เบื้องหลัง ของ ยุทธการที่อู่ฮั่น

ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เริ่มเปิดฉากการรุกรานจีนอย่างเต็มรูปแบบ ตามมาด้วยเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล ทั้งเมืองเป่ย์ผิงและเทียนสิน ตกไปอยู่ในกำมือญี่ปุ่นในวันที่ 30 กรกฎาคม หลังยุทธการที่เป่ย์ผิง–เทียนสิน, เปิดช่องส่วนที่เหลือของที่ราบภาคเหนือของจีนให้อยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการถูกโจมตี[12] เพื่อขัดขวางแผนการบุกรุกของญี่ปุ่น รัฐบาลจีนคณะชาติจึงตัดสินใจวางแผนหลอกล่อให้กองทัพญี่ปุ่นติดกับดักที่วางไว้ในเซี่ยงไฮ้เป็นการเปิดแนวรบครั้งที่สอง การต่อสู้ดำเนินไปตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคมถึง 12 พฤศจิกายนโดยชาวจีนได้รับบาดเจ็บสูญเสียจำนวนมากรวมถึง "ร้อยละ 70 ของนายทหารหนุ่มของเจียงไคเชกชั้นยอดที่ได้รับการฝึกจากเยอรมัน"[13] หลังจากเมืองเซี่ยงไฮ้ถูกยึด กรุงหนานจิง ที่เป็นที่ตั้งเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีน ที่ทำการจีนคณะชาติ ถูกคุกคามโดยตรงจากกองทัพญี่ปุ่น จีนคณะชาติจึงถูกบังคับให้ประกาศเมืองหลวงในฐานะเมืองเปิด ในขณะที่เริ่มกระบวนการย้ายเมืองหลวงเพื่อหนีการรุกรานของญี่ปุ่นไปที่ฉงชิ่งแทน

ด้วยการล่มสลายของสามเมืองใหญ่ของจีน (อันได้แก่เมือง เป่ย์ผิง (ปักกิ่ง), เทียนสิน (เทียนจิน), และเซี่ยงไฮ้) ได้มีผู้ลี้ภัยหนีสงครามจำนวนมากหนีการสู้รบ นอกเหนือไปจากสิ่งอำนวยความสะดวกของรัฐบาลและเสบียงสงครามที่ต้องย้ายไปยังฉงชิ่ง เนื่องจากความบกพร่องในการขนส่ง รัฐบาลไม่สามารถขนย้ายทรัพย์สินและผู้คนให้เสร็จสมบูรณ์ได้ เมืองอู่ฮั่นจึงกลายเป็น"เมืองหลวงสงคราม"โดยพฤตินัย" ของสาธารณรัฐจีน เนื่องจากเมืองมีรากฐานทางเศรษฐกิจเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งไว้รองรับผู้อพยพ[14] ด้วยความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตช่วยจัดหาทรัพยากรทางทหารและทางเทคนิคเพิ่มเติมรวมถึงกลุ่มอาสาสมัครของสหภาพโซเวียต

ในฝั่งญี่ปุ่นกองกำลังของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นถูกระบายออกเนื่องจากการปฏิบัติการทางทหารจำนวนมากและมีการขยายขอบเขตตั้งแต่เริ่มการรุกราน ญี่ปุ่นเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนกำลังทหารที่จะควบคุมดินแดนที่ยึดในจีน การเสริมกำลังทหารจึงจำเป็นที่จะต้องถูกส่งไปเพื่อเสริมกำลังในพื้นที่ แต่สิ่งนี้ทำให้เกิดความตึงเครียดอย่างมากต่อเศรษฐกิจและสันติภาพของญี่ปุ่น ทำให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเจ้าชายฟูมิมาโระ โคโนเอะทรงรวบรวมคณะรัฐมนตรีของพระองค์เพื่อหารือประชุม ในปี ค.ศ. 1938 รวมทั้งมีการออกกฎหมายการเกณฑ์ทหารแห่งชาติเป็นผลให้ญี่ปุ่นต้องเกณฑ์ทหารไปรบในจีนเพิ่มขึ้น ในวันที่ 5 พฤษภาคมปีเดียวกันทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจในช่วงสงคราม[15]

แม้ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในช่วงสงคราม แต่ก็ชะลอการสูญเสียการเงินในคลังของประเทศ อีกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่ยั่งยืนในระยะยาวเนื่องจากต้นทุนในการบำรุงรักษาทหารที่สามารถรับมือกับสหภาพโซเวียตในความขัดแย้งชายแดนของญี่ปุ่นในประเทศแมนจูซึ่งเป็นดินแดนยึดครองของญี่ปุ่นที่มีพรมแดนติดกับสหภาพโซเวียต

รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องการบังคับให้ชาวจีนยอมแพ้อย่างรวดเร็วเพื่อรวบรวมทรัพยากรเพื่อดำเนินการต่อไปด้วยการตัดสินใจของพวกเขาในแผนการ โฮะกุชินรน (แผนการบุกขึ้นเหนือบุกโจมตีสหภาพโซเวียต) และแผนการนันชินรน (แผนการบุกโจมตียึดครองประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) สำหรับผู้บัญชาการญี่ปุ่นมีการคาดการณ์และประเมินแล้วว่า จีนจะไม่สามารถต้านทานการรุกของญี่ปุ่นได้อีกและการต่อต้านของจีนควรจะยุติลงที่อู่ฮั่น[15]

ความสำคัญของเมืองอู่ฮั่น

บริเวณที่เกิดการรบในยุทธการอู่ฮั่น บริเวณมณฑลหูเป่ย์เขตปกครองของสาธารณรัฐจีน (สีแดง)

อู่ฮั่น, ตั้งอยู่ครึ่งทางต้นน้ำของแม่น้ำแยงซีเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของจีนมีประชากร 1.5 ล้านคนในปลายปี ค.ศ. 1938[16] แม่น้ำแยงซีและแม่น้ำฮันชุยได้ไหลผ่านแบ่งเมืองเป็นสามเขตได้แก่ อู่ชาง, ฮั่นโข่วและฮั่นหยาง อู่ชางเป็นศูนย์กลางทางการ เมืองฮันโข่วเป็นย่านการค้าและฮันยางเป็นเขตอุตสาหกรรม หลังจากเสร็จสิ้นการสร้างเส้นทางรถไฟเยว่ฮัน ความสำคัญของอู่ฮั่นในฐานะศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญในกิจการภายในของจีนได้รับการจัดตั้งขึ้น มันยังทำหน้าที่เป็นจุดผ่านแดนที่สำคัญสำหรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่ย้ายเข้ามาจากท่าเรือทางใต้[17]

หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ยึดครองเมืองหนานจิง หน่วยงานรัฐบาลจีนคณะชาติและกองบัญชาการกองทัพได้หนีไปตั้งอยู่ในอู่ฮั่นแม้จะมีความจริงที่ว่าเมืองหลวงถูกย้ายไปยังฉงชิ่ง อู่ฮั่นจึงกลายเป็นเมืองหลวงแห่งสงครามอย่างแท้จริงเมื่อเริ่มภารกิจในอู่ฮั่น ความพยายามทำสงครามของจีนจึงมุ่งเน้นไปที่การปกป้องอู่ฮั่นจากการครอบครองโดยญี่ปุ่นจักรวรรดิญี่ปุ่นและศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพญี่ปุ่นประจำจีนต่างคาดหวังว่าเมืองอู่ฮั่นจะล่มสลายพร้อมด้วยการยอมแพ้ของชาวจีน "ภายในหนึ่งหรือสองเดือน".[18]

จอมทัพเจียงไคเชกไปให้กำลังใจทหารในแนวหน้าที่อู่ฮั่นด้วยตนเอง

การเตรียมการรบ

การระดมพลขนาดใหญ่ของกองทัพจีนในเมืองอู่ฮั่นเพื่อเตรียมป้องกันเมือง

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1937 คณะกรรมการกิจการทหารถูกตั้งขึ้นเพื่อกำหนดแผนการต่อสู้เพื่อป้องกันอู่ฮั่น[19] หลังจากการ การเสียเมืองซูโจว ทหารประมาณ 1.1 ล้านนายหรือราว 120 กองพลของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนถูกปรับใช้ซ้ำ[20] คณะกรรมาธิการตัดสินใจจัดระบบป้องกันรอบๆ ภูเขาต้าเปี้ย, ทะเลสาบโปหยาง และแม่น้ำแยงซี เพื่อต่อต้านทหารฝ่ายญี่ปุ่น 200,000 นายหรือราว 20 กองพลของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ผู้บัญชาการจีนหลี่ ซงเหริน และไป๋ ฉงซี เขตสงครามที่ห้าได้รับมอบหมายให้ปกป้องทางตอนเหนือของแม่น้ำแยงซีในขณะที่เฉิน เฉิงแห่งเขตสงครามเก้าได้รับมอบหมายให้ปกป้องทางทิศใต้ เขตสงครามครั้งที่ 1 ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเจิ้งโจว-ซินหยาง ในส่วนของเส้นทางรถไฟผิงฮันได้รับมอบหมายให้หยุดกองกำลังญี่ปุ่นที่มาจากที่ราบทางตอนเหนือของจีน ในที่สุดกองทัพจีนในเขตสงครามที่สามตั้งอยู่ระหว่างอู่หู, อันชิ่งและหนานชางได้รับมอบหมายให้คุ้มครองเส้นทางรถไฟเยว่ฮัน[21]

หลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองซูโจวในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938 พวกเขาพยายามที่จะขยายแนวของการบุกรุก กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะส่งทัพไปยึดเมืองอันชิ่งก่อนเพื่อใช้เป็นฐานในการโจมตีอู่ฮั่น จากนั้นเป็นกำลังหลักในการโจมตีพื้นที่ทางตอนเหนือของเทือกเขาต้าเปี้ยซึ่งเคลื่อนที่ไปตามแม่น้ำฮวย ในท้ายที่สุดก็ครอบครองอู่ฮั่นโดยผ่าน ช่องเขาอู่เฉิง หลังจากนั้นออกไปอีกจะย้ายไปทางทิศตะวันตกตามแม่น้ำแยงซี อย่างไรก็ตามเนื่องจากอุทกภัยแม่น้ำหวง กองทัพญี่ปุ่นถูกบังคับให้ละทิ้งแผนการโจมตีตามแนวแม่น้ำฮวยและตัดสินใจโจมตีตามฝั่งแม่น้ำแยงซีทั้งสองฝั่งแทน ในวันที่ 4 พฤษภาคมผู้บัญชาการกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ชุนโรกุ ฮาตะได้จัดทหารประมาณ 350,000 นายใน กองทัพที่ 2และกองทัพที่ 11 สำหรับการต่อสู้ในและรอบๆ อู่ฮั่น ภายใต้เขา นายพลยะสุจิ โอคามูระ บัญชาการ 5 กองพลและกว่าครึ่งของทั้งหมดของกองทัพที่ 11 ไปตามฝั่งแม่น้ำแยงซีในการโจมตีหลักที่เมืองอู่ฮั่นในขณะที่ เจ้าชายนารูฮิโกะ เจ้าฮิงาชิกูนิทรงบัญชาการ 4 และจำนวนครึ่งกองพลของกองทัพที่ 2 ทางตอนเหนือของเทือกเขาต้าเปี้ยเพื่อช่วยสนับสนุนในการโจมตี กองทัพเหล่านี้ถูกเสริมโดยเรือ 120 ลำของกองเรือที่ 3แห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นภายใต้พลเรือโคจิโร่ โออิคาวะ และเครื่องบินมากกว่า 500 ลำของกองกำลังพิเศษทางอากาศกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น รวมถึงกองทัพญี่ปุ่น 5 กองพลจากกองทัพประจำจีนตอนกลางเพื่อป้องกันพื้นที่ในและรอบๆ เซี่ยงไฮ้, ปักกิ่ง,หางโจวและเมืองสำคัญอื่นๆ จึงช่วยปกป้องกองทัพญี่ปุ่นในแนวหลังและเตรียมพร้อมสำหรับการรบ[21]

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่วอเตอร์ลู

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยุทธการที่อู่ฮั่น http://www.combinedfleet.com/Yangtze_t.htm http://english.sina.com/china/1/2005/0805/41221.ht... http://www.todayonhistory.com/lishi/201608/47676.h... http://ibiblio.org/hyperwar/Japan/Monos/pdfs/JM-70... https://www.chinadaily.com.cn/world/China-Japan-Re... https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1363960 https://ww2db.com/battle_spec.php?battle_id=176 https://www.youtube.com/watch?v=44RoK_4qAcQ https://www.weblio.jp/wkpja/content/%E6%97%A5%E4%B...