คำสั่งหยุด ของ ยุทธการที่เดิงแกร์ก

วันที่ 24 พฤษภาคม ฮิตเลอร์เยี่ยมสำนักงานใหญ่ของพลเอก ฟ็อน รุนท์ชเต็ท ที่ชาร์เลอวีล (Charleville) คิดกันว่าภูมิประเทศรอบเดิงแกร์กไม่เหมาะสำหรับยานเกราะ ฟ็อน รุนท์ชเต็ทแนะเขาว่าทหารราบควรเข้าตีกองทัพบริติชที่อารัส ที่ซึ่งฝ่ายบริติชพิสูจน์ว่าสามารถปฏิบัติการสำคัญได้ ขณะที่ยานเกราะของไคลสท์ตรึงแนวทางทิศตะวันตกและใต้ของเดิงแกร์กเพื่อยกเข้าทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังล่าถอยก่อนกองทัพกลุ่มบี ฮิตเลอร์ซึ่งคุ้นเคยกับที่ลุ่มชื้นแฉะของแฟลนเดอส์มาแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็เห็นชอบด้วย คำสั่งนี้ทำให้ฝ่ายเยอรมันเสริมความมั่นคงของดินแดนที่ยึดได้และตระเตรียมบุกลงใต้ต่อกองทัพฝรั่งเศสที่เหลือ

ผู้บัญชาการลุฟท์วัฟเฟอ แฮร์มันน์ เกอริงขอโอกาสทำลายกองทัพในเดิงแกร์ก ฉะนั้นการทำลายกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรทีแรกจึงถูกมอบหมายให้แก่ลุฟท์วัฟเฟอระหว่างที่ทหารราบเยอรมันจัดระเบียบในกองทัพกลุ่มบี ฟ็อน รุนท์ชเต็ทภายหลังเรียกการนี้ว่า "จุดพลิกผันยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งของสงคราม"[5][6][7][8]

เหตุผลที่แท้จริงสำหรับการตัดสินใจหยุดยานเกราะเยอรมันเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทฤษฎีหนึ่งว่าฟ็อน รุนท์ชเต็ทและฮิตเลอร์ตกลงรักษายานเกราะไว้สำหรับฟัลรอท (Fall Rot) ซึ่งเป็นปฏิบัติการสำหรับทางใต้ เป็นไปได้ว่าความสัมพันธ์ของกองทัพอากาศที่ใกล้ชิดกับพรรคนาซีมากกว่ากองทัพบกมีส่วนให้ฮิตเลอร์อนุมัติคำขอของเกอริง อีกทฤษฎีหนึ่งซึ่งนักประวัติศาสตร์ส่วนน้อยยอมรับ มีว่า ฮิตเลอร์กำลังพยายามสถาปนาสันติภาพทางทูตกับบริเตนก่อนปฏิบัติการบาร์บารอสซา (การบุกครองสหภาพโซเวียต) แม้ว่าหลังสงครามฟ็อน รุนท์ชเต็ทตั้งข้อสงสัยว่าฮิตเลอร์ต้องการ "ช่วยพวกบริติช" โดยยึดการยกย่องจักรวรรดิบริติชระหว่างการเยี่ยมสำนักงานใหญ่ของเขาตามอ้าง แต่มีหลักฐานเล็กน้อยว่าฮิตเลอร์ต้องการปล่อยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรหนีได้นอกจากถ้อยแถลงยกเว้นความรับผิดต่อตนเองของฮิตเลอร์เองในปี 1945[6][8][9] นักประวัติศาสตร์ ไบรอัน บอนด์ เขียนว่า

ปัจจุบันมีนักประวัติศาสตร์เพียงน้อยนิดยอมรับความคิดที่ว่า การที่ฮิตเลอร์ต้องการปล่อยทหารบริติชไปนั้น เกิดจากความหวังเล็กน้อยว่าต่อไปพวกเขาจะยอมรับสันติอย่างรอมชอม จริงอยู่ว่า พินัยกรรมทางการเมืองลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1945 ระบุว่าฮิตเลอร์เศร้าใจที่เชอร์ชิล "ไม่ค่อยจะมีสปิริตนักกีฬา" ทั้งที่ฮิตเลอร์อุตส่าห์ยกเว้นไม่ทำลายกองกำลังต่างแดนบริติชที่เดิงแกร์ก แต่คำกล่าวนี้ไม่สอดคล้องกับบันทึกร่วมสมัย คำสั่งหมายเลข 13 ซึ่งกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ออกในวันที่ 24 พฤษภาคม เรียกร้องเป็นพิเศษให้ทำลายล้างกำลังทหารฝรั่งเศส อังกฤษ และเบลเยียม ที่ตกอยู่ในวงล้อม ขณะที่ลุฟท์วัฟเฟอได้รับคำสั่งป้องกันไม่ให้กองทหารอังกฤษหนีข้ามช่องแคบไปได้[10]

ฮิตเลอร์ไม่ได้ยกเลิกคำสั่งหยุดจนกระทั่งถึงเย็นวันที่ 26 พฤษภาคม นับเป็นเวลาสามวันที่ราชนาวีอังกฤษได้หยุดพักหายใจ เพื่อที่จะจัดการอพยพทหารบริติชและฝ่ายสัมพันธมิตร ทหารราว 338,000 นายได้ถูกช่วยเหลือในเวลาประมาณ 11 วัน[11]

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่วอเตอร์ลู