ยุทธการที่เดิงแกร์ก
ยุทธการที่เดิงแกร์ก

ยุทธการที่เดิงแกร์ก

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งยุทธการที่เดิงแกร์ก เป็นปฏิบัติการทางทหารซึ่งเกิดที่เดิงแกร์ก (ดันเคิร์ก) ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การยุทธ์นี้ต่อสู้กันระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับนาซีเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของยุทธการที่ฝรั่งเศสบนแนวรบด้านตะวันตก ยุทธการที่เดิงแกร์กเป็นการป้องกันและอพยพทหารบริติชและฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรประหว่างวันที่ 26 พฤษภาคมถึง 4 มิถุนายน 1940หลังสงครามลวง ยุทธการที่ฝรั่งเศสเริ่มอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 ทางทิศตะวันตก กองทัพเยอรมันกลุ่มบีบุกครองประเทศเนเธอร์แลนด์และบุกไปทางทิศตะวันตก ผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร พลเอกฝรั่งเศสมอริส กาเมอแล็ง เริ่ม "แผนดีล" และเข้าประเทศเบลเยียมเพื่อประจัญบานกับฝ่ายเยอรมันในประเทศเนเธอร์แลนด์ แผนดังกล่าวต้องพึ่งพาป้อมทหารบนเส้นมาฌีโนตามชายแดนเยอรมัน–ฝรั่งเศสอย่างมาก แต่กองทัพเยอรมันข้ามแนวดังกล่าวมาแล้วผ่านประเทศเนเธอร์แลนด์ส่วนใหญ่ก่อนกองทัพฝรั่งเศสมาถึง เกมลินจึงส่งกำลังภายใต้บังคับบัญชาของเขา ได้แก่ กองทัพสนามยานเกราะ (mechanized army) สามกอง คือ กองทัพที่ 1 ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และกำลังรบนอกประเทศบริเตน (British Expeditionary Force) ไปแม่น้ำดีล (Dyle) วันที่ 14 พฤษภาคม กองทัพเยอรมันกลุมเอทะลวงผ่านป่าอาร์เดนและบุกไปทางทิศตะวันตกอย่างรวดเร็วสู่เซอด็อง (Sedan) แล้วหันขึ้นเหนือสู่ช่องแคบอังกฤษ การนี้จอมพลเอริช ฟ็อน มันชไตน์ เรียกว่า "เกี่ยวออก" (หรือเรียก "แผนเหลือง" หรือแผนมันชไตน์) ซึ่งเป็นการโอบทัพฝ่ายสัมพันธมิตรการตีโต้ตอบหลายครั้งของฝ่ายสัมพันธมิตร รวมทั้งยุทธการที่อารัส (Arras) ไม่สามารถหยุดยั้งหัวหอกของเยอรมนีได้ ซึ่งไปถึงชายฝั่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม แยกกองทหารบริติชใกล้กับอาร์ม็องเตียร์ (Armentières) กองทัพที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และกองทัพเบลเยียมที่อยู่เหนือขึ้นไปจากกำลังฝรั่งเศสส่วนใหญ่ที่อยู่ทางใต้ของการบุกทะลวงของเยอรมนี เมื่อถึงช่องแคบแล้ว กำลังเยอรมันกวาดไปทางเหนือตามชายฝั่ง คุกคามที่จะยึดท่าและดักกองทัพบริติชและฝรั่งเศสก่อนที่จะสามารถอพยพไปบริเตนฝ่ายเยอรมันหยุดการบุกเข้าเดิงแกร์กซึ่งเป็นการตัดสินใจที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดครั้งหนึ่งของสงคราม สิ่งที่เรียกว่า "คำสั่งหยุด" นั้นมิได้มาจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ซึ่งขัดต่อความเชื่อของมหาชน จอมพลแกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท และกึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ เสนอว่ากองทัพเยอรมันรอบวงล้อมเดิงแกร์กควรหยุดการบุกเข้าท่าและสะสมกำลังเพื่อเลี่ยงการตีฝ่าของฝ่ายสัมพันธมิตร ฮิตเลอร์อนุมัติคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 24 พฤษภาคมด้วยการสนับสนุนของกองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพหยุดเป็นเวลาสามวันซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีเวลาเพียงพอสำหรับจัดระเบียบการอพยพเดิงแกร์กและตั้งแนวป้องกัน แม้ว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะประเมินสถานการณ์ดังกล่าวไว้อย่างเลวร้าย โดยบริเตนถึงขั้นอภิปรายกันเรื่องยอมจำนนแบบมีเงื่อนไขต่อเยอรมนี ในบั้นปลายทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับการช่วยเหลือกว่า 330,000 นาย

ยุทธการที่เดิงแกร์ก

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่26 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 1940
สถานที่เดิงแกร์ก ประเทศฝรั่งเศส
ผลลัพธ์กำลังฝ่ายสัมพันธมิตรถอยร่นออกจากยุโรปภาคพื้นทวีปไปยังเกาะบริเตนใหญ่
สถานที่ เดิงแกร์ก ประเทศฝรั่งเศส
ผลลัพธ์ กำลังฝ่ายสัมพันธมิตรถอยร่นออกจากยุโรปภาคพื้นทวีปไปยังเกาะบริเตนใหญ่
วันที่ 26 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 1940

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่วอเตอร์ลู