ประวัติการใช้งาน ของ มิโคยัน_มิก-29

สหภาพโซเวียตได้ส่งออกmig-29 ให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศ เนื่องมาจากว่าเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 4 นั้นต้องบินโดยนักบิน โครงสร้างระบบการป้องกัน และการดูแลรักษาที่ดี mig-29 จึงทีหน้าที่ในกองทัพอากาศมากมาย[ต้องการอ้างอิง] ตัวอย่างเช่น ในขณะที่mig-29 มีประวัติการทำงานที่ดีในกองทัพอากาศอินเดียซึ่งลงทุนอย่างมากในด้านอากาศยาน แต่มันก็ทำหน้าที่ได้ไม่ดีนักในกองทัพอากาศของอิรักและยูโกสลาเวีย

สหภาพโซเวียตและรัสเซีย

mig-29 ถูกพบเห็นโดยสาธารณะครั้งแรกในฝั่งตะวันตกเมื่อสหภาพโซเวียตนำมันไปแสดงที่ฟินแลนด์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 มิก-29 อีกสองลำถูกจัดแสดงในงานฟาร์นโบโรที่สหราชอาณาจักรเมื่อเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2531 ปีต่อมามันได้แสดงการบินในงานแสดงที่ปารีสเมื่อปีพ.ศ. 2531 ที่ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในสัปดาห์แรกของการแสดง[3] ผู้เฝ้ามองฝั่งตะวันตกประทับใจในความสามารถและความคล่องแคล่วของมัน เมื่อโซเวียตล่มสลายmig-29 ส่วนมากเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย

ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2551 จอร์เจียได้กล่าวโทษmig-29 ของรัสเซียที่ยิงUAVเฮอร์เมส 450 ของพวกเขาตกและได้ทำการบันทึกวิดีโอที่แสดงให้เห็นว่าmig-29 ที่กำลังยิงขีปนาวุธใส่ ทางรัสเซียปฏิเสธว่าเป็นเครื่องบินของพวกเขาและกล่าวว่าพวกเขาไม่ได้ทำการบินใดๆ เลยในวันนั้น กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในอับคาเซียอ้างว่าพวกเขาเป็นผู้ที่ยิงยูเอวีตกด้วยแอโร แอล-39 อัลบาทรอสเพราะว่ามันบินล้ำเข้ามาในน่านฟ้าของพวกเขา[4] การสืบสวนของสหประชาชาติสรุปได้ว่าวิดีโอเป็นของจริงและUAVถูกยิงโดยmig-29 หรือsu-27 ของรัสเซียโดยใช้ขีปนาวุธติดตามความร้อนวิมเปล อาร์-73[5]

กองทัพอากาศรัสเซียได้สั่งระงับการบินmig-29 ทั้งหมดหลังจากเหตุการณ์เครื่องบินตกในเซอร์เบียเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551[6] หลังจากการตกครั้งที่สองของmig-29 ในเซอร์เบียในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551[7][8] ทางการรัสเซียยอมรับว่าmig-29 ส่วนใหญ่ในกองทัพอากาศของตนไม่สามารถทำหน้าที่ได้เนื่องจากการซ่อมบำรุงที่ไม่ดี อายุการใช้งานของเครื่องบินประมาณ 70% ถูกจัดว่าเก่าเกินไปที่จะทำการบิน[9] mig-29 ของรัสเซียไม่ได้รับการพัฒนาตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต นั่นก็เพราะกองทัพอากาศรัสเซียเลือกที่จะพัฒนาsu-27 และmig-31 แทน ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 กองทัพอากาศรัสเซียได้กลับมาใช้mig-29 อีกครั้ง[10] อย่างไรก็ดีในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 mig-29 จำนวน 91 ลำของกองทัพอากาศรัสเซียต้องการการซ่อมแซมหลังจากการตรวจสอบ mig-29 ประมาณ 100 ลำผ่านการตรวจและให้บินต่อได้[11][12]

อินเดีย

อินเดียเป็นลูกค้ารายต่างประเทศรายแรกของมิก-29[13] กองทัพอากาศอินเดียได้วางแผนซื้อmig-29 เพิ่มอีกกว่า 50 ลำ ในปีพ.ศ. 2523 ในขณะที่เครื่องบินยังคงอยู่ในช่วงการพัฒนาเท่านั้น ตั้งแต่ที่มันได้ปรากฏตัวในกองทัพอากาศอินเดียในปีพ.ศ. 2528 มันก็ได้ประสบกับการดัดแปลงมากมาย อย่าง ระบบอิเลคทรอนิกอากาศ ระบบสำรอง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน และเรดาร์[14] รุ่นพัฒนาของอินเดียใช้ชื่อว่าบาอาซ (ภาษาฮินดีแปลว่าเหยี่ยว) และทำให้เกิดกองบินโจมตีขึ้นมาตามซุคฮอย ซู-30เอ็มเคไอ

สถิติการทำงานที่ดีของmig-29 ทำให้อินเดียทำสัญญากับรัสเซียในปีพ.ศ. 2548 เพื่อพัฒนาmig-29 จำนวน 67 ลำ ภายใต้ข้อตกลงmig-29 ของอินเดียถูกดัดแปลงให้ใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศอาร์-77อาร์วีวี-เออี ขีปนาวุธนี้ได้รับการทดสอบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 และนำไปใช้กับMiG-29 ของกองทัพอากาศอินเดีย นอกจากนั้นทางกองทัพอากาศยังได้ทำสัญญาเพิ่มในการพัฒนา MiG-29 ทั้งหมด 69 ลำ การพัฒนานี้รวมทั้งระบบอิเลคทรอนิกอากาศใหม่ เครื่องบินยังถูกติดตั้งความสามารถในการโจมตีเกินสายตาและระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ[15] ในปีพ.ศ. 2551 รัสเซียอนุญาตให้อินเดียทำการผลิคเครื่องยนต์อาร์ดี-33 ซีรีส์ส 3 จำนวน 120 เครื่องภายใต้ใบอนุญาตเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนา[16] การพัฒนายังรวมทั้งระบบควบคุมอาวุธแบบใหม่ การจัดความเหมาะสมในห้องนักบิน ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นความแม่นยำสูง และระเบิดอัจริยะ MiG-29 หกลำแรกจะถูกพัฒนาในรัสเซียในขณะที่อีก 63 ลำที่เหลือจะถูกพัฒนาในอินเดีย อินเดียยังได้ทำสัญญากับอุตสหกรรมอากาศยานองอิสราเอลเพื่อสร้างระบบอิเลคทรอกนิกอากาศและระบบรองรับเพื่อทำการพัฒนาต่อไป[17]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 กองทัพเรืออินเดียได้ทำสัญญาในการรับมอบmig-29K 12 ลำและmig-29 KUB 4 ลำ[18] mig-29KUB ลำแรงผลิตมาสำหรับกองทัพเรือในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551[19] เครื่องบิน 4 ลำแรกถูกส่งมอบให้กับอินเดียในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552[20] นอกจากนั้นยังมีรายงานว่ากองทัพเรืออินเดียอาจจะสั่งซื้อmig-29Kเพิ่มอีก 30 ลำและ KUB เพื่อนำไปใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบิน[21][22]

กองทัพอากาศอินเดียเริ่มกังวลหลังจากที่mig-29 จำนวน 90 ลำในรัสเซียถูกระงับการบิน[23] หลังจากที่ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดกองทัพอากาศอินเดียก็ได้ปล่อยให้mig-29 ทำงานต่อไปได้[24]

ความขัดแย้งในคาร์จิล

mig-29 ของอินเดียได้ทำหน้าที่ในสงครามคาร์จิลในแคว้นแคชเมียร์เมื่อปีพ.ศ. 2542 กองทัพอากาศอินเดียได้ใช้mig-29 บ่อยครั้งในการคุ้มกันmiracle 2000 ซึ่งถูกใช้เพื่อทิ้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ใส่เป้าหมาย ตามแหล่งข้อมูลของอินเดียmig-29 จากฝูงบินที่ 47 ได้พบเป้าหมายที่เป็นF-16 2 ลำของกองทัพอากาศปากีสถานซึ่งทำการลาดตระเวณและล่วงล้ำเข้ามา เนื่องจากว่าทั้งสองประเทศไม่ได้ทำสงครามอย่างเป็นทางการในตอนนั้น mig-29 จึงไม่ได้รับคำสั่งให้เข้าโจมตี หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวกองทัพอากาศปากีสถานได้สั่งการให้เครื่องบินทั้งหมด บินในน่านฟ้าของปากีสถานเท่านั้น[25]

ยูโกสลาเวียและเซอร์เบีย

ยูโกสลาเวียเป็นประเทศแรกในยุโรปหลังจากสหภาพโซเวียตที่ใช้mig-29 กองทัพอากาศยูโกสลาเวียได้สั่งซื้อmig-29 ทั้งสิ้น 14 ลำและmig-29KUBสองลำจากสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ.1987 มิก-29 ถูกนำเข้าประจำการในฝูงบินที่ประจำการอยู่ในกรุงเบลเกรดซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐเซอร์เบีย

มีเครื่องบินทั้งหมด 16 ลำที่ยังประจำการอยู่ ตั้งแต่ที่ยูโกสลาเวียต้องการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียงของตนเอง mig-29 ของยูโกสลาเวียนั้นไม่ค่อยได้ทำการต่อสู้ในสงคราม และถูกใช้โจมตีภาคพื้นดินเป็นหลัก เครื่องบินขนส่งแอนโตนอฟ แอน-2 จำนวนมากของโครเอเชียถูกทำลายโดยmig-29 เมื่อปีค.ศ.1991

ในขณะที่mig-21 จำนวนมากถูกจัดการโดยกองกำลังของโครเอเชีย กลับไม่มีmig-29 ลำใดเลยที่ถูกยิงตกในสงคราม[26]

การแทรกแซงของนาโต้ในยูโกสลาเวีย

Mig-29 ยังคงทำหน้าที่ของมันในกองทัพอากาศของเซอร์เบียและมอนเตเนโกรและในที่สุดก็เป็นกองทัพอากาศเซอร์เบีย ตลอดช่วงสงคราม มีการสั่งห้ามขนส่งอาวุธในประเทศ สภาพของmigก็แย่ลง ก่อนที่จะเกิดปฏิบัติการแอลไลด์ฟอร์ซmigของยูโกสลาเวียนั้นมีอายุมากกว่า 10 ปีและขาดอะไหล่ บางลำถูกแยกชิ้นส่วนเพื่อนำไปใช้กับลำอื่น ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 กองทัพอากาศยูโกสลาเวียมีmig-29 จำนวน 11 ลำเท่านั้นที่ใช้งานได้

mig-29 ทั้งหมด 6 ลำถูกยิงตกโดย 4 ลำถูกยิงตกโดยเอฟ-15C และอีก 1 ลำโดย F-16CJ ของกองทัพอากาศสหรัฐ หรือถูกยิงตกโดยพวกเดียวกันเองและถูกยิงโดย F-16AM ของเนเธอร์แลนด์[27][28] ลำอื่นถูกทำลายขณะอยู่บนพื้นและอีก 1 ลำตกลงและถูกทำลายเนื่องจากว่ามันถูกใช้เป็นเป้าล่อ[29]

หลังสงคราม

หน่วยยังคงบินmig-29 ที่เหลืออีก 5 ลำต่อไปหลังจากสงคราม ในฤดูใบไม้ผลิเมื่อปีพ.ศ. 2547 มีข่าวที่ดูเหมือนว่ากองทัพอากาศเซอร์เบียและมอนเตเนโกรได้หยุดใช้ mig-29 เพราะว่ามันไม่สามารถซ่อมบำรุงได้อีกต่อไป[26]

ในปัจจุบัน mig-29 กลับเข้าสู่การทำหน้าที่ในกองทัพอากาศเซอร์เบีย mig-29 ลำแรกปฏิบัติการอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ลำที่สองในเดือนมีนาคม และลำที่สามในเดือนพฤษภาคม อีกสองลำเริ่มทำหน้าที่อีกครั้งในฤดูร้อนปีพ.ศ. 2551 การปรากฏตัวต่อสาธารณะครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์[30] มิก-29 ลำที่สองที่เข้าประจำการถูกใช้สำหรับการฝึกนักบินมิก-29[31] เครื่องบินลำที่สามและสี่ที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ร่วมบินกับอีกสองลำแรกเหนือกรุงเบลเกรดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

เยอรมนี

mig-29 ที่ทำสีตามธงชาติของเยอรมนี

สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี(เยอรมันตะวันออก)ได้ซื้อmig-29 จำนวน 24 ลำ (รุ่นA 20 ลำและรุ่นUB 4 ลำ) ซึ่งได้เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2531-2532 หลังจากที่กำแพงเบอร์ลินถูกทำลายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และการรวมประเทศของเยอรมนีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 mig-29 และเครื่องบินลำอื่นๆ ของกองทัพอากาศเยอรมนีตะวันออกเดิมถูกรวมเข้าในกองทัพอากาศเยอรมนี

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ของอเมริกาอ้างว่าmig-29 นั้นเทียบเท่าหรือเหนือกว่าเอฟ-15Cในบางจุดอย่างเช่น การปะทะระยะสั้น เพราะหมวกพิเศษและความคล่องตัวที่เหนือกว่าในความเร็วต่ำ[32] สิ่งนี้ได้แสดงให้เห็นเมื่อmig-29 ของเยอรมนีได้ทำการฝึกรบกับเครื่องบินขับไล่ของอเมริกา[33][34] หมวกพิเศษนั้นให้การช่วยเหลืออย่างมาก มันทำให้นักบินเยอรมันมองไปที่เป้าหมายใดก็ได้ภายในระยะยิงของขีปนาวุธ[35] เมื่อเทียบกันแล้วเครื่องบินของอเมริกาทำได้แค่เพียงมองเห็นเป้าหมายในช่องแคบๆ จนกระทั่งปีพ.ศ. 2546 กองทัพอากาศสหรัฐและกองทัพเรือสหรัฐได้เริ่มโครงการสร้างหมวกพิเศษสำหรับการมองขึ้นมา

ในช่วงที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศเยอรมัน mig-29 ลำหนึ่งตกในอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เนื่องจากความผิดพลาดของนักบิน ในปีพ.ศ. 2546 นักบินของเยอรมนัได้ทำการบินกว่า 30,000 ชั่วโมงด้วย mig-29 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 mig 29 ลำจาก 23 ลำถูกขายให้กับกองทัพอากาศโปแลนด์[36] เครื่องบินลำสุดท้ายถูกย้ายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547[37] มิก-29 ลำที่ 23 ถูกนำไปแสดงในเยอรมนี[38]

โปแลนด์

มิก-29 12 ลำแรก (mig-29A 9 ลำและmig-29UB 3 ลำ) ถูกส่งมอบให้กับโปแลนด์ในปีพ.ศ. 2532-2533 ในปีพ.ศ. 2538 มีการใช้เพื่อทดสอบโดยสาธารณรัฐเช็กจำนวน 10 ลำ หลังจากการปลดประจำการของ mig-21 และ mig-23 ในปีพ.ศ. 2546 โปแลนด์มี mig-29 เพียง 22 ลำเท่านั้นที่ทำหน้าที่สกัดกั้น

ในปีพ.ศ. 2547 โปแลนด์ได้รับ mig-29 จำนวน 22 ลำจากเยอรมนี 14 ลำในนั้นได้รับการยกเครื่องใหม่และนำเข้าประจำการแทนที่ mig-21 ในปัจจุบันโปแลนด์มี mig-29 32 ลำ (mig-29A 26 ลำและ mig-29UB 6 ลำ) ซึ่งจะทำหน้าที่จนถึงปีพ.ศ. 2555 ในปีพ.ศ. 2551 โปแลนด์เป็นประเทศในกลุ่มนาโต้ที่มี mig-29 มากที่สุด ความเป็นไปได้ในการพัฒนาเครื่องบินเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานจนถึงปีพ.ศ. 2563 กำลังอยู่ในการพิจารณา มันขึ้นอยู่กับว่ามิโคยันจะให้ความร่วมมือหรือไม่

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 mig ได้รับการสนับสนุนจาก F-16 บล็อก 52+ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 F-16 ยังใช้เพื่อแทนที่ mig-21 อีกด้วย

ไม่มีการยืนยันว่าโปแลนด์ได้ทำสัญญาเช่า mig-29 อย่างน้อยหนึ่งลำให้กับอิสราเอลเพื่อทำการพัฒนาและตั้งแต่ที่เครื่องบินลำดังกล่าวกลับมาที่โปแลนด์ ตามที่มีรูปยืนยันการมีอยู่ของ mig-29 ในอิสราเอล

สหรัฐอเมริกา

ในปีพ.ศ. 2540 สหรัฐได้ซื้อเครื่องบินของมอลโดวาภายใต้ญาการลดอาวุธ มี mig-29 14 ลำซึ่งติดตั้งตัวรบกวนเรดาร์และสามารถใช้อาวุธนิวเคลียร์ได้ การที่สหรัฐซื้อเครื่องบินเหล่านี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้พวกมันถูกขายให้กับประเทศที่ชอบทำสงครามโดยเฉพาะอิหร่าน[39] การซื้อครั้งนี้ยังทำให้กองทัพอากาศสามารถทำการพัฒนาและศึกษาข้อมูลของ mig-29 ข้อมูลเหล่านั้นอาจมีประโยชน์ในอนาคตและช่วยในการออกแบบและทดสอบอาวุธในอนาคต ในปลายปีพ.ศ. 2540 mig ถูกส่งมอบให้กับศูนย์อากาศและอวกาศแห่งชาติใกล้กับโอไฮโอ แม้ว่าจะเชื่อว่า mig-29 หลายลำถูกทำลาย

ประเทศอื่นๆ

mig-29 ของอิรักถูกยิงตกในปฏิบัติการพายุทะเลทราย

Mig-29 ได้ทำการรบในสงครามอ่าวเมื่อปีพ.ศ. 2534 ซึ่งมันถูกใช้โดยอิรัก ตามข้อมูลของฝ่ายสหรัฐมี mig-29 5 ลำที่ถูกยิงตกโดย F-15[40] มิก-29 8 ลำสามารถหลบหนีไปที่อิหร่านที่ซึ่งปัจจุบันมันอยู่ในกองทัพอากาศอิหร่าน ซึ่งซื้อ mig-29 จากรัสเซียเช่นกัน

Mig-29UB ของคิวบาได้ยิงเซสนา 337 2 ลำตกในปีพ.ศ. 2539 หลังจากที่เครื่องบินดังกล่าวล่วงล้ำน่านฟ้าของคิวบา[41]

จากบางรายงานเมื่อปีพ.ศ. 2542 mig-29 ของเอริเทรียถูกยิงตกโดยซุคฮอย su 27 ของเอธิโอเปีย[ต้องการอ้างอิง] ในขณะที่อีกรายงานกล่าวว่า mig-29 ของเอริเทรียได้ยิง mig-21 2 ลำและ mig-23 3 ลำของเอธิโปเปียตก[42]

ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 mig-29 2 ลำของกองทัพอากาศซีเรียถูกรายงานว่าถูกยิงตกโดย F-15 C ของกองทัพอากาศอิสราเอล ในขณะที่เข้าสกัดกั้นเครื่องบินของอิสราเอลนอกชายฝั่งเลบานอน นักบินซีเรียดีดตัวออกมาและได้รับการช่วยเหลือจากเรือของซีเรีย[43][44][45]

ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทหารดาร์เฟอร์ได้ทำการโจมตีเมืองหลวงของซูดาน ในการรบ mig-29 ของซูดานถูกยิงตกโดยทหารของกบฏดาร์เฟอร์ด้วยปืนกลหนักขนาด 12.7 ม.ม.และ 14.5 ม.ม. นักบินเสียชีวิตเมื่อร่มของเขาไม่ทำงานหลังจากการดีดตัว ฝ่ายซูดานสามารถยันการโจมตีกลับไปได้[46][47]

ผู้ใช้ที่เป็นไปได้ในอนาคต

ศรีลังกากำลังวางแผนที่จะซื้อ mig-29 SM[48]

เลบานอนวางแผนที่จะซื้อ mig-29 จำนวน 10 ลำจากรัสเซีย[49][50][51] เพื่อส่งมอบหลังจากต้องการทำรุ่นส่งออกและหลังจากที่นักบินของกองทัพอากาศเลบานอนได้ทำการฝึกเรียบร้อยแล้ว

ใกล้เคียง

มิโคยัน มิก-29 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-21 มิโคยัน มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-15 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25 มิโคยัน มิก-27 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-23 มิโคยัน มิก-31 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-3 มิโยชิ (จังหวัดไซตามะ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: มิโคยัน_มิก-29 http://www.airforce-technology.com/projects/mig29/ http://www.aviapedia.com/fighters/mig-29vft-video-... http://www.bdmilitary.com/index.php?option=com_con... http://www.codeonemagazine.com/archives/1995/artic... http://www.flightglobal.com/articles/2009/03/19/32... http://www.flymigsokol.com/ http://books.google.com/books?id=MaFtAAAAMAAJ&q=in... http://translate.google.com/translate?u=http://www... http://www.iht.com/articles/2008/05/26/europe/geor... http://www.india-defence.com/reports-1328