น้ำและชีวภาค ของ ร่องลึกก้นสมุทร

ปริมาตรของน้ำที่เล็ดรอดออกมาจากภายในและด้านใต้ของส่วนด้านหน้าหมู่เกาะรูปโค้งส่งผลต่อพลวัตของโลกและปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างของเหลวและหิน น้ำทั้งหมดจะถูกกักเก็บไว้อยู่ในช่องว่างและรอยแตกทางด้านบนของแผ่นธรณีภาคชั้นนอกและตะกอนของแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไป ส่วนด้านหน้าหมู่เกาะรูปโค้งมีตะกอนที่สะสมตัวในทะเลที่แข็งตัวเคลื่อนที่รอดอยู่ทางด้านใต้ด้วยความหนาเฉลี่ย 400 เมตร ตะกอนเหล่านี้เข้าไปอยู่ในร่องลึกก้นสมุทรด้วยค่าความพรุน 50-60% ตะกอนเหล่านี้ถูกบีบอัดอย่างต่อเนื่องขณะที่มันมุดตัวลงไป มีการลดขนาดช่องว่างลงและบีบอัดไล่เอาของเหลวออกไปตามผิวหน้ารอยเลื่อนและขึ้นไปที่มวลหินส่วนด้านหน้าหมู่เกาะรูปโค้งที่วางตัวอยู่ด้านบนซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีตะกอนรูปลิ่มแบบปริซึมก็ได้ ตะกอนที่พอกสะสมตัวที่ส่วนด้านหน้าหมู่เกาะรูปโค้งนี้เป็นแหล่งของของเหลวอีกแหล่งหนึ่ง น้ำก็พบอยู่ในแร่ไฮดรัสด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งแร่ดินและโอปอล วัตถุที่มุดตัวลงไปมีการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันและอุณหภูมิทำให้แร่ไฮดรัสมีสภาพที่หนาแน่นขึ้นและมีน้ำอยู่ในโครงสร้างลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง น้ำที่ถูกปลดปล่อยออกมาด้วยกระบวนการขจัดน้ำเป็นแหล่งของของเหลวอีกแหล่งหนึ่งที่ถูกปล่อยออกไปที่ฐานของแผ่นเปลือกโลกที่ขี่ทับซ้อนอยู่ทางด้านบน ของเหลวเหล่านี้อาจซึมแผ่ออกไปในเนื้อตะกอนรูปลิ่มแบบปริซึมผ่านช่องว่างที่ต่อเนื่องกันของตะกอนหรืออาจซึมผ่านไปตามรอยเลื่อน ตำแหน่งที่เป็นปล่องให้ของเหลวไหลออกมาอาจอยู่ในรูปของเนินพุโคลน (mud volcano) หรือไหลซึมผ่านออกมาตามรอยแตกมักจะพบชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารด้วยการสังเคราะห์ทางเคมี (chemosynthetic community) อยู่ด้วย ของเหลวที่ซึมออกมาจากส่วนที่ตื้นที่สุดของแนวมุดตัวอาจซึมออกมาตามแนวขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกได้ด้วยแต่มีน้อยมากที่จะพบซึมออกมาตามแนวแกนของร่องลึกก้นสมุทร ของเหลวเหล่านี้ทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นน้ำเสียส่วนใหญ่แต่ก็มีเหล็กและโมเลกุลของอินทรีย์สารอยู่ด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีมีเทนละลายอยู่ด้วย มีเทนมักจะอยู่โดดๆในรูปของมีเทนคลาเทรตบ้างก็เรียกว่าแก๊สไฮเดรตซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำแข็งอยู่ในมวลหินส่วนด้านหน้าหมู่เกาะรูปโค้ง นี้เป็นแหล่งพลังงานแหล่งหนึ่งแต่ก็สามารถหมดไปได้อย่างรวดเร็ว การสูญเสียเสถียรภาพของแก๊สไฮเดรตก่อให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนในอดีตและก็ดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตด้วย

ชุมชนสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์อาหารทางเคมีพบเจริญเติบโตอยู่บริเวณที่ของเหลวเย็นซึมออกมาจากมวลหินส่วนด้านหน้าหมู่เกาะรูปโค้ง ชุมชนสิ่งมีชีวิตในของเหลวเย็นที่ซึมออกมานี้ถูกค้นพบอยู่บริเวณแนวลาดเอียงด้านในของร่องลึกก้นสมุทรลงไปที่ระดับความลึกถึง 6000 เมตรทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งแถวๆญี่ปุ่น ในแปซิฟิกตะวันออกตามแนวด้านเหนือ ตามชายฝั่งอเมริกากลางและอเมริกาใต้ จากร่องลึกก้นสมุทรเอลิวเตียนลงไปถึงร่องลึกก้นสมุทรเปรู-ชิลี ที่บาร์บาโดส ในเมดิเตอร์เรเนียน และในมหาสมุทรอินเดียตามแนวมุดตัวมากรันและซุนด้า ชุมชนสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้รับความสนใจน้อยกว่าชุมชนสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์อาหารทางเคมีที่พบบริเวณปล่องไฮโดรเทอร์มอล ชุมชนสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์อาหารทางเคมีนี้พบอยู่ในลักษณะทางธรณีวิทยาที่หลากหลาย – บนตะกอนที่ถูกกดทับอย่างมากเกินพอในตะกอนรูปลิ่มแบบปริซึมตรงบริเวณที่ของเหลวถูกซึมผ่านออกมาผ่านเนินพุโคลนหรือสันเขา (บาร์บาโดส แนนกาอิ และแคสคาเดีย) ตามขอบที่ถูกกัดเซาะที่มีรอยเลื่อน ผาชันที่เกิดจากเศษหินถล่ม (ร่องลึกก้นสมุทรญี่ปุ่น ขอบแผ่นเปลือกโลกเปรูเวียน) การซึมออกมาจากพื้นผิวอาจเกี่ยวข้องกับการสะสมตัวของไฮเดรตจำนวนมหาศาลและการสูญเสียเสถียรภาพ (อย่างเช่น ขอบแผ่นเปลือกโลกแคสคาเดีย) ความเข้มข้นสูงๆของมีเทนและซัลไฟด์ในของเหลวที่ซึมออกมาจากพื้นทะเลนี้ถือว่าเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับการสังเคราะห์ทางเคมี

ใกล้เคียง

ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ร่องลึกก้นสมุทร ร่องลึกก้นสมุทรอะลูเชียน ร่องลึกก้นสมุทรคูริล–คัมชัตคา ร่องลึกบาดาลญี่ปุ่น ร่องลึกตองงา ร่องลึกปวยร์โตรีโก ร่องลึกเปรู-ชิลี ร่องลึกฟิลิปปินส์ ร้องล่าเนื้อ