โครงสร้างทั่วไป ของ ระบบขนส่งมวลชนเร็ว

ขบวนรถไฟฟ้า จะมีจำนวนตู้โดยสารตั้งแต่ 3 - 10 ตู้/ขบวน[3] โดยจะรับกระแสไฟฟ้าจากรางที่สามหรือระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว[4] ส่วนใหญ่ขบวนรถไฟฟ้าจะใช้ล้อที่ทำมาจากเหล็ก แต่ในบางสายอาจมีการใช้ล้อยางก็ได้ ซึ่งจะเกิดแรงเย็นระหว่างฉุดลากขบวนรถ[5]

ลักษณะเส้นทาง

รถไฟฟ้าในเมืองฮัมบวร์ค

แบบใต้ดินจะอยู่ใต้ชั้นถนน ซึ่งจะทำให้การจราจรบนถนนคล่องตัวมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสียพื้นที่บริเวณเกาะกลางสำหรับตอม่อทางยกระดับ แต่ก็มีข้อเสียคือ ต้องใช้งบประมาณมาก และการขุดอุโมงค์ต้องทำการปิดการจราจรบางส่วน อาจทำให้การจราจรติดขัด สำหรับการสร้างอุโมงค์จะมีขั้นตอนที่เรียกว่า คัต-แอนด์-คัฟเวอร์ ซึ่งเป็นการฉาบคอนกรีตไปในเนื้ออุโมงค์[2] แบบระดับดินหรือระดับถนนมักใช้กับแถบชานเมือง ซึ่งใช้งบประมาณน้อยกว่าแบบใต้ดินหรือยกระดับ ส่วนรถไฟยกระดับ มีงบประมาณที่น้อยกว่าแบบใต้ดิน มักพบในเมืองที่การจราจรไม่ติดกันนัก

สถานี

สถานีรถไฟฟ้าของรถไฟใต้ดินมาดริด

สถานีเป็นจุดจอดของรถไฟฟ้าเพื่อใช้ขนส่งผู้คน ซึ่งจะมีเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร ส่วนชานชาลาของแต่ละสถานีอาจแตกต่างกันไป เช่น ชานชาลาด้านข้าง ชานชาลาเกาะกลาง[6] สถานีใต้ดินมักจะแบ่งเป็น 2 ชั้น บางสถานีจะอยู่ลึกมาก ต้องใช้บันไดเลื่อนที่ยาวเป็นพิเศษ ในบางสถานีจะมีศูนย์การค้าอยู่ด้วย[7] ส่วนสถานีแถบชานเมือง จะมีอาคารจอดแล้วจร เพื่อให้ผู้ที่มาใช้บริการได้จอดรถส่วนตัว[8]

สถานีส่วนใหญ่มักออกแบบให้มีความสูงของชานชาลาเท่าระดับประตูของรถไฟ[9] และระหว่างที่ขบวนรถจอด ผู้โดยสารต้องระวังช่องว่างระหว่างชานชาลาและรถไฟด้วย บางสถานีใช้ประตูกั้นชานชาลา ซึ่งช่วยป้องกันคนตกลงไปในทางวิ่ง

สถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ลึกที่สุดในโลก คือ สถานีอาร์เซนัลนา ที่เมืองเคียฟ ประเทศยูเครน[10] สำหรับในประเทศไทยนั้น สถานีที่อยู่ลึกที่สุด คือ สถานีสีลมในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยระดับชานชาลาอยู่ลึก 30 เมตรจากผิวดิน

ใกล้เคียง

ระบบขนส่งมวลชนเร็ว ระบบขนส่งทางรางในเขตเมือง ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบขนส่งมวลชนเจนไน ระบบขนส่งมวลชนอ่าวซานฟรานซิสโก ระบบขนส่งมวลชนริมน้ำโตเกียว สายริงไก ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระบบขนส่งผู้โดยสาร ระบบขนส่งทางรางขนาดกลาง ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ