แบบต่างๆ ของ มิโคยัน_มิก-29

ปัจจุบันมีโครงการพัฒนามากมายสำหรับมิก-29 ที่จัดขึ้นโดยกองทัพอากาศรัสเซีย ซึ่งจะพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกอากาศให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเทากับมาตรฐานของนาโต้ การยืดอายุการใช้งานเป็น 40 ปี ทำการพัฒนาความสามารถในการต่อสู้และความไว้ใจได้ และเพิ่มความปลอดภัย ในปีพ.ศ. 2548 บริษัทอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินมิกเริ่มทำการผลิตเครื่องบินตระกูลใหม่ขึ้นมา

มิก-29 (โปรดักท์ 9.12)เป็นรุ่นแรกในการผลิต เข้าประจำการเมื่อปีพ.ศ. 2526 นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-เอมิก-29บี-12 (โปรดักท์ 9.12A)เป็นรุ่นสำหรับส่งออกให้กับประเทศที่ไม่ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอ รุ่นนี้ไม่มีระบบบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์และมีเรดาร์ที่ด้อยกว่า นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-เอมิก-29ยูบี-12 (โปรดักท์ 9.51)เป็นรุ่นสองที่นั่งสำหรับการฝึก มันติดตั้งเพียงเซ็นเซอร์อินฟราเรด ไม่มีเรดาร์ นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-เอมิก-29เอสมิก-29เอสมีรูปร่างภายนอกที่เหมือนกับมิก-29บีที่เก่ากว่า ความแตกต่างเริ่มที่การพัฒนาของระบบควบตุมการบิน คอมพิวเตอร์ใหม่สี่เครื่องให้เสถียรภาพที่มากกว่าและควบคุมได้แม้จะทำมุมปะทะที่สูงก็ตาม ระบบไฮดรอลิกที่พัฒนาของระบบควบคุมการบินทำให้มีการสะท้อนการควบคุมบนพื้นผิวได้ดีขึ้น มิก-29เอสนั้นมีส่วนหลังที่นูนขึ้นมา ซึ่งเดิมทีนั้นเชื่อกันว่าเป็นที่เก็บเชื้อเพลิง แอันที่จริงแล้วมีไว้สำหรับระบบตอบโต้อิเลคทรอนิก เชื้อเพลิงภายในเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 75 ลิตร มันยังสามารถติดตั้งถังขนาด 1,150 ลิตรใต้ปีกแต่ละข้างได้หรือไม่ก็ใช้ถังที่ติดอยู่ตรงท้อง จุดติดตั้งใหม่ได้เพิ่มความจุในการบรรทุกได้ 4,000 กิโลกรัม น้ำหนักทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 กิโลกรัมในมิก-29เอส ปืนกลอากาศจีเอสเอช-30-1 มีช่องดีดปลอกกระสุนที่ใหญ่ขึ้นเพื่อทำให้มันสามารถยิงปืนได้ในขณะที่ติดตั้งถังเชื้อเพลิงกลาง มิก-29เอสสามารถใช้ขีปนาวุธใหม่อย่างอาร์-27อีที่มีพิสัยมากกว่าแบบเดิม 1.5 เท่าในตอนแรกระบบอิเลคทรอนิกอากาศของมิก-29เอสมีเพียงระบบมองไออาร์เอสทีเท่านั้น อย่างไรก็ดีมิก-29เอสได้ทำการพัฒนาสุดท้ายโดยการเพิ่มเรดาร์เอ็นโอ19เอ็มเข้าไป ระบบอาวุธใหม่ถูกเพิ่มเข้าไปในซอฟต์แวร์ของมิก-29เอส มันสามารถจับเป้าหมายได้ถึง 10 เป้าหมายและในเวลาเดียวกันก็ใช้ขีปนาวุธอาร์-77 ได้พร้อมกันสองลูกมิก-29เอสยังมีข้อจำกัดในการโจมตีภาคพื้นดินด้วยอาวุธธรรมดา แต่เพื่อที่เปลี่ยนให้มันกลายเป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาททางมิโคยันจึงได้ออกแบบมิก-29เอสเอ็มขึ้นมาพร้อมกับพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกอากาศให้ใช้อาวุธนำวิถีได้ การพัฒนามากมายของมิก-29เอสเมื่อรวมกับการพัฒนาของมิก-29เคทำให้เกิดการพัฒนาต่อของมิก-29เอ็ม ซูเปอร์ฟัลครัมการบินของมิก-29เอสนั้นด้อยกว่ามิก-29 เล็กน้อยเนื่องมาจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของเชื้อเพลิงและระบบอิเลคทรอนิกอากาศ มีมิก-29เอสเพียง 48 ลำเท่านั้นที่ถูกผลิตออกมาให้กับรัสเซียก่อนที่จะเกิดการตัดทุน นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-ซีมิก-29เอส-13 (โปรดักท์ 9.13)เป็นแบบที่คล้ายกับ 9.12 แต่มีลำตัวที่ใหญ่กว่าเพื่อบรรทุกเชื้อเพลิงและตัวรบกวน นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-ซีมิก-29เอส-13 (โปรดักท์ 9.13S)รุ่นที่ใช้โครงสร้างเดิมของ 9.13 แต่เพิ่มความจุอาวุธเป็น 4,000 กิโลกรัม และติดตั้งถังเชื้อเพลิงที่ใต้ปีก มีเรดาร์เอ็นโอ19เอ็มอีที่จับเป้าหมายได้ถึง 10 เป้าหมายและโจมตีได้สองเป้าหมายพร้อมกัน มันใช้ขีปนาวุธวิมเปล อาร์-77 นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-ซีมิก-29เอสเอ็ม (โปรดักท์ 9.13M)เป็นรุ่นที่คล้ายกับ 9.13 แต่สามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นและระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ได้ นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-ซีมิก-29เคยูบีมิก-29เค (โปรดักท์ 9.31)เป็นแบบสำหรับกองทัพเรือ มันมีปีกที่หนา ตะขอเกี่ยว และล้อลงจอดที่แข็งแรงขึ้น เดิมทีมันถูกวางแผนไว้ให้ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นแอมิรัลคุซเนทซอฟ มันเคยได้รับอนุญาตให้ทำการผลิตโดยกระทรวงกลาโหมของรัสเซียแต่ก็ถูกยกเลิกในปีพ.ศ. 2535 เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของกองทัพและปัญหาทางการเงิน[52] บริษัทมิกเริ่มโครงการใหม่อีกครั้งใรปีพ.ศ. 2542 และได้นำการพัฒนาไปใช้กับแบบถัดไป ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2547 กองทัพเรืออินเดียได้ทำสัญญาในการซื้อมิก-29เค 12 ลำและมิก-29เคยูบี 4 ลำโดยจะส่งมอบในปีพ.ศ. 2550-2552[52][53] การดัดแปลงสำหรับกองทัพเรืออินเดียจึงเกิดขึ้น มันมีอาวุธแบบเดียวกับที่ใช้ในมิก-29เอ็มและมิก-29เอสเอ็มที[54] นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-ดีมิก-29เคยูบี (โปรดักท์ 9.47)มันคล้ายคลึงกับมิก-29เคแต่ว่ามีที่นั้งเรียงกัน มันถูกใช้เพื่อฝึกนักบินมิก-29เคและสามารถทำการรบเต็มรูปแบบได้ มิก-29เคยูบีสร้างขึ้นครั้งแรกให้กับกองทัพเรืออินเดีย มันทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550[55] นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-ดีมิก-29เอ็มมิก-29เอ็ม / มิก-33 (โปรดักท์ 9.15)
ดูบทความหลักที่: มิก-29เอ็ม
เป็นแบบหลากบทบาทที่ก้าวหน้าด้วยโครงสร้างที่ได้รับการออกแบบใหม่และแทนที่ระบบควบคุมกลไลด้วยระบบฟลาย-บาย-ไวร์ และมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์อาร์ดี-33 เซอร์.3เอ็ม นาโ๖้เรียกมันว่าฟัลครัม-ดีมิก-29ยูบีเอ็ม (โปรดักท์ 9.61)เป็นรุ่นสองที่นั่งของมิก-29เอ็ม มันไม่เคยถูกสร้างออกมา มันยังใช้ชื่อว่ามิก-29เอ็ม2 อีกด้วยมิห-29เอสเอ็มที (โปรดักท์ 9.17)ในปีพ.ศ. 2531 กระทรวงกลาโหมตัดสินใจที่จะเริ่มโครงการพัฒนาคุณภาพของมิก-29 มีทั้งหมด 150-180 ลำที่ถูกเปลี่ยนเป็นมิก-29เอสเอ็มทีซึ่งเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย การพัฒนาเพิ่มถูกวางแผนให้กับเครื่องบินที่สร้างขึ้นในทศวรรษถัดมา โครงการเริ่มเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2531 มิก-29เอสเอ็มที 10-15 ลำถูกส่งมอบให้ก่อนสิ้นปี ในปีพ.ศ. 2542 มีมิก-29 ทั้งหมด 20-30 ลำที่ถูกเปลี่ยนเป็นมิก-29เอสเอ็มที ในมีพ.ศ. 2543 คาดว่าจะมีมิก-29เอสเอ็มที 40 ลำ โครงการทั้งหมดจะดัดแปลงมิก-29 150-180 ลำให้เป็นมิก-29เอสเอ็มที และอีก 120 ลำเป็นมิก-29ยูบีที (สองที่นั่ง)การพัฒนาเป็นชุดของมิก-29 รุ่นแรกๆ จะทำให้พวกมันกลายเป็นมิก-29เอ็ม นอกจากถังเชื้อเพลิงพิเศษที่เพิ่มพิสัยเป็น 2,100 กิโลเมตร ห้องนักบินที่มีการปรับปรุง จอเอ็มเอฟดีขนาด 6x8 นิ้วสองจอ และแอลซีดีขนาดเล็กอีกสองจอ มีการพัฒนาเรดาร์ให้คล้ายคลึงกับมิก-29เอ็ม ขุมกำลังเปลี่ยนเป็นอาร์ดี-33 เซอร์.3 โดยให้แรงขับพร้อมสันดาป 81.4 น็อท ความจุอาวุธเพิ่มเป็น 4,500 กิโลกรัมโดยใช้อาวุธที่เหมือนกับมิก-29เอ็มมิก-29ยูบีที (โปรดักท์ 9.51T)เป็นการพัฒนาขั้นพื้นฐานของเอสเอ็มทีให้กับมิก-29ยูบี ตัวอย่างเช่น อัลจีเรียและเยเมนที่ใช้มัน[56][57]มิก-29เอ็ม2 / มิก-29เอ็มอาร์ซีเอเป็นรุ่นสองที่นั่งของมิก-29เอ็ม[58] มันเหมือนกับมิก-29เอ็มโดยพิสัยลดลงไปเล็กน้อยเหลือ 1,800 กิโลเมตร[58] บริษัทมิกได้นำเสนอมันในการแสดงทางอากาศมากมาย ครั้งหนึ่งมันได้ใช้ชื่อมิก-219เอ็มอาร์ซีเอสำหรับการตลาดและตอนนี้มันเกี่ยวข้องกับมิก-35มิก-29โอวีทีเป็นหนึ่งในหกลำที่สร้างออกมาก่อนมิก-29เอ็มก่อนปีพ.ศ. 2534 ต่อมาได้รับเครื่องยนต์ใหม่และระบบฟลาย-บาย-ไวร์ มันเป็นตัวทดสอบเครื่องยนต์มใหม่และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำไปพัฒนามิก-29เอ็ม มันมีระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่เหมือนกับมิก-29เอ็ม ความแตกต่างเดียวคือห้องนักบิน เครื่องยน์อาร์ดี-133 ของมันมีปลายท่อไอเสียแบบหมุนซึ่งให้แรงขับสะท้อนไปทุกทิศทาง อย่างไรก็ดีความพิเศษอื่นของมันนั้นก็ไม่ได้โดดเด่นนัก มันถูกนำไปแสดงในงานต่างๆ พร้อมกับมิก-29เอ็ม2 ทั่วโลกเพื่อเพิ่มการขาย มันยังถูกใช้ในการบินผาดโผนอีกด้วย[59]มิก-35
ดูบทความหลักที่: มิก-35
เป็นการพัฒนาที่เปิดเผยของมิก-29เอ็ม/เอ็ม2 และมิก-29เค/เคยูบี นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-เอฟมิก-29จีทีของเยอรมันมิก-29จี/มิก-29จีทีเป็นการพัฒนาสำหรับมิก-29 และมิก-29ยูบีในกองทัพอากาศเยอรมนีที่ได้สืบทอดมาจากเยอรมนีตะวันออก งานนั้นเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2536[60]มิก-29เอเอส/มิก-29ยูบีเอส (มิก-29เอสดี)กองทัพอากาศสโลวะเกียได้ทำการพัฒนามิก-29 และมิก-29ยูบีของตนเพื่อให้ได้มาตรฐาน การพัฒนาเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2548 ปัจจุบันมันมีระบบนำร่องและรบบสื่อสารจากบริษัทร็อคเวล คอลลินส์ ระบบระบุฝ่าย ห้องนักบินแบบใหม่ที่มีจอแอลซีดีและหน่วยประมวลผลดิจิตอล และยังใช้เทคโฯโ,ยีต่างๆ ของตะวันตกในอนาคต อย่างไรก็ตามอาวุธของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มิก-29 12 ลำจาก 21 ลำถูกพัฒนาและส่งมอบเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[61]มิก-29 "สไนเปอร์"เป็นการพัฒนาของกองทัพอากาศโรมาเนียโดยอิสราเอล การบินครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โครงการถูกระงับพร้อมกับการปลดประจำการมิก-29 ของโรมาเนียในปีพ.ศ. 2546 ซึ่งเกิดจากค่าบำรุงรักษาที่สูงเกินไปซึ่งทำให้รัฐบาลโรมาเนียทำการตัดสินใจหยุดโครงการมิก-29 และการลงทุนในโครงการมิก-21 แลนเซอร์

ใกล้เคียง

มิโคยัน มิก-29 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-21 มิโคยัน มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-15 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25 มิโคยัน มิก-27 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-23 มิโคยัน มิก-31 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-3 มิโยชิ (จังหวัดไซตามะ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: มิโคยัน_มิก-29 http://www.airforce-technology.com/projects/mig29/ http://www.aviapedia.com/fighters/mig-29vft-video-... http://www.bdmilitary.com/index.php?option=com_con... http://www.codeonemagazine.com/archives/1995/artic... http://www.flightglobal.com/articles/2009/03/19/32... http://www.flymigsokol.com/ http://books.google.com/books?id=MaFtAAAAMAAJ&q=in... http://translate.google.com/translate?u=http://www... http://www.iht.com/articles/2008/05/26/europe/geor... http://www.india-defence.com/reports-1328