รูปแบบของโครงการ ของ รถไฟฟ้ามหานคร_สายสีส้ม

  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit) [1]
  • ทางวิ่ง ช่วงบางขุนนนท์ - คลองบ้านม้า จะเป็นเส้นทางใต้ดิน ส่วนใหญ่เป็นอุโมงค์คู่ตีขนานตลอดทาง ยกเว้นช่วงที่มีเนื้อที่จำกัดและมีประชาชนอาศัยหนาแน่นจะเป็นอุโมงค์เดี่ยวซ้อนกัน และช่วงคลองบ้านม้า - สุวินทวงศ์ จะเป็นเส้นทางยกระดับจากพื้นถนน ไล่ความสูงจากปลายอุโมงค์ที่สถานีคลองบ้านม้า มาจนถึงความสูงที่ 12-15 เมตรจากผิวถนนที่สถานีสัมมากร และไล่ขึ้นไปจนถึงความสูงปกติของโครงการที่ 17 เมตรจากผิวถนน[1]
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ[1]
  • ตัวรถใช้ระบบเดียวกันกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน เดินรถ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง[1] จำนวน 40 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน[1]

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

จะมีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่บนพื้นที่ขนาด 155 ไร่ บริเวณ รฟม. ถนนพระราม 9 (ติดกันกับที่ทำการของ สำนักสาขา 2 (รถไฟฟ้า) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นพื้นที่ร่วมกับของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีอาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) ที่สถานีมีนบุรี สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และสถานีคลองบ้านม้า [1]

สถานี

มีทั้งหมด 29 สถานี โดยสถานีใต้ดินยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูกั้นชานชาลาแบบเต็มความสูงทุกสถานี ออกแบบให้มีความคงทนแข็งแรงรองรับต่อการทรุดตัวของผิวดิน และรองรับต่อแรงสั่นสะเทือนหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวโดยไม่เกิดความเสียหายต่อโครงสร้าง ทางเข้าสถานีถูกออกแบบให้มีความสูงจากผิวดินประมาณ 1 เมตรเพื่อรองรับต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวัดจากสถิติความสูงที่สูงที่สุดของเหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด 22 สถานี (บางขุนนนท์ - คลองบ้านม้า) ส่วนสถานียกระดับมีความยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร มีประตูกั้นชานชาลาความสูงแบบ Half-Height ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด สถานีโดยรวมมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน มีทั้งหมด 7 สถานี (สัมมากร - แยกร่มเกล้า) ทุกสถานีออกแบบให้รองรับรถไฟฟ้าได้สูงสุด 6 ตู้ต่อสถานี ชานชาลามีทั้งรูปแบบชานชาลาเกาะกลาง และชานชาลาด้านข้าง สลับกันไปตามแต่ละพื้นที่[1]

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้ามหานคร_สายสีส้ม http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/651165 http://www.fs-yellow-brown-pink.com/brown.htm http://www.posttoday.com/biz/gov/403973 http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=617... http://www.thannews.th.com/detialnews.php?id=R3323... http://www.thanonline.com/index.php?option=com_con... http://www.youtube.com/watch?v=oRxOmAGwZEU http://www.mrta-orangeline.net/contentimage/pagea4... http://www.mrta-orangeline.net/index.php http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=BC09...