สถาปัตยกรรม ของ ยุคเฮอัง

บ้านเรือนในสมัยเฮอัง

รูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในยุคนี้คือ สถาปัตยกรรมแบบชินเด็ง (寝殿造 Shinden-zukuri) หลักๆจะประกอบด้วยเรือนหลัก ( Shinden ) และเรือนต่อขยายด้านตะวันตกและตะวันออก เชื่อมกับเรือนหลักด้วยทางเดินที่มีหลังคาคลุม เรือนหลักจะหันหน้าไปทางทิใต้ซึ่งเป็นทิศมงคลตามคติแบบจีน เรือนทางทิศเหนือนั้นจะจัดให้เป็นที่พำนักของภรรยาหลวงเสมอ ดังนั้นในสมัยนั้นเรียกภรรยาหลวงว่า คิตะโนะคะตะ (北の方 Kita-no-kata - ผู้ที่อยู่ทางทิศเหนือ ) ด้านหน้าเป็นสวนที่ประกอบด้วยสระน้ำ เกาะ เนินเขาจำลอง และสะพาน มีกำแพงดินล้อมรอบหมู่คฤหาสน์ทั้งหมด หลังคานิยมมุงด้วยเปลือกสนที่ซ้อนกันเป็นชั้นหนามากกว่ากระเบื้อง เพราะกระเบื้องแบบจีนนั้นไม่เหมาะกันอากาศของญี่ปุ่น พื้นจะเป็นพื้นไม้กระดาน ไม่มีเสื่อวาง เรือนด้านตะวันออกส่วนใหญ่จะมีทางเดินยาวเชื่อมสู่เรือนตกปลา (釣殿 Tsuri-dono) ที่สร้างเหนือลำธารหรือสระน้ำ

เรือนแบบชินเด็งแต่ละหลัง สามารถแบ่งห้องได้ตั้งแต่ 4 ห้องถึง 9 ห้อง โดยใช้ฉาก หรือ ราวผ้าม่านเป็นเครื่องกั้นหองตามขนาดความต้องการใช้งาน ห้องที่มีข้างฝาและประตูมิดชิดมี 1 ห้องเรียกว่า โมะยะ สถาปัตยกรรมแบบชินเด็งนี้จะเย็นสบายในฤดูร้อน แต่ในฤดูหนาวจะหนาวเย็นมาก[3]