การออกแบบ ของ มิโคยัน_มิก-29

จุดเด่น

เพราะว่ามันถูกออกแบบมาจากเครื่องบินพีเอฟไอของทีเอสเอจีไอ มิก-29 จึงมีระบบอากาศพลศาสตร์ที่คล้ายคลึงกับซุคฮอย ซู-27 แต่มีข้อแตกต่างที่โดดเด่นกว่าบ้าง โครงสร้างส่วนใหญ่ทำมาจากอะลูมิเนียมและวัสดุผสม มันมีปีกแบบลู่ที่กลืนเข้ากับปีกเสริมที่ส่วนหน้าโดยทำมุม 40 องศา มันมีส่วนหางที่ลู่ไปทางด้านหลังและหางคู่ติดตั้งอยู่ที่ส่วนท้ายเครื่องยนต์ มันมีแพนปีกส่วนหน้าสี่ส่วนและห้าส่วนในรุ่นต่อๆ มา เมื่อมันถูกนำมาใช้งานมันเป็นเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นแบบแรกของรัสเซียที่สามารถทำกระบวนท่าที่เรียกว่าปูกาเชฟส์คอบราได้

มิก-29 มีการควบคุมด้วยไฮดรอลิกและระบบนักบินอัตโนมัติเอสเอยู-451 แต่ไม่เหมือนกันซู-27 ตรงที่มันไม่มีระบบฟลาย-บาย-ไวร์ ถึงกระนั้นมันก็มีความว่องไวและการเลี้ยวที่ยอดเยี่ยม มันสามารถทำมุมปะทะได้ในระดับอัลฟา และมีการต้านทานการหมุน โครงสร้างถูกทำให้สามารถรับแรง 9 จีได้ การควบคุมมีการจำกัดเพื่อป้องกันไม่ให้นักบินทำแรงมากกว่า 9 จี แต่ก็สามารถปลดระบบนี้ออกได้ ในการฝึกของกองทัพอากาศสหรัฐร่วมกับกองทัพอากาศเยอรมนี มิก-29 ของฝ่ายเยอรมนีได้เอาชนะเอฟ-16 ในการต่อสู้ระยะใกล้แทบจะทุกครั้งด้วยการใช้เซ็นเซอร์ไออาร์เอสทีและหมวกแสดงภาพ พร้อมกับขีปนาวุธวิมเปล อาร์-73

ขุมกำลัง

มิก-29 มีเครื่องยนต์คลิมอฟ อาร์ดี-33 ขนาดใหญ่สองเครื่องยนต์ที่ให้อัตราแรงขับ 11,240 ปอนด์และ 18,277 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย พื้นที่ระหว่างเครื่องยนต์มีไว้เพื่อลดน้ำหนักที่ปีกเพื่อเพิ่มความคล่องตัว เครื่องยนต์มีช่องรับลมทรงลิ่มที่อยู่ใต้ปีกเสริม ซึ่งมีส่วนลาดเอียงที่ปรับได้เพื่อทำความเร็วเหนือเสียงได้ เมื่อมีการนำมาใช้กับสนามบินที่ขรุขระ ช่องรับลมหลักจะถูกปิดสนิทและใช้ช่องรับลมสำรองที่ด้านบนของลำตัวแทนสำหรับการวิ่งขึ้น ลงจอด หรือบินในระดับต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้มีเศษอะไรเข้าไปในเครื่องยนต์จนเกิดความเสียหาย ดังนั้นเครื่องยนต์จึงได้รับอากาศผ่านช่องบานเกล็ดบนปีกเสริมซึ่งจะเปิดโดยอัตโนมัติเมื่อช่องรับลมหลักถูกปิด อย่างไรก็ตามในแบบล่าสุดของตระกูลมิก คือมิก-35 ได้นำส่วนบานเกล็ดนี้ออกไปและใช้ช่องรับลมที่มีตะแกรงแทน ซึ่งคล้ายคลึงกับของซู-27[2]
ถึงแม้เครื่องยนต์จะให้กำลังสูงมากพอที่จะทำให้เครื่องบินสามารถไต่ระดับได้เหนือกว่าเครื่องบินของกองทัพอมเริกา แต่อายุการใช้งานก็สั้นมาก ต้องทำการตรวจเช็คทุกๆ350ชั่วโมงบินเป็นอย่างน้อย

พิสัยและระบบเชื้อเพลิง

ความจุเชื้อเพลิงภายในของมิก-29บีนั้นมีเพียง 4,365 ลิตรโดยแบ่งเป็นหกส่วนในถังเชื้อเพลิง สี่ส่วนในลำตัว และหนึ่งส่วนในปีกแต่ละข้าง ผลที่ได้คือเครื่องบินมีพิสัยที่จำกัดมากเมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่ป้องกันเฉาะบริเวณของโซเวียตแบบดั้งเดิม เพื่อให้ทำการบินได้นานมากขึ้นสิ่งนี้สามารถเพิ่มได้โดยใช้ถังเชื้อเพลิงกลางที่ปลดได้ขนาด 1,500 ลิตร และถังเชื้อเพลิงข้างที่ปลดได้ขนาด 1,150 ลิตรสองถังโดยติดตั้งไว้ใต้ปีก นอกจากนี้มีส่วนน้อยที่ใช้ระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ มิก-29บีบางลำมีโครงสร้างที่ถูกพัฒนามาเพื่อเป็นแบบที่เรียกว่า"แฟ็ทแบ็ค" (Fatback) (มิก-29 9-13) ซึ่งเพิ่มเชื้อเพลิงภายในไปในส่วนแกนกลาง แม้ว่าจะไม่มีลำใดก็ตามที่เข้าประจำการ

ห้องนักบิน

ห้องนักบินของมิก-29 ถ่ายเมื่อปีพ.ศ. 2538

ห้องนักบินมีจุดเด่นคือคันบังคับตรงกลางและคันเร่งที่ด้านข้าง นักบินจะนั่งอยู่ในเก้าอี้ดีดตัวแบบซเวซดา เค-36ดีเอ็ม ซึ่งมีการทำงานที่ดีมากในเหตุฉุกเฉิน

ห้องนักบินมีหน้าปัดอำนวยความสะดวกพร้อมกับหน้าจอฮัดหรือเฮด-อัพ ดิสเพลย์และหน้าจอติดหมวกแบบชเชล-2ยูเอ็ม ดูเหมือนว่าจะเป็นการเน้นไปที่การทำห้องนักบินให้เหมือนกับมิก-23 และเครื่องบินลำอื่นๆ ของโซเวียตเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงมากกว่าความสะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ถึงกระนั้นมิก-29 มีมุมมองที่ดีกว่าเครื่องบินขับไล่ลำอื่นๆ ของรัสเซียเพราะฝาครอบทรงโค้งที่อยู่ในตำแหน่งสูง

เซ็นเซอร์

ส่วนสำคัญของมิก-29บีคือระบบควบคุมการยิงด้วยเรดาร์แบบอาร์แอลพีเค-29 ของพาโซตรอน ซึ่งรวมทั้งเรดาร์คลื่นพัลส์แบบติดตามแล้วยิงรุ่นเอ็นโอ19 และคอมพิวเตอร์ดิจิตอลรุ่นทีเอส100.02-02 เอ็นไอ19เอรุ่นเดิมถูกคาดว่าจะใช้กับมิก-29 แต่กลับไม่ตรงกับทีวีวีเอสต้องการ พิสัยติดตามต่อเป้าหมายขนาดเครื่องบินขับไล่มีเพียง 70 กิโลเมตรเท่านั้น พิสัยต่อเป้าหมายขนาดเครื่องบินทิ้งระเบิดน้อยมากกว่านั้นเกือยเท่าตัว เป้าหมายสิบเป้าหมายสามารถปรากฏขึ้นในรูปแบบตรวจจับ แต่เรดาร์จะล็อกเพียงหนึ่งเป้าหมายสำหรับขีปนาวุธกึ่งเรดาร์ ตัวประมวลผลสัญญาณยังมีปัญหากับความวุ่นวายบนพื้นดิน ปัญหาเหล่านี้ทำให้มิก-29 ไม่ดีพอที่จะใช้จีปนาวุธพิสัยไกลอันใหม่วิมเปล อาร์-27อาร์ในพิสัยสูงสุดของมันได้

ข้อด้อยเหล่านี้มีมากขึ้นเมื่อความจริงของเรดาร์เอ็นโอ19 ที่ว่ามันไม่ใช่การออกแบบใหม่ ระบบนั้นพัฒนามาจากแซปเย2-23เอ็มแอลของเดิมที่มีอยู่แล้ ในการออกแบบมิก-29 เริ่มแรกทางพาโซตรอนได้รับมอบหมายให้สร้างเรดาร์ที่ทันสมัยขึ้นให้กับมิก-29 เพื่อเร่งการพัฒนาพาโซตรอนจึงใช้แบบจากโครงการอื่นที่บริษัทอื่น ตามที่กล่าวเอ็นโอ19 เดิมทีนั้นตั้งใจที่จะเป็นเสาอากาศเรียบและมีการใช้สัญญาณดิจิตอลเต็มรูปแบบ ทำให้มีพิสัยตรวจจับและติดตาม 100 กิโลเมตรต่อเครื่องบินขับไล้ ไม่นานการทดสอบและต้นแบบก็เผยให้เห็นว่าสิ่งนี้ไม่สามารถทำสำเร็จได้ในเวลาที่จำกัด อย่างน้อยก็ไม่ใช่เรดาร์ซึ่งอยู่ที่ส่วนจมูกของมิก-29 มากกว่าที่จะเป็นแบบใหม่ทั้งหมดพาโซตรอนได้ดัดแปลงรุ่นก่อนหน้าของแซปเฟีย-23เอ็มแอลเพื่อลดเวลาและราคา ระบบนี้ใช้หน่วยประมวลผลอนาล็อกแบบเดียวกันกับรุ่นก่อนหน้า พร้อมกับคอมพิวเตอร์ดิจิตอลทีเอส100 Tมรขณะที่การตัดสินใจครั้งนี้จะสร้างเรดาร์ให้กับเครื่องบินใหม่ได้ทัน มันก็มีจุดอ่อนของรุ่นก่อนหน้าทั้งหมด

มิก-29บีนั้นมีเรดาร์ควบคุมการยิงรุ่นอาร์แอลพีเค-29 ของพาโซตรอนซึ่งรวมทั้งเรดาร์พัลส์รุ่นเอ็นโอ19 และคอมพิวเตอร์รุ่นทีเอส100.02-02 เอ็นโอ19เอแบบเก่านั้นไม่ได้ตรงตามมาตรฐานในโครงการสร้างเครื่องบินขับไล่ใหม่ พิสัยติดตามของมันต่อเป้าหมายขนาดเครื่องบินขับไล่นั้นมีเพียง 70 กิโลเมตร พิสัยติดตามต่อเป้าหมายขนาดเครื่องบินทิ้งระเบิดมีเกือบเท่าตัว ในรูปแบบตรวจจับมันจะสามารถหาหาได้สิบเป้าหมายแต่ก็มีเพียงเป้าหมายเดียวเท่านั้นที่เรดาร์จะทำการล็อกเป้าเพื่อยิงขีปนาวุธ หน่วยประมวลผลสัญญาณยังมีปัญหาต่อความวุ่นวายบนพื้นดิน ปัญหาเหล่านี้ทำให้มิก-29 ไม่เหมาะกับการใช้ขีปนาวุธใหม่อย่างวิมเปล อาร์-27 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

การทำงานที่บกพร่องเหล่านี้เกิดจากความจริงที่ว่าเรดาร์เอ็นโอ19 นั้นที่จริงแล้วไม่ใช่การออกแบบใหม่ มันคือระบบที่พัฒนามาจากระบบเก่าที่มีอยู่แล้ว ในตอนแรกผู้สร้างเรดาร์ได้รับมอบหมายให้สร้างเรดาร์ที่ทันสมัยขึ้นสำหรับมิก-29 แต่เพื่อความรวดเร็วทางพาซาตรอนจึงได้ใช้แบบเก่ามาทำใหม่ เราดร์เอ็นโอ19 นั้นเดิมทีจะมีเสาอากาศแบบแบนและการประมวลผลสัญญาณแบบดิจิตอล ทำให้การตรวจจับและพิสัยการตรวจจับอย่างน้อย 100 กิโลเมตรลำหรับเป้าหมายขนาดเครื่องบินขับไล่ การพัฒนาเทคโนโลยีการบินของโซเวียตตอนนั้นเป็นเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน การทดสอบและต้นแบบก็ทำให้รู้ว่ามันจะต้องเสร็จภายนเวลาที่จำกัด แทนที่การออกแบบเรดาร์จะเป็นแบบใหม่ทั้งหมด ทางพาโซตรอนได้ดัดแปลงระบบเก่ามาใช้แทนเพื่อประหยัดเวลาและเงิน ระบบนี้ใช้หน่วยประมวลผลแบบอานาล็อกเช่นเดียวกับเก่า พร้อมด้วยคอมพิวเตอร์ทีเอส100 ในขณะที่การตัดสินใจนี้เป็นการสร้างเรดาร์ให้กับเครื่องบินแบบใหม่ มันก็ได้นำไปสู่จุดอ่อนต่างๆ ของแบบเก่า แม้ว่าจะมีการออกแบบเรดาร์เอ็นโอ10 ขึ้นมา แต่มิก-29 ส่วนใหญ่ที่ยังประจำการอยู่นั้นก็ยังใช้เรดาร์เอ็นโอ19 ต่อไป แม้ว่าตามโครงการต้องการที่จะให้พัฒนาเครื่องบินมิก-29 ให้เข้าขั้นสมบูรณ์ก็ตาม

เรดาร์เอ็นโอ19 ได้รับการดูแลโดยนักออกแบบที่ได้ทรยศไปอยู่กับฝ่ายซีไอเอ เพราะเขาถูกประหารในปีพ.ศ. 2529 เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งหมดทางโซเวียตรีบทำการพัฒนาเรดาร์เอ็นโอ19เอ็มขึ้นมาให้กับมิก-29เอส อย่างไรก็ตามโครงการก็ยังไม่พอใจในการทำงานของระบบและต้องการให้ทำการพัฒนาเพิ่ม การพัฒนาล่าสุดคือเอ็มโอ10 ซึ่งมีเสาอากาศราบมากกว่าเป็นแบบจานกลม มีพิสัยที่มากขึ้น ความสามารถในการปะทะเป้าหมายจำนวนมากในเวลาเดียวกัน และสามารถใช้วิมเปล อาร์-7 ได้ จุดเด่นที่มีประโยชน์ของมิก-29 ที่เหมือนกับซู-27 คือเลเซอร์หาระยะและระบบไออาร์เอสทีที่อยู่ในส่วนคล้ายลูกตาที่ด้านหน้าห้องนักบิน มันต้องพึ่งเรดาร์ในบางครั้งหรืออาจไม่ต้องใช้เรดาร์เลย

อาวุธ

อาวุธของมิก-29 มีทั้งปืนใหญ่อากาศจีเอสเอช-30-1 ขนาด 30 ม.ม.หนึ่งกระบอกที่โคนปีก เดิมทีนั้นมันใช้แมกกาซีน 150 นัดซึ่งต่อมาได้ลดเหลือ 100 นัด มิก-29บีแบบเดิมนั้นไม่สามารถทำการยิงปืนได้เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงตรงกลางเพราะว่ามันจะไปบังช่องดีดกระสุน ต่อมาได้มีการแก้ไขในมิก-29เอสและรุ่นต่อๆ มา มีจุดติดตั้งสามจุดใต้ปีกแต่ละข้าง (บางแบบก็สี่) จุดติดตั้งภายในสามารถติดตั้งถังเชื้อเพลิงขนาด 1,150 ลิตร ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางวิมเปล อาร์-27 หนึ่งลูก หรือระเบิดหรือจรวด เครื่องบินบางลำของโซเวียตสามารถบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ไว้ภายในได้ จุดติดตั้งภายนอกมักติดตั้งขีปนาวุธวิมเปล อาร์-73 แม้ว่าบางครั้งจะมีการใช้มอลนิยา อาร์-60 ที่เก่ากว่า ถังเชื้อเพลิงขนาด 1,500 ลิตรหนึ่งถังสามารถติดเข้าไปที่ส่วนกลางระหว่างเครื่องยนต์สำหรับการบินขนส่ง (การบินส่งมอบเครื่องบิน) แต่จะไม่ใช้ในการต่อสู้ มิก-29บีสามารถบรรทุกระเบิดทั่วไปและจรวด แต่จะไม่มีอาวุธนำวิถี รุ่นที่ได้รับการพัฒนาจะสามารถใช้ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ได้เช่นเดียวกับขีปนาวุธอากาศสู่พื้น

ใกล้เคียง

มิโคยัน มิก-29 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-21 มิโคยัน มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-15 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25 มิโคยัน มิก-27 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-23 มิโคยัน มิก-31 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-3 มิโยชิ (จังหวัดไซตามะ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: มิโคยัน_มิก-29 http://www.airforce-technology.com/projects/mig29/ http://www.aviapedia.com/fighters/mig-29vft-video-... http://www.bdmilitary.com/index.php?option=com_con... http://www.codeonemagazine.com/archives/1995/artic... http://www.flightglobal.com/articles/2009/03/19/32... http://www.flymigsokol.com/ http://books.google.com/books?id=MaFtAAAAMAAJ&q=in... http://translate.google.com/translate?u=http://www... http://www.iht.com/articles/2008/05/26/europe/geor... http://www.india-defence.com/reports-1328