตา, เฌอแตม, แพท, เฟย์ และอิ่มผ่านเข้ารอบต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจะถูกแบ่งออกเป็นสามทีม โดยมีกรรมการเป็นคนจัดทีมให้ และให้น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันในทีมเลือกหัวหน้าทีมเอง
หัวหน้าทีมสมาชิก
เฟิร์สชูบี้, โมสต์, พรีม, เอพริล, ปาร์แมน และวี
พอดีโกะ, จัสติน, จินจิน, ฟิจิ, เคนเน็ธ และฟุ้ย
เฟิร์นรันย่า, เนลล์, ริสา, ต้น, สตางค์ และมะกร

โดยโจทย์ของการแข่งขันคือ เมนูซูชิและชุดเทมปุระ น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันต้องช่วยกันทำเมนูซูชิและชุดเทมปุระ โดยแต่ละคนจะมีหน้าที่เป็นของตัวเองแต่ละขั้นตอน โดยทีมที่ทำได้เร็วและสมบูรณ์แบบที่สุด จะเป็นผู้ชนะ และได้แกล้งกรรมการด้วยการพาลงบ่อสมูทตี้ชาเขียวแก้วยักษ์ และทีมที่ชนะในครั้งนี้คือ ทีมเฟิร์ส

  • ทีมที่ชนะ: ทีมเฟิร์ส
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: จากการที่ทีมเฟิร์สชนะในบททดสอบทักษะในการทำอาหาร จึงได้เลือกแกล้งป๋าเปิ้ลด้วยการพาลงบ่อสมูทตี้ชาเขียวแก้วยักษ์และไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ โดยโจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ คือ สมบัติล้ำค้าแห่งท้องทะเลไทย น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันจะสามารถใช้วัตถุดิบจาก 4 ชนิด คือ กุ้งลายเสือจากจังหวัดระนอง, หอยแมลงภู่จากจังหวัดสมุทรสาคร, ปูม้าจากจังหวัดระยอง และปลาเก๋าจากจังหวัดภูเก็ต มาเป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหาร โดยจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่าก็ได้ มีเวลาในการปรุงอาหารเป็นเวลา 60 นาที หลังจากกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ในครั้งนี้คือ เคนเน็ธ ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำอาหารออกมาผิดพลาดมากที่สุดคือ สตางค์, เฟิร์น และมะกร และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือสตางค์และเฟิร์น
  • ผู้ชนะ: เคนเน็ธ
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: สตางค์, เฟิร์น และมะกร
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: สตางค์และเฟิร์น

ตอนที่ 3 : การทำพาสต้าระดับ Al Dente สุดสร้างสรรค์

ออกอากาศ 6 ตุลาคม 2562

  • การแข่งขันรอบกล่องปริศนา: ในรอบกล่องปริศนาในวันนี้ เนื่องจากหม่อมหลวงภาสันต์ไม่อยู่ เฟิร์ส - ธนภัทร สุยาว จากมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2 และเตย - พัดชา กัลยาณมิตร จากมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 3 จึงมาเป็นแขกรับเชิญในวันนี้ โดยครั้งนี้มีวัตถุดิบหลักคือใบมะกรูด และโจทย์ในรอบกล่องปริศนาในครั้งนี้คือ เครื่องเทศและสมุนไพรไทย ภายในกล่องประกอบด้วยส่วนผสมหลักของเครื่องแกงไทย เช่น ตะไคร้ ข่า ผิวมะกรูด ลูกผักชี ยี่หร่า โป๊ยกั้ก กานพลู อบเชย กระวาน ขมิ้นผง ผงกะหรี่ และกะทิ น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารไทยสุดสร้างสรรค์โดยใช้ความรู้พื้นฐานจากเครื่องแกงไทยเป็นส่วนประกอบ และจะต้องตำเครื่องแกงด้วยตัวเอง มีเวลาในการปรุงอาหารเป็นเวลา 60 นาที รันย่า, ปาร์แมน และเคนเน็ธ เป็นสามคนที่ทำเมนูออกมาได้ดี และผู้ชนะในรอบนี้คือ เคนเน็ธ
  • ผู้ที่ได้เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด: รันย่า, ปาร์แมน และเคนเน็ธ
  • ผู้ชนะ: เคนเน็ธ
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: ในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ วัตถุดิบหลักในครั้งนี้คือ พาสต้า อาหารของชาวอิตาเลียนที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี น้ำ และไข่ มีมากกว่า 500 รูปแบบ โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ พาสต้าสุดสร้างสรรค์ โดยทุกคนต้องทำเส้นพาสต้าสดด้วยตัวเอง และต้องเสิร์ฟเป็นเส้นพาสต้าแบบ Al Dente และจากการที่เคนเน็ธชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิพิเศษคือ ได้ผ่านเข้ารอบทันทีโดยไม่ต้องทำการแข่งขันในรอบนี้ และสามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันให้ผ่านเข้ารอบไปกับเขาได้ตามจำนวนของมะเขือเทศในตะกร้าที่หม่อมหลวงภาสันต์นำมาซึ่งมีทั้งหมด 12 ลูก ซึ่งเคนเน็ธได้เลือก ตั้น, วี, เฟย์, เนลล์, ฟิจิ, รันย่า, ฟุ้ย, เฟิร์ส, ปาร์แมน, โมสต์, พอดี และแมนต้าให้ผ่านเข้ารอบไปด้วย ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ในครั้งนี้คือ แพท ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำอาหารออกมาได้ผิดพลาดเยอะที่สุดคือ เอพริล, ภูมิใจ และโกะ และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือเอพริลและภูมิใจ
  • ผู้ชนะ: แพท
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: เอพริล, ภูมิใจ และโกะ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เอพริลและภูมิใจ

ตอนที่ 4 : การทำเมนูจากไข่ 3 แบบ

ออกอากาศ 13 ตุลาคม 2562

  • บททดสอบทักษะในการทำอาหาร: ในรอบบททดสอบทักษะในการทำอาหาร โจทย์ในการแข่งขันในครั้งนี้คือ ชีสเบอร์เกอร์ ที่ประกอบไปด้วย แป้งขนมปัง เนื้อบด ชีส ผักกาดแก้ว มะเขือเทศ หอมใหญ่ แตงกวาดอง ไข่ดาว และซอสมะเขือเทศ น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันต้องทำชีสเบอร์เกอร์ให้เหมือนต้นฉบับโดยไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งก่อนการแข่งขัน ทางรายการได้เตรียมชีสเบอร์เกอร์ให้ผู้เข้าแข่งขันนำไปรับประทานด้วย แต่มีสีกระดาษห่อเบอร์เกอร์แตกต่างกัน ซึ่งคนที่ได้เบอร์เกอร์ที่ห่อด้วยสีเดียวกันต้องไปรวมกลุ่มกันเพื่อแข่งเป็นทีม 4 ทีม คือทีมสีแดง ทีมสีเหลือง ทีมสีเขียว และทีมสีน้ำเงิน ผลออกมาดังนี้
ทีมสมาชิก
สีแดงจินจิน, แพท, เฌอแตม, อิ่ม, คีตา และเฟิร์ส
สีเหลืองเนลล์, ชูบี้, วี, โมสต์, ฟุ้ย และโกะ
สีเขียวพรีม, พอดี, แมนต้า, เคนเน็ธ, มะกร และจัสติน
สีน้ำเงินรันย่า, เฟย์, ตั้น, ฟิจิ, ปาร์แมน และริสา

น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาการทำอาหาร 15 นาที ในการทำชีสเบอร์เกอร์ออกมาให้สมบูรณ์แบบและจำนวนมากที่สุด โดย 2 ทีมที่ทำชีสเบอร์เกอร์ออกมาสมบูรณ์แบบและได้จำนวนมากที่สุดจะได้แกล้งกรรมการด้วยการราดลาวาชีส แต่หากมีทีมที่ทำชีสเบอร์เกอร์ออกมาสมบูรณ์แบบได้ถึง 40 ชิ้นขึ้นไป กรรมการและพิธีกรจะโดนราดลาวาชีสทั้งหมด และทีมที่ชนะในครั้งนี้คือทีมสีเขียวและทีมสีแดง โดยทีมสีแดงทำชีสเบอร์เกอร์ได้ 39 ชิ้น ส่วนทีมสีเขียวทำชีสเบอร์เกอร์ได้ถึง 41 ชิ้น

  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีเขียวและทีมสีแดง
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: จากการที่ทีมสีเขียวทำชีสเบอร์เกอร์ได้ถึง 41 ชิ้น จึงได้สิทธิ์ในการแกล้งกรรมการและพิธีกรทุกคนโดยการราดลาวาชีสและไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้เช่นเดียวกับทีมสีแดง ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือต้องมาเผชิญกับบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ เมนูจากไข่ 3 แบบ คือ ไข่ดาวกรอบ ซึ่งเมื่อตัดออกมาแล้ว ไข่แดงไหลเยิ้มออกมา, ไข่ต้มยางมะตูม ซึ่งเมื่อตัดออกมาแล้ว ไข่แดงไหลเยิ้มออกมา และไข่คน ซึ่งต้องเป็นก้อนเกาะกันแต่ไม่แข็ง ซึ่งทั้ง 3 เมนูล้วนแล้วแต่ต้องใช้ความละเอียดและความแม่นยำในการทำอาหารแบบมืออาชีพ มีเวลาในการทำเมนูจากไข่ทั้ง 3 แบบจำนวน 25 นาที โดยหลังจากกรรมการได้ชิมเมนูไข่ของทุกคนแล้ว โกะ, โมสต์ และริสา คือสามคนที่ทำเมนูไข่ออกมาไม่ตรงกับโจทย์ที่กำหนด และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือโกะและริสา
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: โกะ, โมสต์ และริสา
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: โกะและริสา

ตอนที่ 5 : การทำเมนูจากไก่

ออกอากาศ 20 ตุลาคม 2562

  • การแข่งขันรอบกล่องปริศนา: ในรอบกล่องปริศนา ในกล่องนั้นมีเพียงเขียงสำหรับหั่นเนื้อ จากนั้นทางรายการได้ให้น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันไปเอาวัตถุดิบใน Supermarket ซึ่งใน Supermarket นั้นมีวัตถุดิบคือ ไก่ ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ โดยให้หยิบไปคนละ 1 ตัว แต่ต่อมาทางรายการได้เรียกคืนทั้งหมดเนื่องจากได้เตรียมเนื้อไก่ไว้ในครัวแล้ว น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแล่ไก่ให้ออกมาสมบูรณ์ครบทั้ง 4 ส่วน คือ ปีก อก สะโพก และน่อง โดยเชฟเอียนได้สอนการแล่ไก่ให้ผู้เข้าแข่งขันได้ดูด้วย จากนั้นผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการแล่ไก่ 10 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ตรวจไก่ของทุกคนแล้ว 3 คนที่แล่ไก่ออกมาได้สมบูรณ์แบบมากที่สุดคือ พอดี, เนลล์ และมะกร และมะกรก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา แต่มีอีก 12 คนที่แล่ไก่ผิดพลาด คือ โมสต์, จัสติน, วี, ฟิจิ, รันย่า, ชูบี้, เฟย์, ตั้น, เคนเน็ธ, แพท, ฟุ้ย และเฟิร์ส ซึ่งทั้ง 12 คนนี้จะต้องไปแข่งขันต่อในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์
  • ผู้ที่ได้เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด: พอดี, เนลล์ และมะกร
  • ผู้ชนะ: มะกร
  • ผู้ที่ตกเป็นจานที่แย่ที่สุด: โมสต์, จัสติน, วี, ฟิจิ, รันย่า, ชูบี้, เฟย์, ตั้น, เคนเน็ธ, แพท, ฟุ้ย และเฟิร์ส
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: ในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ วัตถุดิบหลักในครั้งนี้คือ ชิ้นส่วนของไก่ที่ผู้เข้าแข่งขันแล่ไว้ไม่สมบูรณ์ น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้ชิ้นส่วนของไก่ที่ตัวเองแล่ไว้มาทำอาหาร เพื่อฝึกการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาเลือกวัตถุดิบเสริมใน Supermarket 5 นาที และจากการที่มะกรเป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้เลือกให้ ฟิจิ, วี, ตั้น, รันย่า, จัสติน และโมสต์ ให้ทำอาหารในเวลา 60 นาที ส่วนชูบี้, เฟย์, เคนเน็ธ, แพท, ฟุ้ย และเฟิร์ส จะต้องทำอาหารในเวลาเพียง 50 นาที หลังจากกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารออกมาได้ดีและมีความคิดสร้างสรรค์ที่สุด 2 อันดับแรก คือ เฟย์ และตั้น ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 2 คนจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมในสัปดาห์ต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำอาหารออกมาผิดพลาดมากที่สุดคือ เฟิร์ส, แพท และโมสต์ และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือเฟิร์สและแพท
  • ผู้ชนะ: เฟย์
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: เฟิร์ส, แพท และโมสต์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เฟิร์สและแพท

ตอนที่ 6 : การทำภัตตาหารเพล

ออกอากาศ 27 ตุลาคม 2562

  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: สัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ เฟย์ และตั้นที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้ง 2 ทีม โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม ผลออกมาดังนี้
หัวหน้าทีมสมาชิก
เฟย์คีตา, อิ่ม, เฌอแตม, เคนเน็ธ, วี, จินจิน, เนลล์, ฟิจิ และชูบี้
ตั้นแมนต้า, ปาร์แมน, รันย่า, พอดี, มะกร, จัสติน, ฟุ้ย, พรีม และโมสต์

โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งแรกในซีซันนี้ ทางรายการได้นำน้องๆ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 คน มาแข่งขันในบททดสอบภารกิจแบบทีมที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร โจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้คือ การทำภัตตาหารเพล โดยทั้งสองทีมมีเวลา 90 นาที ในการทำอาหารในรูปแบบใดก็ได้ตามใจชอบเพื่อถวายพระสงฆ์ 50 รูปให้ทันภายในเวลา 11:00 น. เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยหันมาสนใจพระพุทธศาสนา และสืบทอดประเพณีการทำบุญอันดีงามของไทย และภารกิจครั้งนี้มีความพิเศษกว่าบททดสอบภารกิจแบบทีมครั้งที่ผ่านๆ มา นั่นคือ คณะกรรมการจะตัดสินทั้ง 2 ทีมด้วยตัวเอง โดยตัดสินจาก 1. รสชาติ 2. ความสะอาดและสุขอนามัย และ 3. การทำงานเป็นทีม โดยทั้งสองทีมมีเวลาในการทำอาหาร 90 นาที เนื่องจากการแข่งขันในครั้งนี้ทั้ง 2 ทีมได้พิสูจน์ฝีมือในการทำงานเป็นทีมอย่างเต็มที่ และมีความตั้งใจในการทำบุญอย่างแท้จริง คณะกรรมการจึงตัดสินให้ทั้ง 2 ทีมเป็นฝ่ายชนะ โดยที่หัวหน้าทีมของทั้ง 2 ทีม คือ เฟย์ และตั้น ได้สิทธิ์เลือกสมาชิกในทีม ทีมละ 4 คน รวมถึงตัวเอง ให้ผ่านเข้ารอบทันทีโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ ซึ่งเฟย์ได้เลือกให้ตัวเอง, เฌอแตม, เนลล์ และชูบี้ให้ผ่านเข้ารอบ ส่วนตั้นได้เลือกให้ตัวเอง, ปาร์แมน ซึ่งกำลังป่วยอยู่ในขณะนั้น, แมนต้าที่นิ้วโดนบาด และฟุ้ยให้ผ่านเข้ารอบ ส่วนคนที่เหลือจะต้องไปแข่งขันต่อในรอบบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ

  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีน้ำเงินและทีมสีแดง (เสมอ)
  • ผู้ที่ถูกเลือกให้ผ่านเข้ารอบ: เฌอแตม, เนลล์, ชูบี้, เฟย์, ปาร์แมน, แมนต้า, ฟุ้ย และตั้น
  • ผู้ที่ต้องไปแข่งขันต่อ: รันย่า, จินจิน, พรีม, พอดี, อิ่ม, คีตา, วี, เคนเน็ธ, โมสต์, จัสติน, ฟิจิ และมะกร
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือทั้ง 12 คนต้องมาเผชิญกับบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ หมูทงคัตสึพร้อมซอสและกะหล่ำปลีฝอย ซึ่งหมูทงคัตสึนั้น ผิวด้านนอกเป็นสีทอง กรอบ ส่วนด้านในนุ่ม สุกพอดี และหนาไม่ต่ำกว่า 1.5 เซนติเมตร ส่วนซอสจะต้องเคี่ยวได้ที่ตามต้นฉบับ และกะหล่ำปลีฝอย ต้องซอยออกมาเป็นเส้นบางและกรอบ น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 30 นาที หลังจากที่กรรมการได้ชิมหมูทงคัตสึของทุกคนแล้ว ผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำเมนูหมูทงคัตสึออกมาได้ใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุดคือ พรีม, คีตา และวี และยังมีผู้เข้าแข่งขันที่ทำเมนูหมูทงคัตสึออกมาได้ผิดพลาดเพียงเล็กน้อย คือ รันย่า, จินจิน, เคนเน็ธ, จัสติน, พอดี และอิ่ม ทำให้โมสต์, ฟิจิ และมะกร กลายเป็น 3 คนที่ทำอาหารออกมาได้ผิดพลาดมากที่สุด และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือฟิจิและมะกร
  • ผู้ชนะ: พรีม, คีตา และวี
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: โมสต์, ฟิจิ และมะกร
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ฟิจิและมะกร

ตอนที่ 7 : การทำเมนูของหวาน

ออกอากาศ 3 พฤศจิกายน 2562

  • การแข่งขันรอบกล่องปริศนา: ในรอบกล่องปริศนา โจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้คือ ของหวาน ซึ่งในกล่องนั้นมีวัตถุดิบทั้งหมดในการทำของหวาน ประกอบด้วย แป้งพัฟฟ์ แอปเปิล เบอร์รี่ กล้วยหอม ช็อกโกแลต อัลมอนด์ เสาวรส มันม่วง ผงกาแฟ กีวี และนม แต่มีวัตถุดิบที่ไม่เข้าพวก คือตูดไก่ โดยที่ผู้เข้าแข่งขันที่ใช้ตูดไก่ทำของหวานจะได้คะแนนพิเศษเพิ่มเติม น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำวัตถุดิบทั้งหมดมาทำเป็นของหวานสุดสร้างสรรค์ โดยมีเวลาในการทำของหวาน 90 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมเมนูของหวานของทุกคนแล้ว พรีม, คีตา และตั้น เป็นสามคนที่ทำเมนูของหวานออกมาได้ดี โดยพรีมสามารถผสมผสานของหวานและตูดไก่ให้เข้ากันได้อย่างลงตัว, คีตาสามารถใช้เทคนิคขั้นสูงในการทำแป้งชูออกมาเป็นขนมแนวฝรั่งเศสผสมญี่ปุ่น ส่วนตั้นสามารถยกระดับอาหารพื้นเมืองของภูเก็ตสู่สากลได้ และคีตาก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
  • ผู้ที่ได้เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด: พรีม, คีตา และตั้น
  • ผู้ชนะ: คีตา
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: ในรอบนี้มี แพทตี้, พอใจ, กอหญ้า และชาช่า จากมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 มาเป็นแขกรับเชิญเต้นเพลง Kill This Love ของแบล็กพิงก์ และแจกบททดสอบความคิดสร้างสรรค์แก่น้องๆ ผู้เข้าแข่งขัน โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ อาหารเกาหลีสุดสร้างสรรค์ และจากการที่คีตาเป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้ผ่านเข้ารอบทันทีโดยไม่ต้องทำการแข่งขันในรอบนี้ ส่วนน้องๆ ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือมีเวลา 60 นาทีในการทำอาหารเกาหลีสุดสร้างสรรค์ หลังจากกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารออกมาได้ดีและมีความคิดสร้างสรรค์ที่สุด 2 อันดับแรก คือ วี และแมนต้า ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 2 คนจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมในสัปดาห์ต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำอาหารออกมาผิดพลาดมากที่สุดคือ อิ่ม, ฟุ้ย และโมสต์ และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคืออิ่มและโมสต์
  • ผู้ชนะ: วี และแมนต้า
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: อิ่ม, ฟุ้ย และโมสต์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: อิ่มและโมสต์

ตอนที่ 8 : การทำอาหารสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุในรูปแบบ Fine Dining

ออกอากาศ 10 พฤศจิกายน 2562

  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: สัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ วี และแมนต้าที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้ง 2 ทีม โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม ผลออกมาดังนี้
หัวหน้าทีมสมาชิก
วีคีตา, ปาร์แมน, พอดี, เนลล์, พรีม, ฟุ้ย และจัสติน
แมนต้าเคนเน็ธ, เฌอแตม, เฟย์, รันย่า, จินจิน, ตั้น และชูบี้

โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งนี้ โจทย์ในการแข่งขันคือ การทำอาหารสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุในรูปแบบ Fine Dining ทั้งสองทีมต้องทำอาหารเพื่อสุขภาพในรูปแบบ Fine Dining เพื่อเสิร์ฟให้แขกรับเชิญซึ่งเป็นดาราอาวุโสจำนวน 30 ท่าน โดยใช้วัตถุดิบในกล่องใบใหญ่เท่านั้นในการทำอาหาร โดยมีเวลาในการทำอาหาร 90 นาที ซึ่งทีมสีแดงได้ทำเป็นเมนู "แซลมอนในสวนเบอร์รี" แซลมอนซูวีดน้ำมันกับตะไคร้ เสิร์ฟพร้อมกับเจลลีเบอร์รี วุ้นเส้นแช่น้ำสตรอว์เบอร์รีราดด้วยน้ำยำ ส่วนทีมสีน้ำเงินได้ทำเป็นเมนู "เฮลท์ตี้ฟินาเล่ (Healthy Finale)" ยำวุ้นเส้นอกไก่ย้อนเวลา ท็อปด้วยคีนัวซอสโยเกิร์ตมะม่วงผักชีลาวคาเวียร์น้ำผึ้ง ผลจากการตัดสิน ทีมสีน้ำเงินได้ 26 คะแนน ขณะที่สีแดงได้เพียง 4 คะแนน ทำให้ทีมสีน้ำเงินเป็นฝ่ายชนะอย่างขาดลอย

  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีนำเงิน
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: จากการแข่งขันในรอบบททดสอบภารกิจแบบทีมในครั้งนี้ ทีมสีน้ำเงินเป็นฝ่ายชนะ ส่งผลให้พวกเขาผ่านเข้ารอบทันที ส่วนทีมสีแดงต้องมาเผชิญกับบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ (จาก มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 ในตอนที่ 11) โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ สเต็กเนื้อสันในพร้อมเครื่องเคียง ซึ่งสเต็กเนื้อสันในจะต้องสุกในระดับ Medium Rare นั่นคือเนื้อด้านในมีสีชมพูเกือบทั้งหมด และผิวด้านนอกมีสีน้ำตาลเข้ม น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 25 นาที และหากเสร็จก่อนเวลาสามารถเสิร์ฟได้ทันที หลังจากกรรมการได้ตรวจเมนูของผู้เข้าแข่งขันแล้ว จินจิน และ เคนเน็ธ เป็น 2 คนที่ต้องออกจากการแข่งขัน เนื่องจากว่าทั้ง 2 คนทำสเต็กออกมาในระดับ Rare ซึ่งผิดโจทย์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: จินจินและเคนเน็ธ

ตอนที่ 9 : บททดสอบสุดท้าทาย

ออกอากาศ 17 พฤศจิกายน 2562

  • การแข่งขันรอบกล่องปริศนา: ในรอบกล่องปริศนา ในกล่องนั้นมีเพียงผ้าปิดตา 1 ชิ้น น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องปิดตา จากนั้นจะมีเมนูให้ 1 เมนู ผู้เข้าแข่งขันจะต้องชิมและพยายามแยกแยะวัตถุดิบทั้งหมดในอาหาร โดยมีเวลา 5 นาที และหากผู้เข้าแข่งขันแอบดูเมนู จะถูกคัดออกทันที ซึ่งก็พบว่าทุกคนไม่แอบดูเมนูเลย จากนั้นน้องๆ ผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารให้เหมือนเมนูต้นฉบับมากที่สุด โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมเมนูของทุกคนแล้ว คีตา, พอดี และชูบี้ เป็นสามคนที่ทำออกมาได้ใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด และคีตาก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
  • ผู้ที่ได้เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด: คีตา, พอดี และชูบี้
  • ผู้ชนะ: คีตา
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: จากการที่คีตาเป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้ผ่านเข้ารอบทันทีโดยไม่ต้องทำการแข่งขันในรอบนี้ ส่วนน้องๆ ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือต้องมาเผชิญกับบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ เครื่องว่างไทย 3 อย่าง คือ กระทงทอง ถุงทอง และข้าวตังหน้าตั้ง โดยเชฟป้อมได้สอนการทำเครื่องว่างไทย 3 อย่างให้ผู้เข้าแข่งขันได้ดูด้วย จากนั้นน้องๆ ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำเครื่องว่างไทย 60 นาที และทางรายการได้เตรียมวัตถุดิบทั้งหมดไว้ให้ใต้ครัวแล้ว หลังจากที่กรรมการได้ชิมเครื่องว่างไทยของผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้เข้าแข่งขันที่ทำเครื่องว่างไทยออกมาได้ใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุดคือ พอดี ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำอาหารออกมาผิดพลาดมากที่สุดคือ พรีม, ปาร์แมน และจัสติน และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือพรีมและจัสติน
  • ผู้ชนะ: พอดี
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: พรีม, ปาร์แมน และจัสติน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: พรีมและจัสติน

ตอนที่ 10 : การทำเมนูสุดสร้างสรรค์จากหมูสับ

ออกอากาศ 24 พฤศจิกายน 2562

  • บททดสอบทักษะในการทำอาหาร: ในรอบบททดสอบทักษะในการทำอาหาร ในครั้งนี้เป็นการแข่งขันแบบคู่ เนื่องจากพอดีเป็นผู้ชนะในสัปดาห์ที่แล้ว จึงได้สิทธิ์ในการจับคู่ให้น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนได้ โดยพอดีได้จับคู่ให้แมนต้าคู่กับเนลล์, คีตาคู่กับตั้น, ฟุ้ยคู่กับชูบี้, เฟย์คู่กับรันย่า และวีคู่กับปาร์แมน ทำให้พอดีคู่กับเฌอแตมโดยอัตโนมัติ โดยโจทย์ในการแข่งขันในครั้งนี้คือ ปลาหมึกแห้งบด น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคู่จะต้องช่วยกันบดปลาหมึกแห้งให้มีความหนา 1 มิลลิเมตร และนำมาวางต่อกันให้ยาวที่สุด เพื่อที่จะได้รับสิทธิพิเศษในรอบต่อไป โดยมีเวลาในการบดปลาหมึกแห้ง 20 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ตรวจปลาหมึกแห้งบดของแต่ละคู่แล้ว ผู้ชนะในรอบนี้คือคู่ของเนลล์และแมนต้า
  • ผู้ชนะ: เนลล์และแมนต้า
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: โจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ คือ การทำเมนูสุดสร้างสรรค์จากหมูสับ และเนื่องจากเนลล์และแมนต้าเป็นผู้ชนะในรอบบททดสอบทักษะในการทำอาหาร จึงได้ผ่านเข้ารอบทันทีโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ และยังสามารถเลือกเนื้อหมู 3 ส่วน คือหมูสันใน หมูสามชั้น และซี่โครงหมู ให้น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ นำไปทำหมูสับด้วย ซึ่งทั้งคู่ได้เลือกให้เฟย์, ชูบี้, รันย่า, ตั้น ทำหมูสับจากหมูสันใน, ปาร์แมน, เฌอแตม, วี ทำหมูสับจากหมูสามชั้น และฟุ้ย, พอดี และคีตา ทำหมูสับจากซี่โครงหมู น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 60 นาที ในการทำเมนูสุดสร้างสรรค์จากหมูสับ หลังจากกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารออกมาได้ดีและมีความคิดสร้างสรรค์ที่สุด 2 คน คือ คีตา และ พอดี ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำอาหารออกมาผิดพลาดมากที่สุดคือ ฟุ้ย, รันย่า และตั้น และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือฟุ้ยและรันย่า
  • ผู้ชนะ: คีตา และ พอดี
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: ฟุ้ย, รันย่า และตั้น
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ฟุ้ยและรันย่า

ตอนที่ 11 : การผสมผสานวัตถุดิบที่ไม่เข้ากันให้ออกมาเป็นเมนูสุดสร้างสรรค์

ออกอากาศ 1 ธันวาคม 2562

  • การแข่งขันรอบกล่องปริศนา: ในรอบกล่องปริศนาครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของซีซั่นที่ 2 โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ การผสมผสานวัตถุดิบที่ไม่เข้ากันให้ออกมาเป็นเมนูสุดสร้างสรรค์ โดยในกล่องนั้นมีวัตถุดิบของคาว ประกอบด้วย ปลาเค็ม ตับหมู หอยเชลล์โฮตาเตะ เบคอน และไข่เค็ม และวัตถุดิบของหวาน ประกอบด้วย ช็อกโกแลต เบอร์รี น้ำผึ้ง เมลอน และนมข้นหวาน น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องผสมวัตถุดิบทั้ง 2 ประเภท และรังสรรค์ออกมาให้เป็นเมนูที่เข้ากันอย่างดีที่สุด ซึ่งในรอบนี้จะมี 1 คนที่ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ และอีก 1 คนที่ต้องออกจากการแข่งขันทันที โดยมีเวลาในการรังสรรค์เมนู 60 นาที และมีวัตถุดิบเสริมอย่างจำกัดไว้ให้น้องๆ คนละเท่าๆ กันที่ใต้ครัว หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคนแล้ว คีตาและเนลล์ เป็นสองคนที่ทำเมนูออกมาได้ดี และเนลล์ก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนาคนสุดท้ายของซีซั่นนี้ แต่มีอีก 2 คนที่ทำออกมาผิดพลาด คือตั้นและเฌอแตม และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือเฌอแตม
  • ผู้ที่ได้เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด: คีตาและเนลล์
  • ผู้ชนะ: เนลล์
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: ตั้นและเฌอแตม
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เฌอแตม
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: จากการที่เนลล์เป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนาคนสุดท้ายของซีซั่นนี้ จึงได้ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศทันทีโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ ส่วนน้องๆ อีก 8 คนที่เหลือต้องมาเผชิญกับบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ ไส้กรอกพร้อมซอสและเครื่องเคียง โดยที่ผิวด้านนอกของไส้กรอกต้องไม่ปริ ไม่แตก เนื้อด้านในสุกพอดี ไม่ดิบ และมีน้ำหนักรวมไม่ต่ำกว่า 300 กรัม โดยน้องๆ ผู้เข้าแข่งขันสามารถสร้างสรรค์รสชาติของไส้กรอก ซอส และเครื่องเคียงได้ตามที่ต้องการ โดยมีเวลาในการทำไส้กรอกพร้อมซอสและเครื่องเคียงทั้งหมด 45 นาที หลังจากกรรมการได้ตรวจและชิมเมนูของผู้เข้าแข่งขันแล้ว ตั้นและปาร์แมน เป็น 2 คนที่ต้องออกจากการแข่งขัน เนื่องจากว่าทั้ง 2 คนทำไส้กรอกไม่สุก ทำให้กรรมการไม่สามารถรับประทานได้
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ตั้นและปาร์แมน

ตอนที่ 12 : การแข่งขันรอบรองชนะเลิศ

ออกอากาศ 8 ธันวาคม 2562

ในรอบรองชนะเลิศนี้ได้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 รอบ โดยจะมีคนที่ต้องออกจากการแข่งขันรอบละ 2 คน

  • รอบแรก: ในรอบนี้มีวัตถุดิบหลักคือ ปลาหมึกยักษ์ทาโกะ สุดยอดวัตถุดิบระดับโลกจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีราคาแพงที่สุดในโลก แต่มีเนื้อค่อนข้างเหนียว และใช้ทำอาหารได้ไม่หลากหลาย น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำเมนูสุดสร้างสรรค์จากปลาหมึกยักษ์ทาโกะให้ได้ภายในเวลา 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคนแล้ว เฟย์, พอดี, เนลล์ และชูบี้ เป็นผู้เข้าแข่งขัน 4 คนที่ทำอาหารออกมาผิดพลาดมากที่สุด และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือเนลล์และชูบี้
  • ผู้ที่ตกเป็นสี่อันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: เฟย์, พอดี, เนลล์ และชูบี้
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เนลล์และชูบี้
  • รอบที่สอง: ในรอบนี้ น้องๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องยกระดับเมนูแกงส้มให้ออกมาเป็นเมนูสุดสร้างสรรค์มากที่สุด โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคนแล้ว ผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศคือ แมนต้า, วี และคีตา ตามลำดับ และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือเฟย์และพอดี
  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ: แมนต้า, วี และคีตา
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เฟย์และพอดี

ตอนที่ 13-14 : การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

ออกอากาศ 15-22 ธันวาคม 2562

  • รอบไฟนอล : ผู้เข้าแข่งขันจะต้องรังสรรค์คอร์สอาหารทั้งสาม ได้แก่ อาหารเรียกน้ำย่อย(Appetizers), อาหารจานหลัก(Main Course) และของหวาน(Dessert) โดยผู้ชนะจะได้เป็นมาสเตอร์เชฟจูเนียร์คนที่สองของประเทศไทย
  • ผู้ชนะมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ซีซั่น 2 : แมนต้า

ใกล้เคียง

มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 5 มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 3 มาสเตอร์เชฟ ออล สตาร์ส ไทยแลนด์ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2 มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 6 มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 4 มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ (ฤดูกาลที่ 1) มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ (ฤดูกาลที่ 2)