เบื้องหลัง ของ ยุทธการที่เป่ย์ผิง–เทียนสิน

ระหว่างเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 กองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศจีน ได้เริ่มโจมตีกำแพงเมืองหว่านผิง (宛平鎮) หลังจากได้ยื่นคำขาดให้แก่ทางการจีนเพื่ออนุญาตให้กองกำลังของญี่ปุ่นเข้าเมืองหว่านผิง เพื่อค้นหาทหารที่ฝ่ายญี่ปุ่นอ้างว่าได้หายตัวไปในเมืองดังกล่าว

โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณจุดสะพานมาร์โก โปโล ที่ตั้งอยู่บนเส้นทางรถไฟสายหลักทางตะวันตกของกรุงเป่ย์ผิงและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์มาก ก่อนถึงเดือนกรกฎาคมปี 1937 กองทัพญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้กองทัพจีนที่ประจำบริเวณแห่งนี้ถอนกำลังออกไปซ้ำหลายครั้ง แต่ทางการจีนก็ตอบปฏิเสธทุกครั้ง

นายพลซ่ง จีหยวนแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน ได้สั่งกองทัพของเขาให้ตั้งมั่นป้องกันเมืองและพยายามหลีกเลี่ยงสงครามผ่านการเจรจาทางทูต

ในวันที่ 9 กรกฎาคม ญี่ปุ่นได้ทำการหยุดยิงและเสนอเงื่อนไขพักรบ เงื่อนไขหนึ่งคือ กองพลที่ 37 ของกองทัพจีน ซึ่งญี่ปุ่นตั้งข้อสงสัยว่ามีความเป็นปฏิปักษ์และปฏิบัติต่อตนในฐานะ "ศัตรู" จะต้องถูกแทนที่ด้วยอีกกองกำลังหนึ่งจากจีน ซึ่งก็คือ กองทัพประจำที่ 29 ทางการจีนเห็นว่าเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงสงคราม จึงยอมข้อเสนอของญี่ปุ่น เงื่อนไขนี้ถูกตกลงโดยจีนในวันเดียวกัน อย่างไรก็ตามตั้งแต่เที่ยงคืนของวันที่ 9 กรกฎาคม ซึ่งผ่านการตกลงสงบศึกเพียงชั่วครู่ ญี่ปุ่นกลับเป็นฝ่ายละเมิดฝ่าฝืนข้อตกลงหยุดยิงเสียเอง กองทัพญี่ปุ่นเริ่มระดมพลขึ้นและกำลังทหารญี่ปุ่นยังคงเพิ่มเข้าประชิดเมืองหว่านผิงอย่างต่อเนื่อง พลโททะนิชิโระ ทาชิโร่ ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศจีนล้มป่วยและเสียชีวิตในวันที่ 12 กรกฎาคมและถูกแทนที่ด้วยพลโทคิโยะชิ คัตสึกิ

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่บะดัร