การพัฒนา ของ มิโคยัน_มิก-29

ในปีพ.ศ. 2522 สหภาพโซเวียตได้เรียนรู้จากโครงการ"เอฟ-เอ็กซ์"ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้เกิดเอฟ-15 อีเกิลขึ้นมา ไม่นานผู้นำฝ่ายโซเวียตได้ตระหนักถึงเครื่องบินขับไล่ของอเมริกาที่อาจก้าวหน้ากว่าเครื่องบินขับไล่ของโซเวียต สิ่งที่ต้องการก็คือเครื่องบินขับไล่ที่ดีกว่าทั้งความรวดเร็วและระบบที่ทันสมัย เหล่านายพลโซเวียตได้ประกาศความต้องการพีเอฟไอ (รัสเซีย: Perspektivnyy Frontovoy Istrebitel, แปลหยาบๆ ว่า"เครื่องบินขับไล่สำหรับแนวหน้าที่ทันสมัย") รายละเอียดเฉพาะนั้นทะเยอทะยานอย่างมาก มันต้องมีพิสัยที่ไกล ทำงานในรันเวย์สั้นได้ มีความคล่องตัวสูง ทำความเร็วได้ตั้งแต่ 2 มัคขึ้นไป และมีอาวุธขนาดหนัก การออกแบบทางด้านอากาศพลศาสตร์ของเครื่องบินลำใหม่นี้ทำโดยทีเอสเอจีไอ (TsAGI) โดยร่วมมือกับซุคฮอย (สิ่งนี้ทำให้เกิดซุคฮอย ซู-27)

อย่างไรก็ดีในปีพ.ศ. 2524 โซเวียตตัดสินใจว่าเครื่องบินพีเอฟำอนั้นมีราคาแพงเกินไปที่จะสร้างให้ได้ตามความต้องการ และแบ่งความต้องการออกเป็นสองโครงการคือทีพีเอฟไอ (รัสเซีย: Tyazhyolyy Perspektivnyy Frontovoy Istrebitel, "เครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีก้าวหน้าขนาดหนัก") และแอลพีเอฟไอ (รัสเซีย: Lyogkiy Perspektivnyy Frontovoy Istrebitel, "เครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีก้าวหน้าขนาดเบา") มันคล้ายคลึงกับโครงการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาและเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนและวายเอฟ-17 คอบรา เครื่องบินขับไล่ขนาดหนักทำโดยซุคฮอยจนได้ซุคฮอย ซู-27 ขึ้นมา ในขณะที่เครื่องบินขับไล่ขนาดเบาทำโดยมิโคยัน มันมีชื่อว่ามิก-29เอโดยเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2527 โดยทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2530 เครื่องบินที่สร้างออกมาก่อนการผลิตถูกพบโดยดาวเทียมสอดแนมของสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายนในปีนั้นเอง มันถูกเรียกว่าแรม-แอล (Ram-L) เพราะว่ามันถูกพบที่ศูนย์ทดสอบการบินซูคอฟสกี้ที่อยู่ใกล้กับเมื่องราเมนสคอย การพิจารณาในครั้งแรกแนะว่าแรม-แอลคล้ายคลึงกับวายเอฟ-17 คอบราและใช้เครื่องยนต์ไอพ่นพร้อมสันดาปท้ายแบบทูแมนสกี้ อาร์-25

มิก-29 จอดในขณะทำการทดสอบการบินที่งานแสดงแอบบอทสฟอร์ดในปีพ.ศ. 2532


ถึงแม้ว่าการล่าช้าของโครงการเกิดจากการสูญเสียเครื่องยนต์ต้นแบบสองเครื่องในอุบัติเหตุ มิก-29บีรุ่นผลิตก็ถูกส่งเข้าประจำการในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2526 ที่ฐานทัพอากาศคูบินคา การตกลงเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2527 และการส่งก็เริ่มขึ้นในปีเดียวกันให้กับกองทัพอากาศรัสเซีย

การทำงานแบ่งออกระหว่างทีพีเอฟไอกับแอลพีเอฟไอกลายเป็นมิก-29 ที่เข้าประจำการในแนวหน้าในกลางทศวรรษ 2523 ในขณะที่ซู-27 ได้รับงานที่อันตรายกว่าในการต่อสู้ทางอากาศกับนาโต้ มิก-29 ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้ามาแทนที่มิก-23 ในบทบาทแนวหน้า มิก-29 ถูกวางตำนแห่งให้ใกล้กับแนวหน้า ทำงานน่านฟ้าของโซเวียต ล้อลงจอดและตะแกรงหน้าเครื่องยนต์ทำให้มิก-29 สามารถทำงานในสภาพที่ได้รับความเสียหายหรือซ่อมแซมอยู่ได้ มิก-29 ยังทำหน้าที่คุ้มกันให้กับการโจมตีทางอากาศ ปกป้องเครื่องบินจู่โจมภาคพื้นดินจากเครื่องบินขับไล่ของนาโต้อย่างเอฟ-15 และเอฟ-16 มิก-29 ทำให้กองทัพบกของโซเวียตปลอดภัยจากด้านบน

มิก-29ยูบีสำหรับฝึก

ในด้านตะวันตกเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ได้ชื่อจากนาโต้ว่าฟัลครัม-เอจากการสร้างก่อนการผลิตของมิก-29เอ ซึ่งใช้ชื่อนี้มาก่อนในตอนที่ทางตะวันตกยังไม่รู้ถึงการมีอยู่ของมัน มิก-29บีถูกส่งออกอย่างกว้างขวางโดยมีชื่อว่ามิก-29บี 9-12เอและมิก-29บี 9-12บี (สำหรับประเทศที่ลงชื่อในสนธิสัญญาวอซอว์และไม่ได้ลงชื่อ ตามลำดับ) พวกมันมีระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่ด้อยกว่าและไม่สามารถบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์ได้ เครื่องบินถูกสร้างขึ้นทั้งหมดประมาณ 840 ลำ

รุ่นที่ดีกว่าของมิก-29 มีการพัฒนาด้านระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่ใช้โดยสหภาพโซเวียต แต่แบบอื่นๆ ของมิโคยันที่รวมทั้งรุ่นสำหรับใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีชื่อว่ามิก-29เคนั้นไม่เคยถูกสร้างออกมาในจำนวนมาก หลังยุคโซเวียตการพัฒนามิก-29 ได้รับอิทธิพลมาจากการแข่งขันของมิโคยันต่อคู่แข่งอย่างซุคฮอย บางรุ่นที่ก้าวหน้ายิ่งกว่าได้ทำการส่งออกและใช้โดยรัสเซีย รุ่นใหม่ที่ถูกเรียกว่ามิก-29เอสเอ็มทีและมิก-29เอ็ม1/เอ็ม2 กำลังอยู่ในการพัฒนา นอกจากนั้นแล้วการพัฒนาสำหรับรุ่นบนเรือบรรทุกเครื่องบินหรือมิก-29เคนั้นถูกใช้ต่อไปโดยเรือบรรทุกเครื่องบินกอร์ชคอฟกองทัพเรืออินเดีย รุ่นนี้เดิมทีจะถูกใช้โดยเรือบรรทุกเครื่องบินคุซเนทซอฟ แต่ซุคฮอย ซู-30 ถูกใช้แทน

สหภาพโซเวียตไม่ได้ให้ชื่ออย่างเป็นทางการให้กับเครื่องบินส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าชื่อเล่นจะถูกใช้ก็ตาม น่าแปลกที่นักบินโซเวียตใช้คำว่าฟัลครัมของนาโต้เรียกมันและบางครั้งรัสเซียก็ใช้ชื่อนี้อย่างไม่เป็นทางการ[1]

ใกล้เคียง

มิโคยัน มิก-29 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-21 มิโคยัน มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-15 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25 มิโคยัน มิก-27 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-23 มิโคยัน มิก-31 มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-3 มิโยชิ (จังหวัดไซตามะ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: มิโคยัน_มิก-29 http://www.airforce-technology.com/projects/mig29/ http://www.aviapedia.com/fighters/mig-29vft-video-... http://www.bdmilitary.com/index.php?option=com_con... http://www.codeonemagazine.com/archives/1995/artic... http://www.flightglobal.com/articles/2009/03/19/32... http://www.flymigsokol.com/ http://books.google.com/books?id=MaFtAAAAMAAJ&q=in... http://translate.google.com/translate?u=http://www... http://www.iht.com/articles/2008/05/26/europe/geor... http://www.india-defence.com/reports-1328