สรีรภาพ ของ ระบบรับความรู้สึกทางกาย

ความรู้สึกสัมผัสสามารถเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาทางกายหลายอย่าง ในรูปนี้ เด็กทารกหัวเราะเพราะถูกพี่สาวจี้

การทำงานของระบบรับความรู้สึกทางกายเริ่มที่การทำงานของตัวรับความรู้สึกทางกายซึ่งมักจะอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ โดยสังเกตได้ง่ายที่สุดที่ผิวหนังและกล้ามเนื้อโครงสร้างของตัวรับความรู้สึกเหล่านี้คล้าย ๆ กันทั้งหมด ประกอบด้วยถ้าไม่ใช่ปลายประสาทอิสระ (free nerve ending) ก็จะเป็นปลายประสาทที่มีปลอกเฉพาะกิจหุ้มอยู่ (encapsulated nerve ending)

ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้เริ่มทำงานเพราะเหตุการเคลื่อนไหว (ตัวรับแรงกล) แรงกด (ตัวรับแรงกล) สารเคมี (ตัวรับรู้สารเคมี) และอุณหภูมิ (ตัวรับอุณหภูมิ)สิ่งที่เริ่มการทำงานอีกอย่างหนึ่งก็คือ แรงสั่นสะเทือน (ตัวรับแรงกล) ที่เกิดขึ้นได้เมื่อลูบนิ้วไปตามผิวของวัตถุนี้เป็นวิธีที่เราสามารถรู้สึกความหยาบละเอียดของผิววัตถุซึ่งมีขนาดเล็กถึง 80 นาโนเมตร ได้โดยเป็นแรงสั่นสะเทือนที่ความถี่ 200 เฮิรตซ์ ซึ่งตัวรับแรงกลประเภท Pacinian corpuscle ไวมากที่สุด[24]

อย่างไรก็ดี ในความรู้สึกแต่ละประเภท กลไกการทำงานของการถ่ายโอนความรู้สึกของตัวรับความรู้สึก (ปลายประสาท) ในระบบรับความรู้สึกทางกายจะคล้าย ๆ กันโดยทั่วไป คือสิ่งเร้าที่เหมาะสมจะเปิดปิดช่องไอออนของปลายประสาท ทำให้แคตไอออนเช่น Na+ และ/หรือ Ca2+ ไหล เข้าไปในเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าศักย์ตัวรับความรู้สึก ซึ่งเมื่อถึงขีดเริ่มเปลี่ยนในที่สุดก็จะทำให้เกิดการสร้างศักยะงาน แล้วส่งไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมองเป็นจุดเริ่มต้น โดยอัตราของศักยะงานจะมีสัดส่วนเข้ากับการลดขั้ว ซึ่งก็จะเข้ากับลักษณะตัวกระตุ้นด้วย[21]

ใกล้เคียง

ระบบรู้กลิ่น ระบบรับความรู้สึกของปลา ระบบรางวัล ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ระบบรัฐสภา ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในประเทศเกาหลีใต้ ระบบรถไฟฟ้าของรถไฟใต้ดินปักกิ่ง ระบบระบายอากาศ ระบบรองรับ ระบบรับรส

แหล่งที่มา

WikiPedia: ระบบรับความรู้สึกทางกาย http://brain.phgy.queensu.ca/flanagan/papers/FlaLe... http://www.informahealthcare.com http://www.informaworld.com/csmr http://www.roblesdelatorre.com/gabriel/GR-IEEE-MM-... http://www.roblesdelatorre.com/gabriel/GR-VH-Natur... http://www.roblesdelatorre.com/gabriel/VH-OA-MC-DG... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10527368 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10881245 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11760888 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12716952