ยุทธวิธีของทหารราบ ของ ยุทธวิธีแบบนโปเลียน

ทหารราบ จัดเป็นรากฐานของยุทธวิธีแบบนโปเลียนเนื่องจากเป็นประเภททหารที่มีกำลังพลมากที่สุดในการศึกสำคัญในยุโรประหว่างศตวรรษที่ 18–19 ยุทธวิธีแบบนโปเลียนหลายยุทธวิธีมีรากฐานมากจาก Ancien Regime royalist strategists เหมือน Jean-Baptiste de[2] โดยเน้น"ความยืนหยุนในการใช้ปืนใหญ่สนาม" และได้ "ละทิ้งการเคลื่อนขบวนแบบหน้ากระดาน (ซึ่งหน่วยรบจะมีอำนาจการยิงสูงสุด) โดยไปนิยมการโจมตีด้วยรูปขบวนแถวตอน”[3]

ทหารราบใช้ปืนนกสับคาบศิลาแบบลำกล้องเรียบ ซึ่งเป็นอาวุธมาตรฐานในยุคนโปเลียน โดยแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตั้งแต่ John Churchill, 1st Duke of Marlborough บัญชาการกองทัพอังกฤษในการรบ Battle of Blenheim ในปี 1704 สำหรับการยิงเป้าหมายที่มีขนาดตัวเท่ามนุษย์ปืนนกสับคาบศิลาจะมีระยะหวังผลใกล้เพียง 50 หลา ถึง 70 หลา ทหารที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีใช้เวลาในการยิงต่อนัดราว 15–20 วินาที จนกระทั่งดินปืน (ซึ่งในยุคนั้นเรียกว่า black powder เป็นดินปืนสมัยเก่า) พอกตัวหนาขึ้นในในลำกล้องและกลไกซึ่งอาวุธปืนจะต้องได้รับการล้างให้สะอาดก่อนจึงยิงต่อได้ซึ่งก็จะเสียเวลาเพิ่มเข้าไปอีก ปืนคาบศิลาของฝรั่งเศสในปี 1777 สามารถยิงได้ไกลถึง 100 หลา แต่ "จะหลุดเป้า 1 นัดเสมอทุกๆการยิง 6 นัด" [4]

โดยมาก ทหารในสนามรบยุคนโปเลียนมักจะถูกขู่บังคับให้อยู่ภายในพื้นที่การรบ เพื่อจะจัดการกับความโน้มเอียงไปสู่การปกป้องตนเองส่วนบุคคลและเพื่อที่จะทำให้อำนาจการยิงได้ประสิทธิภาพสูงสุด กองทหารราบจะสู้รบแบบยืนหน้ากระดานไหล่ชนไหล่ อย่างน้อย 2-3 หน้ากระดานซ้อนกัน และทำการยิงแบบพร้อมกันเป็นชุดๆ (Volley fire) นายทหารชั้นประทวนและสัญญาบัตรจะถือดาบหรือง้าว (ง้าวในที่นี้หมายถึงง้าวฝรั่ง เป็นขวานด้ามยาว) ซึ่งใช้ทำให้ทหารราบอยู่ในแถวยิง ถ้าทหารคนใดคนหนึ่งหลบเลี่ยงหน้าที่และหนีออกจากพื้นที่การรบ โดยปกติแต่ละกองทัพจะมีแถวทหารม้าซึ่งยืนตรวจตราอยู่แนวหลังคอยปลุกขวัญให้ทหารกลับเข้าสู่กองรบของตนเอง เพื่อช่วยในการควบคุมและบัญชาการทหารราบ ทหารแต่ละคนจะสวมเครื่องแบบทหารที่มีสีสันมองเห็นได้ชัดจากระยะไกลแม้ว่าจะมีม่านหมอกของควัญจากดินปืนลอยอยู่เหนือสนามรบก็ตาม นโปเลียนเองไม่เคยเลยที่จะละเลยความสำคัญของขวัญกำลังใจ มีครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "กำลังขวัญสำคัญกว่ากำลังพลในการเอาชนะข้าศึก" [5]

ทหารราบบนสนามรบ

การรบในยุคนโปเลียนเกิดขึ้นใน พื้นที่ราบ, หมู่บ้าน, ถนน และลำธาร กองทัพฝรั่งเศสมองว่า เมืองใหญ่, ภูเขา, พื้นที่หล่มโคลนเฉอะแฉะ และป่าทึบ ไม่ใช่พื้นที่ที่เหมาะสมในการต่อสู้ แม่ทัพ เช่น Duke of Wellington ในการรบ Battle of Waterloo มองหาภูมิประเทศที่เหมาะแก่การวางกำลัง โดยทั่วไปกองทหาราบจะใช้รูปขบวนรบ 3 แบบ ได้แก่ รูปขบวนแถวตอน, รูปขบวนแถวหน้ากระดาน และรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัส

รูปขบวนแบบแรก รู้จักกันในชื่อ รูปขบวนแถวตอน เนื่องจากรูปร่างเป็นแบบหน้าแคบแต่แถวลึก เหมาะสำหรับการเคลื่อนพลไปบนถนนหรือเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเข้าหาศัตรูบนพื้นที่แบบลานเปิด เนื่องจากรูปขบวนแถวตอนเป็นเป้าขนาดใหญ่ของปืนคาบศิลาและปืนใหญ่ โดยปกติกองทหารจะเปลี่ยนรูปขบวนเมื่อเข้าใกล้ศัตรู

รูปขบวนแบบที่สอง รู้จักกันในชื่อ รูปขบวนแถวหน้ากระดาน จัดวางรูปขบวนโดยใช้แนวหน้ากระดาน 2–3 แนววางซ้อนกัน ช่วยให้หน่วยมีจำนวนปืนในการยิงแต่ละชุดมากขึ้น ทำให้คุมพื้นที่สังหารในสนามรบได้กว้างกว่ารูปขบวนแถวตอน และทำให้หน่วยมีอำนาจการยิงสูงสุด หน้ากระดานยาวๆหลายหน้ากระดานพิสูจน์แล้วว่ายากต่อการรักษารูปขบวน เนื่องจากรูปขบวนต้องรวมตัวกันเป็นปืกแผ่นตลอดเวลาระหว่างการเคลื่อนขบวนในระยะไกลๆ แต่ในสนามรบมักจะมีสิ่งรบกวน เช่น คูน้ำ, รั้ว และต้นไม้ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยาก รูปขบวนแถวหน้ากระดานมักตกเป็นเหยื่อของการเข้าจู่โจมจากกองทหารม้าเนื่องจากทหารม้าสามารถเคลื่อนที่เข้าจู่โจมจากระยะ 50 หลาโดยรับความเสียหายจากการยิงโดยทหารราบเพียงชุดเดียว

รูปขบวนแบบที่สาม รู้จักในชื่อ รูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือกระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใช้แนวทหารซ้อนกันลึก 4–6 แนวโดยจัดให้มีรูปทรงจัตุรัสหรือผืนผ้าเพื่อป้องกันทหารราบจากการเข้าจู่โจมของของทหารม้า โดยเป้าหมายของรูปขบวนแบบนี้คือไม่ต้องการเปิดด้านหลังหรือด้านข้างของกองทหารราบให้กับกองทหารม้า หน่วยรบสามารถเคลื่อนที่ได้แม้จัดรูปขบวนแบบนี้ แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ารูปขบวนแบบนี้เคลื่อนที่ได้ช้ากว่ารูปขบวนแบบตอนลึกและอ่อนแอต่อการโจมตีด้วยปืนคาบศิลาและปืนใหญ่ ดังนั้น หากทหารราบของฝ่ายศัตรูดูจะเป็นภัยมากกว่ากองทหารม้า หน่วยรบจะเปลี่ยนจากรูปขบวนจัตุรัสเป็นรูปขบวนแถวหน้ากระดาน

รูปขบวนแบบที่สี่ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นรูปขบวนแบบพิเศษของกองทัพฝรั่งเศส คือ รูปขบวน l'ordre mixte (Mixed Order) เป็นการผสมรูปขบวนแถวหน้ากระดานกับแถวตอนเข้าด้วยกัน ใช้สำหรับผลักดันทหารราบข้าศึก รูปขบวนแบบนี้มี "น้ำหนัก" ของส่วนที่เป็นแถวตอนลึกเพื่อใช้ผลักดันและเจาะฝ่าแนวข้าศึก แต่ในขณะเดียวกันบางหมู่ในรูปขบวนก็จัดเป็นรูปขบวนแถวหน้ากระดานเพื่อชดเชยความอ่อนด้อยในอำนาจการยิงของรูปขบวนแถวตอนลึก [6] อย่างไรก็ดี รูปขบวนแบบนี้ถูกใช้งานน้อยมากๆ เพราะเป็นการผสมผสานที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นเท่าใดนัก เนื่องจากรูปขบวนแถวหน้ากระดานหรือรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัสมักให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

ทหารราบเบา (ทหารราบเคลื่อนที่เร็ว) โดยปกติจะประกอบขึ้นด้วยทหารที่มีความสูงน้อยกว่า 5 ฟุต 6 นิ้ว ซึ่งจะยืนล้ำออกไปข้างหน้ากองทหารของตนเองในระหว่างที่กองทหารของตนเองเคลื่อนที่เข้าหาศัตรู โดยมีหน้าที่คือคอยยิงประปรายใส่ข้าศึกด้วยปืนคาบศิลาเพื่อก่อกวนและพยายามขับไล่ทหารราบเบาของฝ่ายข้าศึกที่ส่งออกมาก่อกวนกองทหารของฝ่ายตนเองเช่นกัน ทหารราบเบาสู้แบบ Skirmisher แทนการสู้แบบยืนไหล่ชนไหล่ ซึ่งจะสร้างข้อได้เปรียบเนื่องจากมีที่ว่างระหว่างเพื่อนทหารไว้สำหรับเข้าที่กำบังเล็กๆในขณะที่เคลื่อนที่เข้าหาศัตรูพร้อมกับยิงไปบรรจุกระสุนไป ในท้ายที่สุด เมื่อ line infantry และ grenadier ของกองรบเดียวกับเหล่าทหารราบเบาตามมาทัน ทหารราบเบาก็จะกลับเข้าสู่แถวทหารถายในหน่วยของตน สำหรับ line infantry โดยปกติทหารจะมีความสูงอยู่ระหว่าง 5 ฟุต 6 นิ้ว ถึง 5 ฟุต 11 นิ้ว ซึ่งโดยทั่วไปจะเริ่มยิงชุดแรกที่ระยะห่างจากข้าศึกตั้งแต่ 100 หลา การเริ่มยิงชุดแรกมีความสำคัญมากเพราะทหารยังคงมองเห็นเป้าหมายได้ชัดเจนที่สุดทำให้มีโอกาศยิงโดนข้าศึกมากที่สุด เหล่าทหารที่สร้างความน่าสะพรึงกลัวมากที่สุดของกองรบคือ grenadier ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วทหารจะสูงอย่างน้อย 6 ฟุต โดยปกติจะสวมเครื่องประดับศีรษะ เช่น หนังหมี เพื่อทำให้ดูน่าเขย่าขวัญยิ่งขึ้น พวกเขามักจะจู่โจมเข้าตะลุมบอนหรือจู่โจมกลับเมื่อดูจากการต่อสู้แล้วเห็นว่าฝ่ายของตนค่อนข้างเพลี่ยงพล้ำและสิ้นหวัง หลังจากการยิงชุดแลกกันระหว่างหน่วยรบ นายทหารจะประเมินสถานการณ์และตัดสินใจว่าจังหวะใดเหมาะที่สุดที่จะสั่งให้จู่โจมเข้าตะลุมบอนด้วยดาบปลายปืน โดยหลังจากความเสียหายรุนแรงจากการยิงด้วยปืนคาบศิลาในระยะใกล้ ภาพของหน่วยทหารราบที่ยังดูสมบูรณ์และทะมัดทะแมงเคลื่อนตัวเข้ามาด้วยปืนคาบศิลาที่ติดดาบปลายปืนมักจะทำให้เสียขวัญเกินกว่าจะทนได้และมักจะแตกหนีไปในที่สุด As a result of this fear inspired by the shining metal of the bayonet a bayonet charge rarely ever caught much other than the bravest enemy infantry, before the remaining opposition either flees or routs.[7]

ใกล้เคียง

ยุทธวิธีทหารราบ ยุทธวิธีแบบนโปเลียน ยุทธวิธีทางทหาร ยุทธวิธีชนแล้วหนี ยุทธวิธีซุนจื่อ ยุทธการที่วุร์สเตอร์ ยุทธการวอร์เตอร์ลู ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธนาวีเกาะช้าง ยุทธหัตถี