ร่องลึกก้นสมุทรที่ที่ถูกเติมด้วยตะกอน ของ ร่องลึกก้นสมุทร

องค์ประกอบของพื้นลาดด้านในของร่องลึกก้นสมุทรและสิ่งที่ควบคุมลักษณะสัณฐานเป็นอันดับแรกของร่องลึกก้นสมุทรคือตะกอนที่สะสมตัวลงไป การตกตะกอนรูปลิ่มแบบปริซึมเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในร่องลึกก้นสมุทรที่อยู่ใกล้ผืนทวีปที่มีแม่น้ำหรือธารน้ำแข็งสายใหญ่ๆไหลลงทะเลที่จะนำพาเอาตะกอนจำนวนมากเข้าไปในร่องลึกก้นสมุทร ร่องลึกก้นสมุทรที่มีตะกอนสะสมตัวอยู่นี้สร้างความสับสนเนื่องจากในทางเพลตเทคโทนิกนั้นมันเป็นสิ่งที่แยกแยะออกจากขอบของการเคลื่อนที่ลู่เข้าหากันอื่นๆไม่ได้และขาดลักษณะพื้นผิวแบบร่องลึกก้นสมุทร แนวมุดตัวแคดคาเดียทางขอบด้านตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกานั้นเป็นร่องลึกก้นสมุทรที่มีตะกอนปิดทับอยู่อันเนื่องมาจากตะกอนที่ถูกพัดพามาโดยแม่น้ำทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริการและด้านตะวันตกเฉียงใต้ของแคนาดา ขอบของการลู่เข้าหากันเลสเซอร์แอนทิลเลสแสดงความสำคัญของการอยู่ใกล้ชิดกับแหล่งตะกอนที่จะทำให้เกิดรูปลักษณะของร่องลึกก้นสมุทร ทางตอนใต้ใกล้ๆกับปากแม่น้ำโอริราโคไม่มีลักษณะของร่องลึกก้นสมุทรและส่วนด้านหน้าหมู่เกาะรูปโค้งมีการสะสมตัวของตะกอนรูปลิ่มแบบปริซึมที่มีความกว้างเกือบ 500 กิโลเมตร ตะกอนรูปลิ่มแบบปริซึมนี้มีขนาดใหญ่เกิดเป็นหมู่เกาะบาร์บาโดสและตรินิแดด ขยับไปทางด้านเหนือส่วนด้านหน้าหมู่เกาะรูปโค้งจะแคบลงและไม่พบตะกอนรูปลิ่มแบบปริซึมปรากฏอยู่ และเมื่อขยับขึ้นไปทางด้านเหนือที่ละติจูด 17 องศาเหนือลักษณะของร่องลึกก้นสมุทรก็ปรากฏให้เห็นชัดเจน ทางเหนือสุดซึ่งไกลจากแหล่งตะกอน ร่องลึกก้นสมุทรเปอร์โตริโกซึ่งมีความลึกกว่า 8600 เมตรที่พบว่าไม่มีการสะสมตัวของตะกอนรูปลิ่มแบบปริซึม มีความสัมพันธ์ที่คล้ายคลึงกันระหว่างความใกล้เคียงกับแม่น้ำ ความกว้างของส่วนด้านหน้าหมู่เกาะรูปโค้ง และลักษณะของร่องลึกก้นสมุทรสามารถสังเกตได้จากทางด้านตะวันออกไปทางด้านตะวันตกไปตามขอบของการลู่เข้าหากันอะแลสกา-เอลิวเตียน ขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกชนิดเคลื่อนที่ลู่เข้าหากันด้านนอกชายฝั่งอะแลสกามีการเปลี่ยนแปลงตามแนวรอยเลื่อนจากลักษณะร่องลึกก้นสมุทรที่มีตะกอนเติมเต็มและมีส่วนด้านหน้าหมู่เกาะรูปโค้งที่กว้างทางด้านตะวันออก (ใกล้ชายฝั่งแม่น้ำในอะแลสกา) ไปเป็นร่องลึกก้นสมุทรที่ลึกและมีส่วนด้านหน้าหมู่เกาะรูปโค้งแคบๆทางด้านตะวันตก (นอกชายฝั่งหมู่เกาะเอลิวเตียน) อีกกรณีตัวอย่างหนึ่งคือขอบของการลู่เข้าหากันมากรันนอกชายฝั่งปากีสถานและอีหร่านซึ่งร่องลึกก้นสมุทรถูกเติมเต็มไปด้วยตะกอนจากแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีสและแม่น้ำอินดัส การสะสมตัวอย่างหนาของตะกอนกระแสความขุ่น (turbidites) ตามแนวร่องลึกก้นสมุทรอาจได้มาจากการพัดพามาจากสันแกนลงไป (down-axis transport) ที่เข้าไปในร่องลึกก้นสมุทรเป็นระยะทางถึง 1000 – 2000 กิโลเมตรดังที่พบในร่องลึกก้นสมุทรเปรู-ชิลีทางตอนใต้ของวัลปารายโซ และร่องลึกก้นสมุทรเอลิวเตียน อัตราการลู่เข้าหากันก็มีความสำคัญเช่นกันในการที่จะควบคุมความลึกของร่องลึกก้นสมุทรโดยเฉพาะอย่างยิ่งร่องลึกก้นสมุทรที่อยู่ใกล้ทวีปเพราะว่าอัตราการลู่เข้าหากันอย่างช้าๆมีผลทำให้ความจุของขอบของการลู่เข้าหากันจัดวางตะกอนได้มากกว่า

มีการวิวัฒนาการในรูปลักษณ์สัณฐานของร่องลึกก้นสมุทรที่สามารถทำนายได้ในขณะที่ทวีปเคลื่อนตัวลู่เข้าหากันและมหาสมุทรมีการปิดตัวลง ในขณะที่มหาสมุทรยังเปิดกว้างอยู่นั้นร่องลึกก้นสมุทรอาจอยู่ห่างจากแหล่งตะกอนในทวีปและอาจทำให้ร้องลึกก้นสมุทรมีความลึก เมื่อทวีปเคลื่อนที่เข้าหาซึ่งกันและกันร่องลึกก้นสมุทรอาจถูกเติมด้วยตะกอนจากทวีปและทำให้ร่องลึกก้นสมุทรตื้นเขินขึ้นมา มีวิธีการอย่างง่ายๆอย่างหนึ่งที่จะประมาณการตำแหน่งของร่องลึกก้นสมุทรคือเมื่ออยู่ในระยะคาบเกี่ยวจากการมุดตัวไปเป็นการชนกันนั้น ขอบเขตรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกเดิมจะถูกกำหนดที่ร่องลึกก้นสมุทรได้ถูกเติมด้วยตะกอนลงไปอย่างมากเพียงพอที่จะให้ถูกดันตัวขึ้นมาพ้นเหนือระดับทะเล

ใกล้เคียง

ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ร่องลึกก้นสมุทร ร่องลึกก้นสมุทรอะลูเชียน ร่องลึกก้นสมุทรคูริล–คัมชัตคา ร่องลึกบาดาลญี่ปุ่น ร่องลึกตองงา ร่องลึกปวยร์โตรีโก ร่องลึกเปรู-ชิลี ร่องลึกฟิลิปปินส์ ร้องล่าเนื้อ