ตำแหน่งและการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ ของ ร่องลึกก้นสมุทร

ขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกแบบลู่เข้าหากันมีความยาวทั้งหมดได้ถึง 50,000 กิโลเมตรทั้งหมดอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเป็นที่มาของการใช้คำว่า “ขอบเขตรอยต่อแบบแปซิฟิก” (pacific-type margin) แต่ก็พบได้ทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียด้วย และรวมถึงขอบเขตรอยต่อสั้น ๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บางครั้งร่องลึกก้นทะเลก็ถูกฝังกลบไม่แสดงลักษณะ แต่จากลักษณะโครงสร้างพื้นฐานแล้วก็ยังต้องเรียกว่าร่องลึกก้นทะเล ดังที่นำไปใช้กับโซนมุดตัวแคสคาเดีย มากรัน เลสเซอร์แอนตอลเลสด้านใต้ และร่องลึกก้นสมุทรคาลาเบรียล ร่องลึกก้นสมุทรจะอยู่ขนานไปกับแนวหมู่เกาะรูปโค้ง และโซนแผ่นดินไหวที่มีการเอียงเทลงไปใต้แนวหมู่เกาะรูปโค้งลึกลงไปได้ถึง 700 กิโลเมตรที่จัดให้เป็นขอบเขตรอยต่อแผ่นเปลือกโลกแบบลู่เข้าหากันเกิดเป็นโซนมุดตัวลึกลงไป ร่องลึกก้นสมุทรมีความเกี่ยวข้องกับการชนกันของแผ่นเปลือกโลกแต่มีความแตกต่างไปจากการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกทวีป (ดังเช่นการชนกันระหว่างอินเดียกับเอเชียที่ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย) อันเกิดจากแผ่นเปลือกทวีปเคลื่อนที่เข้าไปในแนวมุดตัว เมื่อแผ่นเปลือกทวีปเคลื่อนที่ถึงบริเวณร่องลึกก้นสมุทรการมุดตัวก็จะสิ้นสุดลงและขอบของแผ่นเปลือกโลกแบบลู่เข้าหากันก็จะกลายเป็นแนวชนกันของแผ่นเปลือกโลกบนทวีป ลักษณะที่เทียบเคียงได้กับร่องลึกก้นสมุทรจะเกิดมีสัมพันธ์กับแนวชนกันที่เป็นร่องลึกหน้าเกาะ (foredeep) ที่มีการสะสมตัวของตะกอนและถือว่าเป็นแอ่งสะสมตะกอนหน้าแผ่นดิน อย่างเช่นที่พบในแม่น้ำแกงเกส และแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส

ใกล้เคียง

ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ร่องลึกก้นสมุทร ร่องลึกก้นสมุทรอะลูเชียน ร่องลึกก้นสมุทรคูริล–คัมชัตคา ร่องลึกบาดาลญี่ปุ่น ร่องลึกตองงา ร่องลึกปวยร์โตรีโก ร่องลึกเปรู-ชิลี ร่องลึกฟิลิปปินส์ ร้องล่าเนื้อ