สัญนิยม ของ ระบบพิกัดเชิงขั้ว

เส้นกริดขั้วและแถบบอกมุมในแต่ละองศา

พิกัดรัศมีมักใช้ r แสดงแทนและพิกัดมุมใช้ θ หรือ t แสดงแทน

มุมในเครื่องหมายขั้ว ทั่วไปถูกแสดงอยู่ในรูปแบบองศาหรือเรเดียน (2π rad เท่ากับ 360°) องศาถูกใช้ในการเดินเรือ, การสำรวจ, และมีการนำไปประยุกต์ใช้ในหลายสาขา ขณะที่เรเดียนโดยทั่วไปอยู่ในคณิตศาสตร์และคณิตศาสตร์ฟิสิกส์[10]

ในหลายๆบริบท พิกัดมุมบวกหมายความว่ามุม θ ถูกวัดในทิศทวนเข็มนาฬิกาจากแกนและมีค่าพิกัดมุมลบเมื่อวัดในทิศตามเข็มนาฬิกา ในเอกสารทางคณิตศาสตร์ บ่อยครั้งแกนเชิงขั้วถูกลากในแนวนอนและไปทางทางขวา

ความพิเศษของพิกัดเชิงขั้ว

ทุกตัวเลขของการหมุนครบรอบ (360°) พิกัดมุมจะไม่เปลี่ยนทิศทาง และพิกัดรัศมีลบแสดงถึงระยะทางซึ่งได้จากการวัดเหมือนพิกัดรัศมีบวกแต่มีทิศทางตรงข้าม ดังนั้นในจุดเดียวกันสามารถแสดงด้วยตัวเลขไม่สิ้นสุดที่มีพิกัดเชิงขั้วต่างกัน (r, θ ± n×360°) หรือ (−r, θ ± (2n + 1) 180°) เมื่อ n คือจำนวนเต็มใดๆ[11] ยิ่งไปกว่านั้น ขั้วเองสามารถแสดงแทนด้วย (0, θ) สำหรับมุม θ ใดๆ[12]

เมื่อต้องการแสดงแทนจุดใดๆ ปกติใช้ r เป็นจำนวนไม่เป็นลบ (r ≥ 0) และ θ ในช่วง [0, 360°) หรือ (−180°, 180°] (ในเรเดียน, [0, 2π) หรือ (−π, π]) [13] และต้องเลือกแอซิมัทสำหรับขั้ว เช่น θ = 0

ใกล้เคียง

ระบบพิกัดเชิงขั้ว ระบบพิกัด ระบบพิกัดทรงกลมท้องฟ้า ระบบพ่อปกครองลูก ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน ระบบพิกัดดาราจักร ระบบพิกัดกริดแบบยูทีเอ็ม ระบบพิกัดสุริยวิถี ระบบพิกัดทรงกลม ระบบพิกัดศูนย์สูตร

แหล่งที่มา

WikiPedia: ระบบพิกัดเชิงขั้ว http://www.ping.be/~ping1339/polar.htm http://www.math.yorku.ca/SCS/Gallery/milestone/sec... http://members.aol.com/jeff570/p.html http://www.fortbendisd.com/campuses/documents/Teac... http://ccrma-www.stanford.edu/~jos/mdft/Euler_s_Id... http://archives.math.utk.edu/visual.calculus/3/pol... http://archives.math.utk.edu/visual.calculus/5/pol... http://web.archive.org/19991003184733/members.aol.... //doi.org/10.2307%2F2306162 //doi.org/10.2307%2F2307104