ทฤษฎีการอพยพ ของ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในมาเลเซีย

การอพยพตามแม่น้ำโขง

แม่น้ำโขงซึ่งยาว 4,180 กิโลเมตร เริ่มต้นผ่านทิเบต เข้าสู่ยูนนานในจีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามใต้ การอพยพของชาวมลายูดั้งเดิม เมื่อราว 10,000 ปีก่อน โดยการแล่นเรือตามแม่น้ำโขง จากยูนนาน ออกสู่ทะเลจีนใต้ แล้วตั้งหลักแหล่งตามที่ต่าง ๆ

ทฤษฎีการอพยพจากยูนนาน

ผู้ตั้งถิ่นฐานในยูนนานรุ่นแรก ๆ เป็นมนุษย์โฮโมอิเร็กตัสที่เรียกว่ามนุษย์ยวนมู ซึ่งขุดพบเมื่อราว พ.ศ. 2503 ฉินซื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ได้รวมรวบจีนเป็นปึกแผ่นและรวมยูนนานเข้าเป็นมณฑลหนึ่งของจีน เมื่อ พ.ศ. 322 กลุ่มชนในยูนนานเป็นบรรพบุรุษของชนที่กินข้าวเป็นอาหารหลัก มีวัฒนธรรมการทำนา ชื่อท้องถิ่นของคนลุ่มแม่น้ำโขงที่อยู่ในยูนนานคือสิบสองปันนาซึ่งเป็นชนเผ่าไท

ทฤษฎีที่ว่าชาวมลายูดั้งเดิมอพยพมาจากยูนนานเสนอโดยอาร์เอช เกลเดิร์น และคณะ ชาวมลายูดั้งเดิมมาถึงพร้อมด้วยทักษะทางการเกษตร และชาวมลายูรุ่นที่สองซึ่งเป็นเลือดผสมได้กระจายตัวไปตามแนวชายฝั่งและเพิ่มทักษะการประมง ระหว่างการอพยพ ทั้งสองกลุ่มแต่งงานกับคนในหมู่เกาะทางใต้ เช่นจากชวา และชาวพื้นเมือง เช่น นิกรีโตและเมลานีซอยด์ หลักฐานอื่นที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ได้แก่ เครื่องมือหินที่พบในคาบสมุทรมลายูคล้ายกับที่พบในเอเชียตอนกลาง เครื่องแต่งกายของชาวมลายูคล้ายกับชาวอัสสัม ภาษามลายูและภาษาเขมรมีความคล้ายคลึงกันเพราะชาวกัมพูชามีต้นกำเนิดจากลุ่มน้ำโขง

เกอดะฮ์และมะละกา

อาณาจักรเกอดะฮ์หรือกาดารัมได้รับการก่อตั้งโดยมหาราชาเดอร์บา ราชา จากเปอร์เซียเมื่อราว พ.ศ. 1173 และมีการกล่าวอ้างว่าสายเลือดของเชื้อพระวงศ์เกอดะฮ์มาจากอเล็กซานเดอร์มหาราช เซอจาระฮ์เมอลายู (วรรณกรรมมลายูเรื่องหนึ่ง) ก็กล่าวอ้างว่าเชื้อพระวงศ์เกอดะฮ์สืบเชื้อสายมาจากอเล็กซานเดอร์มหาราชเช่นกัน

มลายูเลือดผสม

การรวมกันของความเชื่อในศาสนาฮินดู-พุทธ ชาวอินโด-เปอร์เซียและพ่อค้าโดยเฉพาะจีนตอนใต้ คนเหล่านี้รวมกับชนพื้นเมืองและชาวมลายูดั้งเดิมกลายเป็นชาวมลายูเลือดผสมและกลายเป็นชาวมลายูในปัจจุบัน

ใกล้เคียง

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในไทย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในมาเลเซีย ยุคก่อนโรมาเนสก์ ยุคกลางตอนต้น ยุคกลาง ยุคกรีกโบราณ ยุคกลางตอนปลาย ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ ยุคการอพยพ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในมาเลเซีย http://www.cambodia-travel.com/khmer/inscription.h... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17161859 http://www.malaysia.or.kr/history.htm http://www.encyclopedia.com.my/volume4/contents.ht... http://www.encyclopedia.com.my/volume9/contents.ht... http://thestar.com.my/news/story.asp?file=/2012/4/... http://sejarahmalaysia.pnm.my/portalBI/detail.php?... //doi.org/10.1016%2Fj.jhevol.2006.08.011