พายุดีเปรสชันเขตร้อน ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2561

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 04W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา10 – 15 พฤษภาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1008 mbar (hPa; 29.77 inHg)
  • วันที่ 10 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวชึ้นทางตะวันออกของหมู่เกาะมาเรียนา ก่อนที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะปรับระดับหย่อมดังกล่าวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงปลายของวัน[134] หลังจากนั้นไม่นานศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนตามมา[135]
  • วันที่ 12 พฤษภาคม มีการสังเกตพบการหมุนเวียนลมอย่างรวดเร็วใกล้กับศูนย์กลางของมัน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงได้เริ่มออกคำแนะนำให้กับระบบ และให้รหัสเรียกขานว่า 04W[136] ประมาณสิบสองชั่วโมงต่อมา ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมรายงานว่า 04W มีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน โดยจากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงศูนย์กลางของพายุที่ดี[137] การติดตามเส้นทางเดินพายุพบว่าพายุมีทิศทางมุ่งหน้าไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ และระบบเริ่มอ่อนกำลังลง เมื่อมันเริ่มเข้าสู่พื้นที่ที่มีปัจจัยไม่เอื้ออำนวย[138]
  • วันที่ 14 พฤษภาคม ด้วยเหตุนั้น 04W จึงอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และในที่สุดศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงได้ออกคำแนะนำสุดท้ายให้กับระบบ เมื่อระบบพายุมีศูนย์กลางที่ยืดและกระจายออก เนื่องจากลมเฉือนที่พัดแรง[139]
  • วันที่ 15 พฤษภาคม อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงติดตามเส้นทางเดินพายุอยู่ จนมันสลายตัวไปในที่สุด[140]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 7

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา4 – 6 มิถุนายน
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)

วันที่ 4 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามเส้นทางเดินของพายุดีเปรสชันกำลังอ่อนที่ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของแยป[141] อย่างไรก็ตาม ระบบได้ถูกดูดกลืนเข้าไปโดยพายุดีเปรสชันที่อยู่ใกล้กัน จนในที่สุดพายุดีเปรสชันลูกนั้นกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงมาลิกซีในวันรุ่งขึ้น[36]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 9

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา17 – 18 มิถุนายน
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)

ภายหลังจากที่พายุแคมีกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนแล้ว มีพายุดีเปรสชันอีกลูกหนึ่งก่อตัวขึ้นทางใต้ของฮ่องกงในรุ่งเช้าของวันที่ 17 มิถุนายน และสลายตัวไปเหนือชายฝั่งด้านตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง จีน ในวันต่อมา[142][143]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 13

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา16 – 18 กรกฎาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)

วันที่ 16 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นเหนือทะเลจีนใต้ ระบบพายุยังคงมีกำลังอ่อนและได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม ก่อนจะสลายตัวไปในวันต่อมา

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 13W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา20 – 23 กรกฎาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
996 mbar (hPa; 29.41 inHg)
ชื่อของ PAGASA: โจซี

วันที่ 20 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นระบุว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ ต่อมาวันที่ 21 กรกฎาคม PAGASA ชี้ว่าระบบพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่เขตพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และได้รับชื่อว่า โจซี (Josie) เป็นภาษาตากาล็อกจากหน่วยงานดังกล่าว เป็นพายุลูกที่ 10 ที่ได้รับชื่อภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ในฤดูกาลนี้ พายุดีเปรสชันเขตร้อนโจซีเคลื่อนที่เกือบขึ้นฝั่งที่เมืองซาอุด จังหวัดฮีลากังอีโลโคส ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมันเคลื่อนตัวไปทางเหนือ และออกจากพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ไป ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนที่ไปทางประเทศจีน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 13W เกือบกลายเป็นพายุโซนร้อนที่ได้รับชื่อ แต่พายุดีเปรสชันเขตร้อนนั้นกลับไปไม่ถึงพายุโซนร้อน และถูกทำลายด้วยลมเฉือนที่สูงใกล้กับประเทศจีน โดยส่วนเศษที่หลงเหลือของ 13W นั้นมุ่งหน้าเข้าไปในแผ่นดินของประเทศจีน ก่อนที่จะสลายตัวไปอย่างสมบูรณ์

นับตั้งแต่การก่อตัวของพายุสองลูกก่อนหน้า สมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงอย่างมากในประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 1 สิงหาคม มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 16 คนเนื่องจากอุทกภัยที่รุนแรง ขณะที่ความเสียหายถูกบันทึกไว้ที่ 4.66 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ (87.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.92 พันล้านบาท) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นั้นมีกำลังแรงมาตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นมาเรีย โดยมีการงดการเรียนการสอนในสถานศึกษาในเมโทรมะนิลาถึง 5 วันในเดือนกรกฎาคม นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ตั้งแต่พายุไต้ฝุนเกดสะหนาที่พัดโจมตีเมโทรมะนิลาทำให้เกิดน้ำท่วมจากน้ำทะเลขึ้นสูงในปี พ.ศ. 2552[144]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 16W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)

พายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน 95W

พายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา4 – 5 สิงหาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
996 mbar (hPa; 29.41 inHg)

วันที่ 4 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้เริ่มติดตามพายุกึ่งโซนร้อนที่ก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล ต่อมาในวันรุ่งขึ้นพายุนี้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[145]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 24W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา22 – 26 สิงหาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
994 mbar (hPa; 29.35 inHg)
ชื่อของ PAGASA: ลุยส์

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 28

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา24 – 26 สิงหาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)

พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม สองวันต่อมามันได้พัดขึ้นฝั่งที่เซี่ยงไฮ้ และสลายตัวอย่างรวดเร็วเหนือมณฑลเจียงซู ในภาคตะวันออกของจีน[146][147][148]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 30

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา5 – 8 กันยายน
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 29W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา21 – 27 กันยายน
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1008 mbar (hPa; 29.77 inHg)
  • วันที่ 19 กันยายน เศษความกดอากาศต่ำหลงเหลือที่มีความเกี่ยวข้องกับพายุเฮอร์ริเคนโอลิเวียเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่ง[149][150]
  • วันที่ 21 กันยายน เศษความกดอากาศต่ำดังกล่าวก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และเคลื่อนที่โค้งไปทางตะวันตกอย่างช้า ๆ[151]
  • วันที่ 24 กันยายน ระบบอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำอีกครั้ง โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานว่ามันสลายตัวไปแล้ว แต่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมไม่ได้บอกเช่นนั้น[152][153]
  • วันที่ 25 กันยายน ขณะที่ระบบเคลื่อนที่ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ มันได้ทวีกำลังเป็นพายุดีเปรสชันอีกครั้ง
  • วันที่ 26 กันยายน พายุดีเปรสชันได้รับรหัสเรียกว่า 29W[154] ระบบยังคงมีกำลังอ่อนอยู่เช่นเดิมและแสดงให้เห็นศูนย์กลางการไหลเวียนระดับต่ำ และพายุดีเปรสชันมีทิศทางเร่งไปทางเหนือเร็วขึ้น และหลังจากนั้นจึงเบนไปทางตะวันตก
  • วันที่ 27 กันยายน ระบบได้พัฒนาไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนทางตะวันออกของญี่ปุ่น[155][156]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 37

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา19 – 20 ตุลาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1008 mbar (hPa; 29.77 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 38

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา20 – 21 ตุลาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1008 mbar (hPa; 29.77 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 35W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา25 – 29 ธันวาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)
ชื่อของ PAGASA: อุสมัน

วันที่ 25 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นในทะเลฟิลิปปิน พายุลูกนี้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และได้รับชื่อจาก PAGASA ว่า อุสมัน ("Usman") ต่อมาพายุอุสมันได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเป็นครั้งแรกในเกาะซามาร์ เขตซีลางังคาบีซายาอันในวันที่ 28 ธันวาคม จากนั้นจึงได้เคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ไปปกคลุมเหนือบริเวณจังหวัดปาลาวันในช่วงสุดสัปดาห์ และตัวพายุได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำเขตร้อนที่หลงเหลือ หลังจากเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม เศษของพายุอุสมันได้ถูกดูดซึมไปโดยหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ซึ่งต่อมาหย่อมดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นเป็นพายุโซนร้อนปาบึก[159]

ในขณะที่พายุอุสมันเคลื่อนตัวปกคลุมประเทศฟิลิปปินส์ พายุได้ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มในหลายพื้นที่ มีผู้เสียชีวิต 155 คน และสร้างความเสียหายขึ้น 5.41 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ (103 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[160]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 36W

ในวันสิ้นปี มีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตอนใต้ของทะเลจีนใต้[161] โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ให้รหัส 36W กับพายุดีเปรสชัน[162] ต่อมาพายุดีเปรสชันดังกล่าว ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ ปาบึก (Pabuk) จาก RSMC โตเกียว กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2562 พร้อมได้รับรหัสพายุว่า 1901 ทำให้พายุนี้กลายเป็นพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกแรกของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562[163]

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2564 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2561 http://news.sina.com.cn/o/2018-11-12/doc-ihmutuea9... http://www.cma.gov.cn/en2014/news/News/201902/t201... http://www.jianzai.gov.cn//DRpublish/jzdt/00000000... http://www.jianzai.gov.cn//DRpublish/jzdt/00000000... http://www.jianzai.gov.cn//DRpublish/ywcp/00000000... http://www.jianzai.gov.cn//DRpublish/ywcp/00000000... http://www.jianzai.gov.cn//DRpublish/ywcp/00000000... http://www.jianzai.gov.cn//DRpublish/ywcp/00000000... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti...