เงื่อนไขที่ทำให้สามารถสร้างได้ ของ รูปหลายเหลี่ยมสร้างได้

รูป n เหลี่ยมปรกติสามารถสร้างขึ้นด้วยวงเวียนและสันตรง ถ้า n คือผลคูณระหว่างกำลังของ 2 และจำนวนใดๆ ที่แตกต่างกันของจำนวนเฉพาะแฟร์มาต์

รูปหลายเหลี่ยมปรกติบางรูปสามารถสร้างขึ้นได้ง่ายด้วยวงเวียนและสันตรง แต่ก็มีบางรูปที่สร้างไม่ได้ ด้วยสิ่งนี้จึงทำให้เกิดคำถามที่ว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่รูปหลายเหลี่ยมปรกติ ทั้งหมด จะสามารถสร้างได้ด้วยวงเวียนและสันตรง ถ้าไม่ได้ มีรูปใดบ้างที่สร้างได้หรือไม่ได้

คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ได้พิสูจน์ว่ารูปสิบเจ็ดเหลี่ยมปรกติสามารถสร้างได้เมื่อ พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) และห้าปีต่อมา เขาก็ได้สร้างทฤษฎี Gaussian periods ในงานเขียน Disquisitiones Arithmeticae ซึ่งทฤษฎีนี้ทำให้เขาสามารถกำหนดเงื่อนไขเพียงพอขึ้นมาอย่างหนึ่ง เพื่อที่จะทดสอบความสามารถในการสร้างของรูปหลายเหลี่ยมปรกติดังนี้

เกาส์คาดการณ์ว่าเงื่อนไขนี้อาจเป็นเงื่อนไขจำเป็น แต่เขาก็ไม่ได้เสนอการพิสูจน์สำหรับคำกล่าวนี้ จนกระทั่งได้รับการพิสูจน์โดย Pierre Wantzel เมื่อ พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) คำกล่าวนี้อาจดูเหมือนว่าเกาส์ไม่ได้มีการพิสูจน์ที่ถูกต้อง เพราะหากให้ n = 9 การสร้างรูปเก้าเหลี่ยมปรกติจะยุติลงด้วยความเป็นไปไม่ได้ที่จะแบ่งมุม 120° ออกเป็นสามส่วนเท่ากัน ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เกาส์ได้ตระหนักไว้แล้ว

ผลจากทฤษฎีของเกาส์

จำนวนแฟร์มาต์มีเพียง 5 จำนวนแรกเท่านั้นที่เป็นจำนวนเฉพาะ

F0 = 3, F1 = 5, F2 = 17, F3 = 257, และ F4 = 65537

ซึ่งจำนวนแฟร์มาต์ถัดไปอีก 7 จำนวนคือ F5 ถึง F11 เป็นจำนวนประกอบ (ลำดับ A019434)

ดังนั้นรูป n เหลี่ยมปรกติที่สามารถสร้างได้ ได้แก่

n = 3, 4, 5, 6, 8, 10, 12, 15, 16, 17, 20, 24, ... (ลำดับ A003401)

ส่วนรูป n เหลี่ยมปรกติที่สร้างไม่ได้ด้วยวงเวียนและสันตรง ได้แก่

n = 7, 9, 11, 13, 14, 18, 19, 21, 22, 23, 25, ... (ลำดับ A004169)

ใกล้เคียง

รูปหลายเหลี่ยม รูปหลายเหลี่ยมสร้างได้ รูปหลายเหลี่ยมนูนและเว้า รูปหลายเหลี่ยมมุมเท่า รูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า รูปหลายเหลี่ยมทางเดียว รูปไม่หล่อ รูปหกเหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปสลักพระโพธิสัตว์กวนอิมเขาคอหงส์