ประเภท ของ ยาระบายอย่างอ่อน

เพิ่มปริมาณอุจจาระ (Bulk-forming agents)

ยาระบายชนิดสร้างเนื้ออุจจาระมีองค์ประกอบที่เพิ่มเนื้อและน้ำในอุจจาระ เพื่อให้สามารถผ่านลำไส้ไปได้ง่ายขึ้น องค์ประกอบรวมทั้งใยอาหารและสารดูดน้ำ (hydrophilic agent)[2]

คุณสมบัติ

  • ตำแหน่งออกฤทธิ์: ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่
  • เวลาเริ่มออกฤทธิ์: 12-72 ชม.
  • ตัวอย่าง: ใยอาหาร, ซิลเลียม (psyllium) เช่นยี่ห้อ Metamucil, methylcellulose เช่นยี่ห้อ Citrucel, polycarbophil เช่นยี่ห้อ FiberCon[3]

ยาเพิ่มเนื้อจะดูดน้ำ ดังนั้นจึงควรทานพร้อมกับน้ำมาก ๆ[3]เป็นยาเบาที่สุดในบรรดายาระบาย[1]และสามารถใช้ป้องกันรักษาการขับถ่ายในระยะยาว

ใยอาหาร

อาหารที่ช่วยระบายก็คือที่มีใยอาหารสูงทั้งแบบละลายน้ำไม่ได้และละลายได้ เช่น[4]

ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (emollient agents, stool softeners)

ยาระบายแบบทำอุจจาระให้นุ่มและชุ่มชื้น เป็นสารลดแรงตึงผิวแบบแอนไออน (anionic surfactant) ซึ่งช่วยให้น้ำและไขมันรวมเข้าในอุจจาระมากขึ้น แล้วทำให้ผ่านทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น

คุณสมบัติ

ยาระบายแบบทำให้นุ่มและชุ่มชื้นควรทานพร้อมกับน้ำมาก ๆ เป็นยาที่ช่วยป้องกันท้องผูกมากกว่าเป็นยารักษาท้องผูกในระยะยาว[3]

หล่อลื่น (Lubricant agents)

ยาระบายแบบหล่อลื่นช่วยเคลือบอุจจาระด้วยลิพิดลื่น ๆ และหน่วงการดูดซึมน้ำจากอุจจาระของลำไส้ใหญ่ จึงทำให้มันผ่านไปได้ง่ายกว่าอนึ่ง มันยังช่วยเพิ่มน้ำหนักและลดระยะเวลาที่ดำเนินผ่านลำไส้[3]

คุณสมบัติ

  • ตำแหน่งออกฤทธิ์: ลำไส้ใหญ่
  • เวลาเริ่มออกฤทธิ์: 6-8 ชม.
  • ตัวอย่าง: น้ำมันแร่ (mineral oil)[3]

น้ำมันแร่เป็นสารหล่อลื่นอย่างเดียวที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์แต่ก็อาจลดการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน (เช่น เอ ดี อี และเค) และแร่ธาตุบางอย่างเข้าร่างกาย[3] และอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารเหล่านี้ได้

Hyperosmotic agents

ยาระบายแบบ hyperosmotic หมายถึงสารที่ทำให้ลำไส้เก็บน้ำไว้ภายในมากกว่าแล้วสร้างภาวะออสโมซิสที่ช่วยกระตุ้นให้ถ่าย[3]

คุณสมบัติ

  • ตำแหน่งออกฤทธิ์: ลำไส้ใหญ่
  • เวลาเริ่มออกฤทธิ์: 12-72 ชม (ทาน) 0.25-1 ชม. (เหน็บทางทวารหนัก)
  • ตัวอย่าง: ยาเหน็บแบบ glycerin ยี่ห้อ Hallens, ซอร์บิทอล, แล็กทูโลส, และ macrogol/polyethylene glycol (PEG) ยี่ห้อ Colyte, MiraLax[3]

แล็กทูโลสออกฤทธิ์โดยกระบวนการออสโมซิส ซึ่งเก็บน้ำไว้ในลำไส้ใหญ่ เพิ่มความเป็นกรดโดยผ่านกระบวนการหมักกลายเป็นกรดแล็กติก กรดฟอร์มิก และกรดน้ำส้ม แล้วเพิ่มการบีบตัว (peristalsis) ของลำไส้ใหญ่ยาเหน็บคือ glycerin ออกฤทธิ์แบบ hyperosmotic คือเพิ่มปริมาณน้ำแล้วเพิ่มการบีบตัวของลำไส้โดยยา sodium stearate ที่ผสมอยู่ด้วยกันก็จะระคายลำไส้ใหญ่ด้วย

สารละลายที่ประกอบด้วย polyethylene glycol และอิเล็กโทรไลต์ต่าง ๆ (รวมทั้งโซเดียมคลอไรด์ โซเดียมไบคาร์บอเนต โพแทสเซียมคลอไรด์ และบางครั้ง โซเดียมซัลเฟต) สามารถให้ทางปากหรือหลอดอาหาร (ที่สอดลงทางจมูกไปถึงกระเพาะ) เพื่อใช้ล้างทางเดินอาหารทั้งหมด เป็นวิธีการที่สร้างขึ้นเพื่อเตรียมผ่าตัดลำไส้ หรือเพื่อเตรียมส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) และเพื่อรักษาการได้รับพิษบางชนิดยี่ห้อของสารละลายเหล่านี้รวม GoLytely, GlycoLax, CoLyte, Miralax, Movicol, NuLytely, Suprep, และ Fortransสารละลายของซอร์บิทอล (ยี่ห้อ SoftLax) ก็มีผลเช่นเดียวกัน

ยาระบายแบบน้ำเกลือ

ยาระบายแบบน้ำเกลือเป็นสารออสโมซิสที่ดูดซึมไม่ได้แต่สามารถดูดและเก็บน้ำให้อยู่ในช่องลำไส้ ซึ่งเพิ่มแรงดันในช่องและกระตุ้นให้ถ่ายสารที่ประกอบด้วยแมกนีเซียมยังเป็นเหตุให้หลั่งฮอร์โมนเพปไทด์ คือ cholecystokinin ซึ่งเพิ่มการบีบตัวของลำไส้และการหลั่งน้ำ[3]แต่ยาระบายชนิดนี้อาจเปลี่ยนความสมดุลเกี่ยวกับน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายของผู้ใช้

คุณสมบัติ

ยาชนิดนี้ควรทานกับน้ำมาก ๆ

ยาระบายแบบกระตุ้น (stimulant laxative)

ยาระบายแบบกระตุ้นเป็นสารที่ออกฤทธิ์ที่เยื่อเมือกหรือข่ายประสาท (nerve plexus) ของลำไส้ เปลี่ยนแปลงการหลั่งน้ำและอิเล็กโทรไลต์[9]และยังกระตุ้นการบีบตัว (peristaltic) ของลำไส้ แต่อาจเป็นอันตรายภายใต้สถานการณ์บางอย่าง เช่นใช้เป็นระยะยาวซึ่งทำให้ปล้องลำไส้ (haustra) เปลี่ยนแปลงไปโดยคาดว่า เกิดความเสียหายต่อเซลล์ประสาทหรือกล้ามเนื้อ[10]

คุณสมบัติ

  • ตำแหน่งออกฤทธิ์: ลำไส้ใหญ่
  • เวลาเริ่มออกฤทธิ์: 6-10 ชม.
  • ตัวอย่าง: senna, bisacodyl[3]

นี่เป็นยาระบายที่มีฤทธิ์มากที่สุดและควรใช้อย่างระมัดระวังการใช้ยาระบายแบบกระตุ้นนาน ๆ อาจทำให้ติดยาเพราะทำปล้องลำไส้ใหญ่ (haustral fold) ให้เสียหาย ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนอุจจาระไปโดยไม่ใช้ยางานศึกษาหนึ่งในคนไข้ที่ท้องผูกเรื้อรังพบว่า ผู้ใช้ยาระบายแบบกระตุ้น 28% จะเสียปล้องลำไส้ไปในระยะเวลา 1 ปี ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่เสีย[11]

อื่น ๆ

น้ำมันละหุ่งเป็น glyceride ที่เอนไซม์จากตับอ่อนคือ pancreatic lipase จะสลายด้วยน้ำ (hydrolysis) ให้เป็นกรด ricinoleic ซึ่งมีฤทธิ์ระบายโดยยังไม่ทราบกลไก

คุณสมบัติ

  • ตำแหน่งออกฤทธิ์: ลำไส้ใหญ่
  • เวลาเริ่มออกฤทธิ์: 2-6 ชม.
  • ตัวอย่าง: น้ำมันละหุ่ง[3]

การใช้น้ำมันละหุ่งในระยะยาวอาจทำให้เสียน้ำ อิเล็กโทรไลต์ และสารอาหาร[3]

ตัวทำการต่อหน่วยรับเซโรโทนิน (serotonin agonist)

มีสารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้โดยก่อสภาพกัมมันต์ของหน่วยรับเซโรโทนิน (5-HT4 receptor) ของระบบประสาทลำไส้ (enteric nervous system) ภายในทางเดินอาหารแต่บางชนิดก็ได้เลิกใช้หรือจำกัดการใช้ เพราะโอกาสทำอันตรายต่อหัวใจหลอดเลือดโดยเป็นผลข้างเคียงtegaserod (ชื่อการค้า Zelnorm) ได้เลิกวางขายในตลาดทั่วไปในสหรัฐและแคนาดาในปี 2007 เนื่องจากมีรายงานว่าเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายและเส้นเลือดอุดตันในสมองแต่ก็ยังมีให้แพทย์ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือจำเป็นต้องใช้ในโรงพยาบาล[12]

prucalopride (ยี่ห้อ Resolor) เป็นยาที่ปัจจุบันอนุมัติให้ใช้ในสหภาพยุโรปท้ายปี 2009[13]และในแคนาดา (ยี่ห้อ Resotran) ท้ายปี 2011[14]แต่ก็ยังไม่ได้อนุมัติให้ใช้ในสหรัฐอเมริกา โดยยังอยู่ใต้การพัฒนาของบริษัท Shire plc[15]

สารก่อกัมมันต์ช่องคลอไรด์ (chloride channel activators)

lubiprostone เป็นยาที่ใช้รักษาท้องผูกเรื้อรังซึ่งไม่ทราบสาเหตุ (CIC) และกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS)โดยมีฤทธิ์ทำให้ลำไส้หลั่งน้ำที่สมบูรณ์ด้วยคลอไรด์ซึ่งทำอุจจาระให้นิ่ม เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ และโปรโหมตการขับถ่ายอุจจาระแบบเกิดเอง (SBM)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยาระบายอย่างอ่อน http://www.hc-sc.gc.ca/dhp-mps/prodpharma/sbd-smd/... http://www.fpnotebook.com/GI/Pharm/StmlntLxtv.htm http://journals.lww.com/jcge/Abstract/1998/06000/A... http://www.mayoclinic.com/health/drug-information/... http://www.medicinenet.com/top_foods_that_cause_co... http://www.uptodate.com/contents/acid-base-and-ele... http://www.emea.europa.eu/docs/en_GB/document_libr... http://www.cancer.gov/dictionary?CdrID=489403 http://www.fda.gov/Drugs/DrugSafety/PostmarketDrug... http://digestive.niddk.nih.gov/ddiseases/pubs/cons...