เปิดฉากรบ ของ ยุทธการที่อู่ฮั่น

ทหารจีนคณะชาติที่เมืองฮั่นโข่ว บันทึกภาพโดยโรเบิร์ต คาปา

การรบที่อู่ฮั่นเปิดฉากด้วยการโจมตีทางอากาศของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 เป็นที่รู้จักกันในนาม "การรบทางอากาศ 2.18" และจบลงด้วยกองทัพจีนที่ต่อต้านการโจมตี[19] ในวันที่ 24 มีนาคม สภาไดเอทของญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายการเกณฑ์ทหารแห่งชาติที่ได้รับอนุญาตระดมทุนสงครามไม่จำกัด ในฐานะส่วนหนึ่งของกฎหมายร่างพระราชบัญญัติการรับราชการแห่งชาติยังอนุญาตให้มีการเกณฑ์ทหาร เมื่อวันที่ 29 เมษายน กองทัพอากาศญี่ปุ่นได้เปิดตัวการโจมตีทางอากาศครั้งสำคัญต่อเมืองอู่ฮั่นเพื่อเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ[22][23] กองทัพจีนที่ได้คาดการณ์และวางแผนรับมือมาก่อนได้เตรียมการไว้อย่างดี การต่อสู้ครั้งนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม "การรบทางอากาศ 4.29" และเป็นหนึ่งในการต่อสู้ทางอากาศที่รุนแรงที่สุดของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

กองทหารญี่ปุ่นพร้อมรถถังเบาเคลื่อนกำลังเข้าอู่ฮั่น

หลังจากการเสียเมืองซูโจว ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938 ญี่ปุ่นวางแผนการบุกรุกอย่างกว้างขวางต่อเมืองฮันโข่วและหมายยึดอู่ฮั่น โดยตั้งใจจะทำลายกองทัพหลักของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน

ในทางกลับกันกองทัพจีนกำลังสร้างความพยายามในการป้องกันโดยการรวมทหารในพื้นที่อู่ฮั่นอย่างมหาศาล พวกเขายังตั้งแนวป้องกันในมณฑลเหอหนานเพื่อชะลอกองกำลังญี่ปุ่นที่มาจากซูโจว อย่างไรก็ตามเนื่องจากความแตกต่างในความแข็งแกร่งของกองกำลังจีนและญี่ปุ่นแนวป้องกันนี้จึงทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว

ในความพยายามที่จะชนะเวลามากขึ้นสำหรับการเตรียมการป้องกันอู่ฮั่น เพื่อถ่วงเวลาชะลอการรุกของญี่ปุ่น ฝ่ายจีนได้เปิดคันดินทำลายเขื่อนของแม่น้ำหวงในหัวหยูกังโควและเจิ้งโจว ในวันที่ 9 มิถุนายน ได้เกิดน้ำท่วมเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ที่รู้จักกันใน อุทกภัยแม่น้ำหวง ค.ศ. 1938 บังคับให้ญี่ปุ่นชะลอการโจมตีอู่ฮั่น อย่างไรก็ตามยังก่อให้เกิดการเสียชีวิตของพลเรือนจีนราว 500,000 ถึง 900,000 คน อีกทั้งทำให้เกิดน้ำท่วมหลายเมืองทางตอนเหนือของจีน[22]

ตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี

กองเรือลำเลียงพลข้ามแม่น้ำของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น

ในวันที่ 15 มิถุนายน ญี่ปุ่นได้ทำการยกพลขึ้นฝั่งและยึดเมืองอันชิ่ง ส่งสัญญาณการโจมตีของเมืองอู่ฮั่น บนฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซี เขตสงครามที่ 9 ของจีนมีกองทหารประจำการ 1 กองอยู่ทางตะวันตกของทะเลสาบโปหยาง ส่วนอีกกองทหารประจำการอยู่ที่จิ่วเจียง[24]

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน เรือลำเลียงพลกองกำลังญี่ปุ่นได้ทำการลงจอดและยกพลขึ้นฝั่งที่เมืองหม่าดางอย่างประหลาดใจในขณะที่กองกำลังหลักของญี่ปุ่น กองทัพที่ 11โจมตีไปตามชายฝั่งทางใต้ของแม่น้ำแยงซีหม่าดางตกอยู่การยึดครองญี่ปุ่นอย่างรวดเร็วซึ่งเปิดเส้นทางสู่จิ่วเจียง[25]

ฝ่ายจีนพยายามต่อต้านการรุกคืบของฝ่ายญี่ปุ่น แต่พวกเขาไม่สามารถผลักดันการยกพลขึ้นฝั่งของเรือลำเลียงพลกองพล 106 ของญี่ปุ่นไม่ให้ยึดครองจิ่วเจียงได้ ในวันที่ 26 จิ่วเจียงแตก[17] กองทหารนามิตะของญี่ปุ่นเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกไปตามแม่น้ำลงจอดทางตะวันออกเฉียงเหนือของรุ่ยชาง ในวันที่ 10 สิงหาคมและโจมตีเมือง กองกำลังป้องกันจีนคณะชาติหน่วยที่ 2 ได้รับการเสริมโดยกลุ่มกองทัพที่ 32 และในขั้นต้นสามารถหยุดการโจมตีของญี่ปุ่นได้ อย่างไรก็ตามเมื่อกองทหารญี่ปุ่นที่ 9 เข้าร่วมการต่อสู้ ฝ่ายจีนก็อ่อนกำลังลงและรุ่ยชางถูกยึดครองในวันที่ 24

กองพลที่ 9 ของญี่ปุ่นและกองทหารนามิตะยังคงเดินเลียบไปตามแม่น้ำอย่างต่อเนื่องขณะที่กองทหารญี่ปุ่นที่ 27 บุกเข้าโจมตีหลัวซีในเวลาเดียวกัน กองพลที่ 30 และ 18 ของจีนได้ทำการต่อต้านไปตามถนนรุ่ยชาง-หลัวซี และพื้นที่โดยรอบส่งผลให้การสู้รบยันกันเกินกว่าหนึ่งเดือนจนกระทั่งกองพลที่ 27 ของญี่ปุ่นได้ยึดหลัวซีในวันที่ 5 ตุลาคม กองกำลังญี่ปุ่นก็หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อยึดซินตันผู่ ในมณฑลหูเป่ย เมื่อวันที่ 18 และจากนั้นก็เคลื่อนกำลังพลไปที่ต้าจือ

ในขณะเดียวกันกองกำลังญี่ปุ่นอื่นๆ และกองเรือแม่น้ำสนับสนุนยังคงรุกคืบหน้าไปทางตะวันตกตามแม่น้ำแยงซีได้พบกับการต่อต้านจากกองทัพจีนที่ 31 ปกป้องและกองทัพกลุ่มที่ 32 ทางตะวันตกของรุ่ยชางได้ทำการปกป้องอย่างแข็งขัน เมื่อเมืองหม่าดางและภูเขาฝูจิน ทั้งคู่ตั้งอยู่ในเขตหยางซินของมณฑลหูเป่ย์ได้ถูกยึดครอง กองทัพจีนที่ 2 ได้ส่งกองทัพที่ 6, 56, 75 และ 98 พร้อมกับกองทัพกลุ่มที่ 30 ของเพื่อเสริมกำลังพลและป้องกันภูมิภาคมณฑลเจียงซี

การต่อสู้ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงวันที่ 22 ตุลาคม เมื่อจีนสูญเสียเมืองอื่นๆ ในเขตหยางซิน ต้าจือและหูเป่ย์ กองทหารญี่ปุ่นที่ 9 และกองทหารนามิตะกำลังเข้าใกล้อู่ชาง[26]

หวานเจียหลิง

ดูบทความหลักที่: ยุทธการหวานเจียหลิง

ในขณะที่กองทัพญี่ปุ่นโจมตีรุ่ยชาง, กองพล 106 ของญี่ปุ่นเคลื่อนกำลังไปตามทางรถไฟหนานซุน (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ หนานชาง-จิ่วเจียง) ทางด้านทิศใต้ แนวป้องกันของกองทัพจีนที่ 4, กลุ่มกองทัพที่ 8, และกลุ่มกองทัพที่ 29 นั้นขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่ได้เปรียบของหลูชานและทางเหนือของ เส้นทางรถไฟหนานซุนเพื่อต่อต้าน เป็นผลให้การโจมตีของญี่ปุ่นประสบความล้มเหลว ในวันที่ 20 สิงหาคม กองพลที่ 101 ของญี่ปุ่นข้ามทะเลสาบโปหยางจากภูมิภาคหูโข่วเพื่อเสริมกำลังกองพลที่ 106 ทำลายแนวป้องกันของกองทัพที่ 25 ของจีนและเข้ายึดเมืองซินจือ จากนั้นพวกเขาพยายามที่จะครอบครองภูมิภาคเต๋ออันและหนานชาง พร้อมกับกองพลที่ 106 เพื่อปกป้องปีกทางใต้ของกองทัพญี่ปุ่นซึ่งกำลังจะบุกเข้าสู่ทิศตะวันตก

เสวี่ย เยวี่ย,ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองพลแรกของจีนใช้กองทัพที่ 4, 29, 66, และ 74 เพื่อเชื่อมโยงกับกองทัพที่ 25 และต่อสู้กับญี่ปุ่นในการสู้รบรุนแรงที่หม่าดางและทางเหนือของเต๋ออัน เกิดการสู้รบยันไปมาระหว่างสองฝ่ายเป็นครั้งที่สอง

ในช่วงปลายเดือนกันยายนกองทหารของกองพลญี่ปุ่นที่ 106 ได้เข้ามาในเขตหวานเจียหลิง ทางตะวันตกของเต๋ออัน เสวี่ย เยวี่ยสั่งให้กองทัพจีนที่ 4, 66 และ 77 ขนาบข้างญี่ปุ่น กองพลที่ 27แห่งกองทัพญี่ปุ่นพยายามที่จะเสริมตำแหน่งแต่ถูกดักซุ่มโจมตีโดยกองทัพจีน 32 นำโดยชาง เจิ้น บนถนนไป๋ซุ่ย ทางตะวันตกของหวานเจียหลิง ในวันที่ 7 ตุลาคมกองทัพจีนได้ทำการโจมตีครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายเพื่อล้อมกองทัพญี่ปุ่น การต่อสู้ที่ดุเดือดดำเนินไปเป็นเวลาสามวันและการโจมตีของญี่ปุ่นทั้งหมดถูกจีนตอบโต้กลับได้สำเร็จ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม กองพลที่ 106 ของญี่ปุ่นรวมถึงกองพลที่ 9, 27, และ 101 ซึ่งได้ไปเสริมกำลัง 106 ได้รับบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก กองพันอาโอกิ, อิเคดะ คิจิมะ และทสึดะก็ถูกทำลายในวงล้อมของจีน เมื่อกองกำลังญี่ปุ่นในพื้นที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมการรบ เจ้าหน้าที่หลายร้อยคนถูกส่งไปยังพื้นที่ดังกล่าว จากสี่กองพลญี่ปุ่นที่เข้าร่วมการต่อสู้มีทหารญี่ปุ่นเพียง 1,500 นายที่รอดชีวิตออกมาจากการล้อม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า "ชัยชนะแห่งหวานเจียหลิง" โดยชาวจีน

หลังสงครามในปี ค.ศ. 2000 นักประวัติศาสตร์ทหารชาตินิยมญี่ปุ่นยอมรับความเสียหายหนักที่หน่วยกองพลที่ 9, 27, 101 และ 106 และหน่วยรองของพวกเขาได้รับความเสียหายระหว่างการต่อสู้ในหวานเจียหลิง ได้มีการเพิ่มจำนวนของสุสานสงครามที่เคารพบูชาทหารที่เสียชีวิตในศาลเจ้ายาซูกูนิและได้มีการทำพิธีบวงสรวงแบบศาสนาชินโตของญี่ปุ่น ซึ่งถูกมองเป็นการเชิดชูอาชญากรสงคราม รัฐบาลจักรวรรดิญี่ปุ่นไม่ยอมรับความเสียหายในช่วงสงครามเพื่อรักษาขวัญกำลังใจของประชาชนและความมั่นใจในความพยายามทำสงครามรุกรานจีนต่อไป

ตอนเหนือของแม่น้ำแยงซี

ในมณฑลซานตงภายใต้ซือโหย่วซานนำกำลังทหารและพลเรือน 1,000 นายเข้าทำสงครามใต้ดินตอบโต้การรุกรานของญี่ปุ่นและยึดเมืองจี่หนานคืนจากญี่ปุ่นและสามารถรักษาเมืองไว้สามวัน การทำสงครามใต้ดินของจีนต่อต้านญี่ปุ่นยังเกิดขึ้นในเมืองหยันไถ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ พื้นที่ทางตะวันออกของฉางโจว ตลอดทางจนถึง เซี่ยงไฮ้ถูกควบคุมโดยกองกำลังจีนอื่นที่สนับสนุนรัฐบาลจีนคณะชาตินำโดยไต้ หลี่ ใช้ยุทธวิธีการรบแบบใต้ดินในเขตชานเมืองของเซี่ยงไฮ้และชายฝั่งแม่น้ำหวงผู่ กองกำลังนี้ประกอบขึ้นจากสมาชิกของสมาคมลับของแก็งค์เขียว ซึ่งฆ่าสายลับและผู้ทรยศ พวกเขาสูญเสียมากกว่า 100 คนในระหว่างการปฏิบัติการของพวกเขา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม สมาชิกของกองกำลังนี้แอบเข้าไปทำการจารกรรมในฐานทัพอากาศญี่ปุ่นที่หงเฉียวและโบกยกธงชาติสาธารณรัฐจีนขึ้น สร้างความปั่นป่วนให้กองทัพญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก

แนวป้องกันจีนรอบๆชายฝั่งแม่น้ำแยงซีทหารจีนทำการรบที่ซินหยาง

ในขณะที่กลุ่มเหล่านี้มีความกระตือรือร้น อีกด้านหนึ่งกองพลที่ 6 ของญี่ปุ่นได้บุกฝ่าแนวป้องกันของกองทัพจีนที่ 31 และ 68 ในวันที่ 24 กรกฎาคมและเข้ายึดเขตไท่หู, ซูซง และ หวงเหมย์ ในวันที่ 3 สิงหาคม ในขณะที่ญี่ปุ่นยังคงเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก กองทัพจีนที่ 4 แห่งเขตสงครามที่ห้าได้นำกำลังหลักของพวกเขาในเมืองกวางจี หูเป่ยและเมืองเทียนเจียเพื่อสกัดกั้นการรุกรานของญี่ปุ่น กลุ่มกองทัพที่ 11 และกองทัพที่ 68 ได้รับคำสั่งให้จัดตั้งแนวป้องกันในมณฑลหวงเหม่ยในขณะที่กลุ่มกองทัพที่ 21 และ 29 เช่นเดียวกับกองทัพที่ 26 ย้ายไปทางใต้เพื่อขนาบข้างญี่ปุ่น

กองทัพจีนสามารถยึดไท่หูคืน ในวันที่ 27 สิงหาคมและ ได้เมืองซูซงกลับคืน ในวันที่ 28 สิงหาคม อย่างไรก็ตามด้วยการเสริมกำลังของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม กลุ่มกองทัพจีนที่ 11 และกองทัพที่ 68 ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการตอบโต้ญี่ปุ่นที่มีมากขึ้น พวกเขาถอยกลับไปยังกวางจี เพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นต่อไปพร้อมกับกองทัพจีนที่ 26, 55 และ 86 กลุ่มทัพที่ 4 ของจีนสั่งให้กองทหารที่ 21 และกลุ่มที่ 29 โจมตีกองทัพญี่ปุ่นจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของ หวงเหมย์ แต่พวกเขาไม่สามารถหยุดยั้งการบุกญี่ปุ่น กวางจีถูกญี่ปุ่นยึดในวันที่ 6 กันยายน ในวันที่ 8 กันยายน กวางจีได้รับการยึดคืนและฟื้นฟูจากกองพลที่ 4 ของจีน แต่อู่เสวี่ยกลับถูกญี่ปุ่นล้างเมืองไปในวันเดียวกันนั้น

จากนั้นกองทัพญี่ปุ่นก็เข้าล้อมป้อมปราการเมืองเทียนเจีย กองพลที่ 4 ของจีนส่งกองทัพที่ 2 ไปเสริมทัพกองทัพที่ 87 และกองทัพที่ 26, 48, และ 86 เพื่อพยายามขนาบข้างญี่ปุ่นอีกครั้ง อย่างไรก็ตามพวกเขากลับถูกตอบโต้และได้รับเสียหายจำนวนมากจากการต่อสู้ของกองทัพญี่ปุ่นซึ่งมีอาวุธที่ดีกว่า ป้อมเมืองเทียนเจียถูกญี่ปุ่นยึดเมื่อวันที่ 29 และญี่ปุ่นยังคงโจมตีทางตะวันตก ญี่ปุ่นเข้ายึดหวางโปเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมและเปิดเส้นทางเข้าใกล้จะถึงฮันโข่ว

ภูเขาต้าเปี้ย

กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนพลเข้าใกล้บริเวณภูเขาต้าเปี้ย

ทางตอนเหนือของภูเขาต้าเปี้ย กองทัพจีนกลุ่มที่ 3 ของเขตสงครามที่ห้าประจำการกลุ่มทหารที่ 19 และ 51 และกองทัพที่ 77 ในหลี่อวนและหัวชานในอันชิ่ง กองทัพที่ 71 ได้รับมอบหมายให้ปกป้องภูเขาฝูจินและ ภูมิภาคกู่ชือในมณฑลเหอหนาน กองทัพกลุ่มที่ 2 ของจีนประจำการอยู่ในชางเฉิง, เหอหนานและหม่าเฉิง, หูเป่ย์ กลุ่มกองทัพจีนที่ 27 และกองทัพที่ 59 ประจำการในภูมิภาคแม่น้ำเหลืองและกองทัพที่ 17 ถูกเรียกไปประจำการภูมิภาคซินหยางเพื่อจัดระเบียบแนวป้องกัน

ญี่ปุ่นได้เริ่มเข้าโจมตีเมื่อปลายเดือนสิงหาคมโดยกองทัพที่ 2 เดินทัพจากเหอเฟย์ ในสองเส้นทางที่แตกต่างกัน ส่วนกองพลที่ 13 บนเส้นทางสายใต้ฝ่าแนวป้องกันของกองทัพจีนที่ 77 และเข้ายึดเมืองหัวชาน จากนั้นก็เคลื่อนเป้าหมายไปทางเย่เจียจี

กองทัพ 71 แห่งจีนที่อยู่ใกล้เคียงและกองทัพกลุ่มที่ 2 ใช้ประโยชน์จากตำแหน่งที่มีอยู่เพื่อต่อต้านการโจมตีของญี่ปุ่น กองพลที่ 16 จึงถูกเรียกให้เข้ามาเสริมทัพ วันที่ 16 กันยายนกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดชางเฉิง กองทัพจีนล่าถอยห่างออกไปทางใต้ของเมืองโดยใช้ฐานที่มั่นเชิงกลยุทธ์ในเทือกเขาต้าเปี้ย เพื่อดำเนินการต่อต้าน วันที่ 24 ตุลาคม ญี่ปุ่นเข้ายึดครองหม่าเฉิง กองพลที่ 10 ของญี่ปุ่นเป็นกำลังหลักในเส้นทางภาคเหนือ พวกเขาฝ่าแนวป้องกันของกองทัพจีนที่ 51 และเข้ายึดหลี่อวนเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ในวันที่ 6 กันยายนพวกเขาก็ยึดกู่ชือและเดินทัพต่อไปทางตะวันตก

กลุ่มกองทัพจีนที่ 27 และกองทัพที่ 59 รวมตัวกันในภูมิภาคแม่น้ำเหลืองเพื่อต่อต้าน หลังจากผ่านไปสิบวันของการต่อสู้ที่ดุเดือดกองทัพญี่ปุ่นก็ข้ามสามารถแม่น้ำเหลืองในวันที่ 19 กันยายน ในวันที่ 21 เดือนเดียวกัน กองพลที่ 10 ของญี่ปุ่นได้เอาชนะกองทัพกลุ่มที่ 17 ของจีนและกองทัพที่ 45 และเข้าทำลายล้างเมืองหลูซาน จากนั้นกองพลที่ 10 ก็ยังคงเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก แต่พบกับการตอบโต้ของจีนทางตะวันออกของ ซินหยางทำให้ถูกบังคับให้ถอนตัวกลับสู่หลูซาน

กองทัพญี่ปุ่นกลุ่มที่ 2 สั่งให้กองพลที่ 3 ให้ความช่วยเหลือในกองพลที่ 10 ในการยึดซินหยาง ในวันที่ 6 ตุลาคม กองพลที่ 3 วนกลับไปบุกเมืองซินหยางและยึดสถานีหลิวหลินของเส้นทางรถไฟผิงฮั่น ในวันที่ 12 กองทัพญี่ปุ่นที่ 2 เข้ายึดซินหยางและเคลื่อนทัพย้ายไปทางใต้ของเส้นทางรถไฟผิงฮั่น เพื่อโจมตีอู่ฮั่นพร้อมกับกองทัพที่ 11

การสู้รบที่กว่างโจว

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่วอเตอร์ลู

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยุทธการที่อู่ฮั่น http://www.combinedfleet.com/Yangtze_t.htm http://english.sina.com/china/1/2005/0805/41221.ht... http://www.todayonhistory.com/lishi/201608/47676.h... http://ibiblio.org/hyperwar/Japan/Monos/pdfs/JM-70... https://www.chinadaily.com.cn/world/China-Japan-Re... https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1363960 https://ww2db.com/battle_spec.php?battle_id=176 https://www.youtube.com/watch?v=44RoK_4qAcQ https://www.weblio.jp/wkpja/content/%E6%97%A5%E4%B...