แผนกพัฒนาการโลก ของ มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์

นพ. คริสโตเฟอร์ อีเลียส เป็นหัวหน้าแผนกพัฒนาการโลก (Global development division) ที่ต่อสู้กับความยากจนแบบรุนแรงในโลกโดยให้เงินช่วยเหลือ[42]

ในเดือนมีนาคม 2549 มูลนิธิประกาศให้เงินช่วยเหลือจำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 195 ล้านบาท) แก่ International Justice Mission (IJM) ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่อยู่ในเมืองวอชิงตัน ดี.ซี.เพื่อประโยชน์ในการต่อต้านการค้าทางเพศ (sex trafficking)ซึ่งจะช่วยให้ IJM "สร้างแบบตัวอย่างในการต่อสู้การค้าและความเป็นทาสทางเพศ" โดยปฏิบัติการที่รวมการเปิดสำนักงานในเขตที่มีอัตราการค้าทางเพศสูงตามข้อมูลงานวิจัยโดยสำนักงานจะเปิดเป็นเวลา 3 ปี และมีจุดประสงค์เพื่อ "ทำการสืบสวนแบบลับ ฝึกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ช่วยเหลือเหยื่อให้พ้นภัย ช่วยเหลือเหยื่อหลังจากรอดภัย และเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้ทำผิด"[43]

IJM ได้ใช้เงินช่วยเหลือก่อตั้งโปรเจ็กต์โคมไฟ (Project Lantern) และตั้งสำนักงานขึ้นที่เมืองซิบู (Cebu) ประเทศฟิลิปปินส์ในปี 2553 IJM ตีพิมพ์ผลงานของโปรเจ็กต์โดยอ้างว่า โปรเจ็กต์ได้ "เพิ่มการตรวจจับคดีการค้าทางเพศ เพิ่มความมุ่งมั่นของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้การฝึกผ่านโปรเจ็กต์ในการไขและปิดคดี และเพิ่มบริการ เช่น ที่หลบภัย การให้คำปรึกษา และการฝึกอาชีพ ให้กับผู้รอดชีวิตจากการค้าทางเพศ"ในช่วงที่ตีพิมพ์รายงาน IJM กำลังตรวจสอบโอกาสที่จะลอกแบบปฏิบัติงานเพื่อทำในเขตอื่น ๆ[44]

บริการทางการเงินสำหรับคนจน

  • Alliance for Financial Inclusion (AFI) - บริจาค 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,231 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาให้สร้างบัญชีออมทรัพย์ การประกัน และบริการทางการเงินอื่น ๆ เพื่อคนที่ที่เลี้ยงชีพมีรายได้น้อยกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน (ประมาณ 70 บาทต่อวัน) [ต้องการอ้างอิง]
  • Financial Access Initiative (FAI) - บริจาค 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 176 ล้านบาท) เพื่อทำงานวิจัยในสนามและหาคำตอบต่อคำถามสำคัญเกี่ยวกับ การเข้าถึง microfinance (บริการการเงินสำหรับธุรกิจเล็ก ๆ ที่ไม่สามารถใช้บริการของธนาคารโดยปกติ) และบริการการเงินอื่น ๆ ในประเทศยากจนทั่วโลก[ต้องการอ้างอิง]
  • Pro Mujer - บริจาคเงินช่วยเหลือมูลค่า 3.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 109 ล้านบาท) กระจายจ่ายเป็นเวลา 5 ปี ให้กับ Pro Mujer ซึ่งเป็นเครือข่าย microfinance ในลาตินอเมริกาที่รวมการบริการทางการเงินและการดูแลสุขภาพให้กับแม่ค้าที่ยากจน เพื่อค้นหาช่องทางใหม่ ๆ สำหรับกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในตลาด microfinance ในลาตินอเมริกา[ต้องการอ้างอิง]
  • Grameen Foundation - บริจาคเงินจำนวน 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 52.75 ล้านบาท) ให้กับมูลนิธิ Grameen Foundation (ซึ่งเป็นธนาคาร microfinance ที่ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ) เพื่อให้ธนาคารสามารถเข้าสู่เป้าหมายในการให้เงินกู้ขนาดย่อย (microloan) ต่อครอบครัวอีก 5 ล้านครอบครัว แล้วช่วยครอบครัวเหล่านั้นครึ่งหนึ่งให้พ้นจากความยากจนภายใน 5 ปี[45]

การพัฒนาทางเกษตร

  • International Rice Research Institute - ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 และตุลาคม 2553 มูลนิธิได้บริจาคเงิน 19.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 662 ล้านบาท) เพื่อเพิ่มการผลิตข้าว โดยมูลนิธิอ้างว่า "เพื่อที่จะให้ทันความต้องการทางตลาดทั่วโลก การผลิตข้าวต้องเพิ่มขึ้นประมาณ 70% ภายใน 2 ทศวรรษ"[46]
  • Alliance for a Green Revolution in Africa - มูลนิธิได้ร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์การเกษตรและผลิตภาพของไร่นาขนาดเล็กในแอฟริกา และต่อยอดปฏิวัติสีเขียว (Green Revolution) ที่มูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ได้ช่วยกระตุ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 จนถึง 1960 โดยมูลนิธิได้บริจาคเงินเบื้องต้นจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,372 ล้านบาท) และมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ได้บริจาค 50 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,686 ล้านบาท) แต่ว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกล่าวหาว่า มูลนิธิชอบใจที่จะให้เงินช่วยเหลือที่ให้ผลประโยชน์กับบริษัทเกษตรข้ามชาติขนาดยักษ์ เช่น มอนซานโต้[47] โดยไม่พิจารณาเห็นความจำเป็นอื่น ๆ ในแอฟริกา[48]

น้ำ ระบบสุขาภิบาล และอนามัย

ตัวอย่างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ส้วมแบบ Nano Membrane ที่ใช้โดยไม่เชื่อมกับระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล แต่เล็กและดูดีพอที่จะใส่ไว้ในบ้านได้ทั้งดุ้น นี่เป็นต้นแบบที่แสดงในงานแสดงในเมืองเดลีที่ยังทำงานไม่ได้จริง

ก่อนปี 2554 มูลนิธิได้สนับสนุนโปรแกรมเกี่ยวกับน้ำ ระบบสุขาภิบาล (sanitation) และอนามัย (hygiene) ในประเทศกำลังพัฒนาแต่ว่าเมื่อกลางปี 2554 มูลนิธิได้เปลี่ยนไปเพ่งความสนใจที่ "ระบบสุขาภิบาล" (โดยสนใจเรื่องน้ำ และอนามัย ลดลง) โดยเฉพาะในเขตแอฟริกาใต้สะฮาราและเอเชียใต้ เพราะว่า ระบบสุขาภิบาลที่พอใช้ได้ (improved sanitation) มีน้อยที่สุดในเขตเหล่านั้น[49]และจุดเพ่งความสนใจตั้งแต่นั้นมาก็คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบสุขาภิบาล การสร้างต้นแบบที่ใช้ได้มีขนาดจริง และนโยบายและการสนับสนุนนโยบาย[49]ในช่วงกลางปี 2554 มูลนิธิได้แสดงว่า ได้สัญญาเพื่อให้ทุนเป็นจำนวน 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8,078 ล้านบาท) สำหรับประเด็นในเรื่องน้ำ ระบบสุขาภิบาล และอนามัยภายใน 5 ปีที่ผ่านมา คือเริ่มตั้งแต่ 2549[49]และในช่วงระยะปี 2551 จนถึง 2558 เงินช่วยเหลือที่ให้ในเรื่องน้ำ ระบบสุขาภิบาล และอนามัยรวมกันทั้งหมดเป็นจำนวน 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 21,069 ล้านบาท) ตามข้อมูลจากฐานข้อมูลการบริจาคของมูลนิธิที่เข้าถึงได้อย่างเสรี[29]

ตัวอย่างของการพัฒนาส้วมแบบโลว์เถ็กที่มีการให้ทุน เป็นแบบแยกส่วนปัสสาวะ (urine-diverting dry toilet) ที่เรียกว่า "Earth Auger toilet" จากประเทศเอกวาดอร์/สหรัฐ

ระบบสุขาภิบาลในประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นเรื่องจำเป็น แต่ว่าไม่ค่อยมีการให้ความสำคัญตามคำของ UNICEF และ WHO[50]คือ มีคนหนึ่งพันล้านคนในโลกที่ไม่มีส้วมใช้โดยประการทั้งปวง และยังถ่ายหนักลงในร่องน้ำ หลังพุ่มไม้ หรือในแหล่งน้ำ ที่ทั้งไม่งดงามทั้งไม่เป็นส่วนตัว และเสี่ยงต่อสาธารณสุข[51]:6ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีคนถ่ายในที่แจ้งมากที่สุดในโลก คือประมาณ 600 ล้านคน[51]:19และก็เป็นประเทศที่มูลนิธิได้หันมาสนใจมากที่สุดในเรื่องสุขาภิบาลซึ่งเห็นได้ชัดตั้งแต่งาน "Reinvent the Toilet Fair" ในเดือนมีนาคม 2557 ณ กรุงเดลี[52]

นวัตกรรมสุขาภิบาล

ในปี 2554 มูลนิธิเริ่มโปรแกรมที่เรียกว่า "Reinvent the Toilet Challenge" (ทุนท้าทายให้ประดิษฐ์ส้วมใหม่) เพื่อโปรโหมตการพัฒนานวัตกรรมส้วมเพื่อประโยชน์ต่อคน 2,500 ล้านคนที่ไม่มีสุขาภิบาลที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผล[53][54]ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่สื่อมวลชนให้ความสนใจอย่างสำคัญ[55][56]โดยมีโปรแกรมเสริมที่เรียกว่า "Grand Challenges Explorations" ที่ให้เงินสนับสนุนในปี 2554-2558 เป็นจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,119,000 บาท) แต่ละรายในการแข่งขันรอบแรก[54]แต่การให้เงินทุนในโปรแกรมทั้งสองยกเว้นโปรเจ็กต์ที่พึ่งระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลส่วนกลาง ที่ใช้ไม่ได้ในประเทศกำลังพัฒนา[57]

เซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้แบคทีเรีย (Microbial fuel cell) ที่เปลี่ยนปัสสาวะเป็นพลังงานไฟฟ้า (งานวิจัยโดย มหาวิทยาลัยเวสต์ออฟอิงแลนด์ สหราชอาณาจักร)

ตั้งแต่เริ่มตั้งทุนท้าทายให้ประดิษฐ์ส้วมใหม่ มีทีมนักวิจัยเกินกว่าโหล โดยมากที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ยุโรป อินเดีย และแอฟริกาใต้ ที่ได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อพัฒนาการบำบัดสิ่งปฏิกูลที่เป็นนวัตกรรมเพื่อให้คนยากจนในเมืองได้ใช้เงินที่ช่วยเหลือจะให้ประมาณ 400,000 ดอลลาร์สหรัฐในระยะการดำเนินงานเบื้องต้น และตามด้วย 1-3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในระยะที่สองและทีมต่าง ๆ ตรวจสอบการแยกทรัพยากรที่เวียนใช้ได้จากของขับถ่าย หรือเทคโนโลยีการแปลงของเสีย (excreta) หรือเทคโนโลยีการแปลงกากอุจจาระ (จากถังอุจจาระ)[58]โปรแกรมนี้พุ่งความสนใจไปที่การประดิษฐ์ส้วมชักโครกใหม่เป้าหมายก็คือการสร้างส้วมที่ไม่เพียงแต่กำจัดเชื้อโรคจากของเสียมนุษย์เท่านั้น แต่สามารถแยกเอาพลังงาน หรือน้ำสะอาด และสารอาหารได้ด้วยซึ่งต้องสามารถใช้ได้โดยไม่เชื่อมกับระบบต่าง ๆ จากเทศบาลเช่นการประปา ระบบระบายสิ่งปฏิกูล หรือกับการไฟฟ้าและต้องมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 0.05 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน (น้อยกว่าประมาณ 2 บาท)[57]ส่วนส้วมไฮเถ็คเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับของเสียมนุษย์ก็กำลังได้ความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน แต่ว่าการเพ่งความสนใจไปที่การแก้ปัญหาโดยเทคโนโลยีมีคนไม่เห็นด้วยมาก[55]แต่ว่า ส้วมแบบโลว์เถ็คอาจเป็นอะไรที่ใช้ได้ดีในประเทศที่ยากจน และงานวิจัยที่มูลนิธิให้ทุนก็กำลังดำเนินการทำส้วมเช่นนี้[59]ทุนท้าทายให้ประดิษฐ์ส้วมใหม่เป็นการวิจัยและพัฒนาการระยะยาวเพื่อจะสร้างส้วมที่ถูกอนามัย และแยกอยู่ได้ต่างหากซึ่งเสริมด้วยอีกโปรแกรมหนึ่งที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดอุจจาระจากส้วมหลุม (ที่มูลนิธิเรียกว่า “Omni-Ingestor”)[60])และกระบวนการแปลงกากตะกอนอุจจาระ (ที่มูลนิธิเรียกว่า Omni-Processor)ซึ่งมีเป้าหมายในการแปลงของเสียมนุษย์ (เช่นกากตะกอนอุจจาระ) ให้กลายเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ เช่น พลังงานหรือสารอาหารในดิน โดยมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจและรายได้สำหรับคนในพื้นที่[61]

ตัวอย่าง

  • มีโปรเจ็กต์สุขาภิบาลประมาณ 200 โปรเจ็กต์ในประเทศต่าง ๆ ที่มีขนาดต่าง ๆ กัน บางโปรเจ็กต์เพ่งความสนใจไปที่เทคโนโลยี บางโปรเจ็กต์เพ่งความสนใจไปที่การพัฒนาการตลาด หรือนโยบายและการสนับสนุนนโยบายที่ได้รับทุนจากมูลนิธิตั้งแต่ปี 2551[62]
  • มหาวิทยาลัย KwaZulu-Natal ในเมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ได้เงินบริจาค 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 52 ล้านบาท) ในปี 2557 เพื่อเป็นศูนย์กลางของนักวิจัยเกี่ยวกับสุขาภิบาลและผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์[35][63]
  • ตัวอย่างหนึ่งของ ระบบ Omni-Processor ก็คือการแปลงกากตะกอนอุจจาระที่ใช้ระบบการเผาไหม้เพื่อแปลงเป็นพลังงานและน้ำดื่ม การพัฒนาต้นแบบโดยบริษัทสหรัฐ Janicki Bioenergy ได้ดึงความสนใจจากสื่อให้สนใจในเรื่องวิกฤติการณ์ทางสุขาภิบาลและงานของมูลนิธิ หลังจากที่บิล เกตส์ได้ดื่มน้ำที่แปลงโดยระบบ[64]
  • ตัวอย่างของทุนท้าทายให้ประดิษฐ์ส้วมใหม่รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ได้รับทุน 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 58.08 ล้านบาท) เพื่อสร้างต้นแบบส้วมที่ใช้ความร้อนพระอาทิตย์ในการแปลงอุจจาระให้เป็นถ่านชีวภาพ (biochar) ที่ใช้ปรับปรุงดินได้[65][66] และมูลนิธิได้ให้เงินสนับสนุนแก่องค์กรไม่หวังผลกำไร RTI International ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อพัฒนาส้วมที่ใช้วิธีการฆ่าเชื้อโดยเคมีไฟฟ้า และการเผาของเสียแบบแข็ง[67][68]

งานริเริ่มพิเศษอื่น ๆ

โครงการริเริ่มพิเศษของมูลนิธิรวมทั้งทุนตอบสนองต่อวิกฤตการณ์และทุนเรียนรู้ที่ใช้ทดลองในการบริจาคในเรื่องใหม่ ๆ ตัวอย่างรวมทั้ง

ใกล้เคียง

มูลนิธิวิกิมีเดีย มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ มูลนิธิเส้นด้าย มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2555 มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2553 มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2554 มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2556 มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ http://www.bbc.com/news/health-29145497 http://berkshirehathaway.com/donate/bmgfltr.pdf http://news.biharprabha.com/2014/03/worlds-first-s... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=newsarchive... http://www.bloomberg.com/news/2013-05-16/bill-gate... http://www.breitbart.com/Big-Government/2014/06/12... http://www.businessinsider.com/most-generous-peopl... http://images.businessweek.com/slideshows/2013-12-... http://businesswireindia.com/news/news-details/new... http://chronicle.com/article/How-Gates-Shapes-Stat...