ยุทธวิธีของปืนใหญ่สนาม ของ ยุทธวิธีแบบนโปเลียน

ยุคนโปเลียนจะเห็นการพัฒนาปืนใหญ่สนามเป็นจำนวนมาก ปืนใหญ่สนาม (มักจะรู้จักในชื่อ ปืนใหญ่เบา) เป็นรูปแบบปืนใหญ่ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ซึ่งใช้สนับสนุนกองทัพในสนามรบ ปืนเหล่านี้ถูกพัฒนาโดยมุ่งเน้นความสามารถด้าน การเคลื่อนพล, การเคลื่อนที่, ความแม่นยำในระยะไกล และความเร็ว [9] ปืนใหญ่ที่เคลื่อนที่ได้นี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ในสมัย Gustavus Adolphus แห่งสวีเด็นในช่วงสงครามสามสิบปี (1618-1648) [10] Adolphus ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บัญชาการคนแรกที่นำหน่วยปืนใหญ่เบาจำนวนมากเข่าสู่การสู้รบและจัดวางกำลังโดยสนธิกำลังกับหน่วยรบที่ใช้อาวุธประเภทอื่น [11] ในช่วงกลางศตวรรษที่สิบแปด ผู้บัญชาการจากหลากหลายชาติต่างก็มาถึงข้อสรุปที่ว่าปืนใหญ่เคลื่อนที่ได้ซึ่งสามารถติดตามไปเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งและไม่มีกองทัพใดจะมีประสิทธิภาพในการเพียงพอถ้าไม่มีปืนใหญ่เหล่านี้ [10] ความสำคัญของปืนใหญ่สนามมิได้ถูกจำกัดเพียงแค่ภายในระยะการยิงเท่านั้น แต่ปืนใหญ่สนามมีความสำคัญถึงขั้นเปลี่ยนสถานการณ์ภายในสนามรบได้เลย [12] หลังจากการปฏิรูปกองทัพซึ่งแบ่งกองทัพออกเป็นเหล่าๆ กองทัพฝรั่งเศสได้จัดตั้งรูปขบวนปืนใหญ่กึ่งอัตโนมัติโดยมีนายทหารปืนใหญ่เป็นผู้นำและประสานงาน รูปขบวนเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถ, กลยุทธ์ และอำนาจการโจมตีของปืนใหญ่สนามในสนามรบ[13] ในสมัยของนโปเลียน ปืนใหญ่สนามจะประกอบไปด้วย ปืนใหญ่เดินเท้า, ปืนใหญ่ม้าลาก และปืนใหญ่ภูเขา [10]

ปืนใหญ่ในสนามรบ

ปืนใหญ่สนามเป็นอาวุธที่ร้ายแรงที่สุดบนสนามรบในยุคนโปเลียน และการใช้งานพวกมันสามารถหยุดหน่วยรบของข้าศึกไม่ให้เคลื่อนที่ได้ [14] กระสุนปืนใหญ่ที่ทำจากโลหะตัน (รู้จักกันในชื่อ "กระสุนทรงกลม") เป็นกระสุนพื้นฐานของปืนใหญ่สนาม กระสุนแบบนี้มีประสิทธิภาพในในการต่อกรกับรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปขบวนแถวตอนลึกที่มีคนมากๆ เมื่อยิงในแนวที่เกือบจะขนานพื้นลูกกระสุนจะกระดอนพื้นไปเรื่อยๆเข้าสู่กองกำลังของข้าศึกซึ่งจะทะลุทะลวงและทำลายล้างตามแนววิถีกระสุน ที่สำคัญ กระสุนที่ถูกยิงออกหลังจากกระดอนเพียงไม่กี่ทีก็จะเริ่มหมุนและฉีกทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่มันกระทบ อย่าลืมว่า พลประจำปืนใหญ่สนามมักจะมองหาพื้นที่ที่เป็นพื้นแข็ง. เรียบ และเป็นพื้นที่เปิด [13] ในระยะที่ประชิดมากๆ ปืนใหญ่สามารถสามารถใช้ "กระป๋อง" (เช่น กระสุนที่เป็นกระป๋องซึ่งภายในบรรจุเม็ดโลหะเป็นลูกปราย) เพื่อทำลายศัตรู โดยพื้นฐานแล้ว การยิงกระป๋องเปรียบได้กับการยิงปืนลูกซองขนาดยักษ์เพื่อสลายกองกำลังที่เคลื่อนเข้ามา นโปเลียนใช้ความหลากหลายของกลยุทธ์เหล่านี้ในการบดขยี้เหล่าขบท Vendémiaire นอกเหนือจากปืนใหญ่ (canon) แล้ว ปืนใหญ่สนามที่สร้างขึ้นจากปืนครกและปืนประเภทอื่นๆก็ใช้กระสุนระเบิด (มักจะรู้จักในนาม "ระเบิดหุ้มเปลือก") กระสุนระเบิดมีกิตติศัพท์ในด้านความไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากกระสุนมักระเบิดเร็วเกินไปหรือไม่ก็ไม่ระเบิดเลยอยู่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ดี ในกรณีที่กระสุนระเบิดใส่เป้าหมายอย่างจัง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือความเสียหายอย่างยับเยินของเป้าหมาย โดยเฉพาะหากระเบิดใส่หน่วยทหารม้า [14]

ใกล้เคียง

ยุทธวิธีทหารราบ ยุทธวิธีแบบนโปเลียน ยุทธวิธีทางทหาร ยุทธวิธีชนแล้วหนี ยุทธวิธีซุนจื่อ ยุทธการที่วุร์สเตอร์ ยุทธการวอร์เตอร์ลู ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธนาวีเกาะช้าง ยุทธหัตถี