พายุ ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2561

พายุโซนร้อนบอละเวน

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา30 ธันวาคม 2560 – 4 มกราคม 2561
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)
ชื่อของ PAGASA: อากาโตน

  • วันที่ 30 ธันวาคม 2560 หย่อมความกดอากาศต่ำทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันทางตะวันออกเฉียงเหนือของปาเลา[9]
  • วันที่ 1 มกราคม 2561 โดยภาพรวมแล้วระบบเคลื่อนที่ไปทางแนวตะวันตก ต่อมา PAGASA ได้เริ่มออกคำแนะนำและให้ชื่อท้องถิ่นว่า อากาโตน (Agaton)[10] และต่อมาทั้ง JMA และ JTWC ก็ได้ออกคำแนะนำเช่นกัน โดยพายุได้รับรหัสเรียกขานจาก JTWC ว่า 01W[11]
  • วันที่ 3 มกราคม ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน โดย JMA ได้ให้ชื่อกับพายุว่า บอละเวน (Bolaven) ทำให้มันกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่ได้รับชื่อของฤดูกาล อย่างไรก็ตาม อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา บอละเวนอ่อนกำลังลงอย่วงรวดเร็ว[12]
  • วันที่ 4 มกราคม JMA ยุติการติดตามพายุบอละเวนในขณะที่มันอยู่ทางตะวันออกของเวียดนาม

ผลกระทบของพายุบอละเวน (อากาตอน) อยู่ในระดับปานกลางแต่ไม่ได้มีนัยสำคัญเท่ากับพายุสองลูกก่อนหน้าอย่างไคตั๊กและเทมบิง โดยมีผู้โดยสารต้องติดค้างอยู่ที่ท่าเรือวิซายัสประมาณ 2,000 คน[13] โดยในวันที่ 22 มกราคม มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากพายุจำนวนสามคน ขณะที่พายุสร้างความเสียหายอยู่ที่ 554.7 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (11.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 348 ล้านบาท)[14]

พายุโซนร้อนซันปา

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 16 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)
ชื่อของ PAGASA: บาชัง

  • วันที่ 8 กุมภาพันธ์ หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางเหนือของเกาะชุก
  • วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ระบบพัฒนาขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ ซันปา (Sanba) จากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น จากนั้นไม่นาน ซันปา ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับชอบของฟิลิปปินส์และได้รับชื่อ บาชัง (Basyang) จากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์[15]
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ซันปา ได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่เขตเทศบาลคอร์เทสในประเทศฟิลิปปินส์[16] เป็นสาเหตุให้มันอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน
  • วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พายุดีเปรสชันอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ และได้พัดขึ้นฝั่งอีกครั้งที่จังหวัดตีโมกซูรีเกา[17]

ประชาชนประมาณ 17,000 คนได้รับผลกระทบจากพายุลูกนี้ และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 14 คน มีความเสียหายประมาณ 167.955 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (3.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[18]

พายุไต้ฝุ่นเจอลาวัต

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา24 มีนาคม – 1 เมษายน
ความรุนแรง195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
915 mbar (hPa; 27.02 inHg)
ชื่อของ PAGASA: กาโลย

  • วันที่ 24 มีนาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นทางใต้ของหมู่เกาะมาเรียนา[19] และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้กำหนดหมายเลขกับระบบว่า 03W[20]
  • วันที่ 25 มีนาคม ความรุนแรงของระบบทวีขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นว่า เจอลาวัต (Jelawat)[21] เนื่องจากลมเฉือนตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ระบบพายุหมุนจึงยังคงจัดการองค์ประกอบของตัวเองได้ไม่ดีนัก อีกทั้งยังมีการหมุนเวียนที่ไม่เป็นระบบใกล้กับการไหลเวียนในระดับต่ำ[22]
  • วันที่ 28 มีนาคม ปัจจัยแวดล้อมค่อย ๆ เอื้อต่อการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดเจอลาวัตสามารถทวีกำลังแรงได้อย่างต่อเนื่องและสามารถกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงได้ในเวลา 18:00 UTC[23]
  • วันที่ 29 มีนาคม ตาของพายุเริ่มปรากฏขึ้นภายในไอน้ำอย่างหนาแน่นจากแกนกลางของพายุ (Central dense overcast) เป็นสาเหตุให้กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจัดระดับพายุเป็นพายุไต้ฝุ่นในเวลา 00:00 UTC[24]
  • วันที่ 30 มีนาคม การทวีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็วได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 36 ชั่วโมง เมื่อตาพายุปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็ว และเจอลาวัตได้บลลุความรุนแรงสูงสุดในช่วงเช้าของวัน โดยมีลมพัดต่อเนื่องในสิบนาทีที่ 195 กม./ชม. และความกดอากาศที่ศูนย์กลางที่ 915 hPa[25] ในขณะเดียวกันศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ระบุว่ามีลมพัดต่อเนื่องในหนึ่งนาทีที่ 240 กม./ชม. โดยเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4[26]
  • วันที่ 31 มีนาคม ในทันทีหลังจากที่พายุบรรลุความรุนแรงสูงสุด เจอลาวัตอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากลมเฉือนและอากาศแห้งที่เพิ่มขึ้น และความรุนแรงได้ลดลงจนต่ำกว่าระดับพายุไต้ฝุ่นในช่วงสายของวัน
  • วันที่ 1 เมษายน เจอลาวัตเคลื่อนที่เบี่ยงจากเส้นทางขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นจึงเลี้ยวไปทางตะวันออก และสลายตัวไปในที่สุด

พายุได้ก่อความเสียหายเล็กน้อยกับปาเลา หมู่เกาะแคโรไลน์ และหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา

พายุโซนร้อนเอวิเนียร์

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา2 – 9 มิถุนายน
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)
  • วันที่ 2 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นและพัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเหนือทะเลจีนใต้[27][28] หลังจากนั้นศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ออกข้อมูลเกี่ยวกับระบบ และใช้รหัสเรียกขานว่า 05W[29] และระบบมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกและค่อยโค้งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 6 มิถุนายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ยกระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อน[30] อีกสามชั่วโมงต่อมา กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ใช้ชื่อกับพายุว่า เอวิเนียร์ (Ewiniar)[31] หลังจากนั้นไม่นานเอวิเนียร์ได้พัดขึ้นฝั่งที่จีนตอนใต้
  • วันที่ 7 มิถุนายน เอวิเนียร์ยังคงพลังของมันได้อยู่ขณะที่มันอยู่บนแผ่นดิน จนกระทั่งศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการเฝ้าระวังสุดท้ายในช่วงปลายของวัน[32]
  • วันที่ 9 มิถุนายน อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงติดตามเส้นทางเดินของพายุมาจนถึงวันนี้ จนเมื่อเอวิเนียร์อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และสลายตัวไปเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ[33]
  • วันที่ 13 มิถุนายน อย่างไรก็ตาม ซากของเอวิเนียร์ได้เคลื่อนตัวลงไปในทะเลและยังคงกำลังต่อเนื่องอยู่พักหนึ่ง จนสลายตัวไปหมดในวันนี้

มีผู้เสียชีวิตรวมจำนวน 13 คน ขณะที่มีความเสียหายที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินหลักของประเทศจีนนับได้ประมาณ 5.19 พันล้านหยวน (812 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[34]

พายุโซนร้อนกำลังแรงมาลิกซี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา3 – 11 มิถุนายน
ความรุนแรง110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
970 mbar (hPa; 28.64 inHg)
ชื่อของ PAGASA: โดเมง

  • วันที่ 3 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นและทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันทางตะวันตกเฉียงเหนือของปาเลา[35]
  • วันที่ 4 มิถุนายน ระบบได้รับชื่อจาก PAGASA ว่า โดเมง (Domeng) ในขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ[36][37] หลังจากที่ระบบรวมตัวกันเป็นหนึ่งได้แล้ว กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจึงได้ปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อว่า มาลิกซี (Maliksi)[35] อย่างไรก็ตาม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมยังไม่ได้ติดตามเส้นทางเดินพายุ
  • วันที่ 8 มิถุนายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ติดตามพายุในเวลา 03.00 UTC และให้รหัสเรียกขานว่า 06W[38] ระบบพายุเคลื่อนตัวไปทางเหนือ มาลิกซียังคงทวีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 10 มิถุนายน มาลิกซีมีกำลังแรงสูงสุดโดยมีลมที่ศูนย์กลาง 110 กม./ชม. ซึ่งมีความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นขั้นแรก และมีความกดอากาศต่ำที่สุดที่ 970 hPa[35][39] ในลักษณะการดำเนินงาน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงจัดมาลิกซีเป็นพายุไต้ฝุ่นในช่วงสั้น ๆ แต่ได้ลดระดับลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ก่อนที่จะมีการวิเคราะห์ออกมา[40]
  • วันที่ 11 มิถุนายน หลังจากนั้น มาลิกซีได้เริ่มอ่อนกำลังลงและเริ่มเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน ทั้งยังต้องเผชิญหน้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย จนทั้งสองหน่วยงานได้หยุดการเตือนภัยลงในทันทีกับระบบ และศูนย์กลางของระบบเริ่มที่จะปรากฏเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[35][41]
  • วันที่ 13 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงติดตามเส้นทางเดินซากของมาลิกซีจนถึงเวลา 00.00 UTC[35]

แม้จะไม่ได้พัดขึ้นฝั่งในฟิลิปปินส์ แต่มาลิกซีได้กระตุ้นใน PAGASA ต้องประกาศเริ่มต้นฤดูฝนอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 มิถุนายน 2561 มีประชาชน 2 คนเสียชีวิตจากฝนตกหนักจากลมมรสุมที่ถูกเร่งโดยมาลิกซี ในฟิลิปปินส์[42]

พายุโซนร้อน 07W

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา13 – 15 มิถุนายน
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
993 mbar (hPa; 29.32 inHg)
  • วันที่ 12 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของไต้หวัน ภายในแนวปะทะอากาศเหมยหยู และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ได้ระบุว่าระบบเป็นพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน[43]
  • วันที่ 13 มิถุนายน เวลา 21.00 UTC ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกคำแนะนำแรกกับระบบ และให้รหัสเรียกขานว่า 07W และจัดระดับเป็นพายุดีเปรสชัน[44] แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีลมเฉือนปานกลางถึงรุนแรง แต่ระบบยังตั้งอยู่เหนือบริเวณที่มีอุณหภูมิน้ำทะเลอบอุ่นสัมพัทธ์กับการพาความร้อน และกระตุ้นให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมปรับ 07W เป็นพายุโซนร้อน[45]
  • วันที่ 14 มิถุนายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมออกคำแนะนำฉบับที่สี่ซึ่งเป็นฉบับสุดท้าย ในเวลา 15.00 UTC เมื่อระบบได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอย่างรวดเร็ว และสูญเสียโครงสร้างไปอย่างรวดเร็ว[46]
  • วันที่ 15 มิถุนายน 07W กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอย่างสมบูรณ์ทางใต้ของเกาะหลักของประเทศญี่ปุ่นในเวลา 06.00 UTC โดยซากของระบบยังถูกติดตามไปจนถึงวันที่ 25 มิถุนายน เมื่อมันเข้าใกล้ชายฝั่งของบริติชโคลัมเบีย[43]

พายุโซนร้อนแคมี

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา13 – 16 มิถุนายน
ความรุนแรง85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)
ชื่อของ PAGASA: เอสเตร์

  • วันที่ 13 มิถุนายน พายุดีเปรสชันก่อตัวเหนือทะเลจีนใต้ จากร่องความกดอากาศต่ำของพายุโซนร้อน 07W
  • วันที่ 14 มิถุนายน PAGASA ประกาศว่าระบบได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ จึงได้ใช้ชื่อ เอสเตร์ (Ester) กับระบบ ในเวลาเที่ยงคืนพายุดีเปรสชันเอสเตร์ (08W) ได้พัดขึ้นฝั่ง และหลังจากที่พายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน พายุจึงได้ชื่อว่า แคมี (Gaemi) จากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น
  • วันที่ 16 มิถุนายน แคมีกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน
  • วันที่ 19 มิถุนายน NDRRMC (สภาบริหารและลดความเสี่ยงภัยพิบัติแห่งชาติของฟิลิปปินส์) ได้รายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 3 รายจากฝนมรสุม ที่ถูกกระตุ้นโดยพายุแคมี[47]

พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา28 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม
ความรุนแรง120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
960 mbar (hPa; 28.35 inHg)
ชื่อของ PAGASA: โฟลรีตา

  • วันที่ 28 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำที่อยู่ทางตะวันตกของเกาะโอกิโนโทริชิมะ ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน
  • วันที่ 29 มิถุนายน PAGASA ได้เริ่มออกคำแนะนำกับระบบ และให้ชื่อว่า โฟลรีตา (Florita) อีก 6 ชั่วโมงต่อมา พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจึงใช้ชื่อสากลว่า พระพิรุณ (Prapiroon)
  • วันที่ 30 มิถุนายน พระพิรุณทวีกำลังแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไปตามระดับของพายุโซนร้อน
  • วันที่ 2 กรกฎาคม พระพิรุณทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น ขณะที่มันอยู่ใกล้กับประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
  • วันที่ 3 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณทวีกำลังแรงที่สุด และพัดขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่น หลังจากพัดขึ้นฝั่งแล้ว พระพิรุณได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 4 กรกฎาคม พระพิรุณอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

ในครั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ติดตามเส้นทางเดินของพายุไปจนถึงวันที่ 10 กรกฎาคม จนกระทั่งพายุสลายตัวไปอย่างสมบูรณ์[48][49]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์พายุหมุนเขตร้อนเพียง 1 ราย ซึ่งเป็นชาวเกาหลีใต้[50]

พายุไต้ฝุ่นมาเรีย

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา3 – 12 กรกฎาคม
ความรุนแรง195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
915 mbar (hPa; 27.02 inHg)
ชื่อของ PAGASA: การ์โด

  • วันที่ 3 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้น
  • วันที่ 4 กรกฎาคม ระบบพายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า มาเรีย (Maria)
  • วันที่ 5 กรกฎาคม มาเรียทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ในขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจัดให้มาเรียเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 ซึ่งเป็นผลมาจากการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • วันที่ 6 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นมาเรียกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น และกลายเป็นพายุระดับ 5 ลูกแรกในแอ่ง นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นนกเต็น เมื่อฤดู 2559 ไม่นานหลังจากนั้น มาเรียประสบกับภาวะวัฏจักรการแทนที่กำแพงตา ทำให้มันอ่อนกำลังลงมีสถานะต่ำกว่าพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น
  • วันที่ 8 กรกฎาคม วัฏจักรการแทนที่กำแพงตาของมาเรียเสร็จสมบูรณ์ และได้กลับเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 อีกครั้ง

พายุโซนร้อนเซินติญ

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา15 – 24 กรกฎาคม
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
994 mbar (hPa; 29.35 inHg)
ชื่อของ PAGASA: เฮนรี

  • วันที่ 15 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมะนิลา ฟิลิปปินส์[51] ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมให้รหัสเรียกขานว่า 11W ในขณะที่ PAGASA ให้ชื่อว่า เฮนรี (Henry) โดยระบบมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างรวดเร็ว
  • วันที่ 17 กรกฎาคม ในที่สุดพายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นว่า เซินติญ (Son-Tinh) โดยตัวพายุมีโครงสร้างการหมุนเวียนที่ดีขึ้น[52] ถึงแม้ว่าหลังจากนั้น เซินติญจะอ่อนกำลังลงเล็กน้อยเมื่อเคลื่อนผ่านใกล้เกาะไหหนาน และประสบกับปัญหาลมเฉือนกำลังปานกลาง[53]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม อย่างไรก็ตาม เซินเติญทวีกำลังแรงขึ้นเล็กน้อยเหนืออ่าวตังเกี๋ย เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่อบอุ่น ก่อนที่มันจะพัดขึ้นฝั่งภาคเหนือของเวียดนาม[54]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม ทั้งสองหน่วยงานต่างออกการเตือนภัยเป็นฉบับสุดท้ายกับพายุเซินติญ เนื่องจากระบบพายุได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และฝังตัวเข้ากับมรสุม[55]

อย่างไรก็ตาม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมยังติดตามเส้นทางของเศษที่เหลือจากพายุต่ออีกสองวัน ก่อนที่มันจะสลายตัวไปอย่างสมบูรณ์[56]

พายุโซนร้อนกำลังแรงอ็อมปึล

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา17 – 24 กรกฎาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)
ชื่อของ PAGASA: อินได

  • วันที่ 17 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันกำลังอ่อนก่อตัวขึ้นเหนือทะเลฟิลิปปิน พร้อมกับการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วและระบบตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงเริ่มติดตามระบบพายุ และให้รหัสเรียกว่า 12W[57]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม PAGASA ได้เริ่มติดตามพายุนี้ และใช้ชื่อท้องถิ่นกับพายุว่า อินได (Inday) ต่อมาเวลา 12.00 UTC ระบบพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า อ็อมปึล (Ampil)[58] โดยขณะที่อ็อมปึลมีทิศทางการเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ โครงสร้างของระบบได้เริ่มขยายตัวขึ้นพร้อมกับการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วที่พัดอย่างต่อเนื่อง[59]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม แม้ว่าความร้อนในมหาสมุทรจะไม่เอื้ออำนวยต่อตัวพายุก็ตาม แต่อ็อมปึลก็ยังคงอยู่เหนือบริเวณที่มีอุณหภูมิน้ำทะเลที่อบอุ่นสัมพัทธ์ และยังมีการหมุนเวียนที่รวดเร็วมากขึ้นด้วย[60] ดังนั้น อ็อมปึลจึงถูกจัดเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง โดยมีระบบการหมุนเวียนที่ดีขึ้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมประเมินว่าอ็อมปึลมีลมพัดแรงสุดใน 1 นาทีที่ศูนย์กลางถึง 95 กม./ชม.[61] อ็อมปึลทวีกำลังแรงที่สุดที่ความกดอากาศต่ำสุด 985 hPa และยังคงความรุนแรงในระดับนั้นอีกหลายวัน
  • วันที่ 21 กรกฎาคม ศูนย์กลางของพายุเริ่มยืดตัวออก และระบบพายุเริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อย[62]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับลดความรุนแรงของอ็อมปึลกลับไปเป็นพายุโซนร้อน ในขณะที่ระบบพัดขึ้นฝั่งประเทศจีน และการหมุนเวียนเริ่มไม่เพียงพอ[63]
  • วันที่ 23 กรกฎาคม อ็อมปึลอ่อนกำลังลงอีกเป็นพายุดีเปรสชัน และทั้งสองหน่วยงานได้ออกการเฝ้าระวังฉบับสุดท้ายกับพายุ[64]
  • วันที่ 24 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงติดตามเส้นทางเดินของพายุต่อ จนกระทั่งพายุอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในเวลา 18.00 UTC

ในมณฑลชานตงมีฝนตกลงมาอย่างหนัก วัดปริมาณน้ำฝนสะสมได้ที่ 237 มม. (9.3 นิ้ว) ในเทศบาลนครเทียนจิน ทำให้เกิดน้ำท่วมขึ้น มีน้ำท่วมขังอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมถึง 316 ตารางกิโลเมตร (31,600 เฮกเตอร์) มีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 260,000 คน มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งคนในประเทศจีน และมีความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมถึง 1.19 พันล้านหยวน (5.6 พันล้านบาท หรือ 175.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[65]

พายุโซนร้อนกำลังแรงอู๋คง

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา22 – 26 กรกฎาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)
  • วันที่ 21 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมเริ่มออกคำแนะนำให้กับพายุดีเปรสชัน 14W ที่ก่อตัวขึ้นมาห่างจากเกาะมินามิโทริชิมะไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 603 กม.[66]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มติดตามเส้นทางเดินของพายุ ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับ 14W เป็นพายุโซนร้อน แม้ว่าในความเป็นจริงการหมุนเวียนของพายุนั้นถูกพัด เนื่องจากระบบตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม โดยมีลมเฉือนแนวตะวันตกเฉียงใต้อยู่[67]
  • วันที่ 23 กรกฎาคม 14W เริ่มมีการจัดระบบและเริ่มมีการหมุนเวียนรวดเร็วขึ้น[68] ต่อมาในเวลา 12.00 UTC กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับให้พายุเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อว่า อู๋คง (Wukong) โดยพายุมีทิศทางเคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือ
  • วันที่ 25 กรกฎาคม อู๋คงค่อย ๆ ทวีกำลังแรงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่มันเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม โดยมีลมเฉือนน้อยกว่า และในที่สุดกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ได้ปรับให้อู๋คงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้อู๋คงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 หลังจากที่ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงตาของพายุขนาด 30 ไมล์ทะเลที่มีลักษณะยุ่งเหยิง[69]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม ทั้งสองหน่วยงานออกคำแนะนำสุดท้ายให้กับพายุอู่คง ในขณะที่มันเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอย่างรวดเร็ว[70]
  • วันที่ 27 กรกฎาคม เศษนอกเขตร้อนที่หลงเหลือของอู๋คงถูกติดตามไปจนกระทั่งมันไปอยู่ที่นอกชายฝั่งของรัสเซียตะวันออกไกล[71]

พายุไต้ฝุ่นชงดารี

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา23 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม
ความรุนแรง140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
965 mbar (hPa; 28.5 inHg)

พายุไต้ฝุ่นชงดารีเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลัง มีช่วงอายุยาวนานและมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ อิทธิพลของพายุส่งผลกระทบต่อประเทศญี่ปุ่นและภาคตะวันออกของประเทศจีน ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นสิงหาคม ชงดารีเป็นพายุที่ได้รับชื่อเป็นอันดับที่สิบสองของฤดูกาลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ชงดารีทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นลำดับที่สี่ในวันที่ 26 กรกฎาคม ตัวพายุได้รับอิทธิพลจากลิ่มความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อน (Subtropical ridge) และความกดอากาศต่ำระดับบน ทำให้ชงดารีมีทิศทางการเคลื่อนตัวเป็นลักษณะทวนเข็มนาฬิกา และทวีกำลังแรงจนถึงความรุนแรงสูงสุดของมัน จากนั้นจึงเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่น ที่คาบสมุทรคี ในจังหวัดมิเอะ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม

พายุไต้ฝุ่นชานชาน

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา2 – 10 สิงหาคม
ความรุนแรง130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
970 mbar (hPa; 28.64 inHg)
  • วันที่ 2 สิงหาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือเฉเหนือของกวม ต่อมาในเวลา 21.00 UTC ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้เริ่มติดตามเส้นทางเดินของพายุ และให้รหัสเรียกว่า 17W[72]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 17W ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นใช้ชื่อกับพายุว่า ชานชาน (Shanshan)[73] ตัวพายุตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ในขณะที่ระบบพายุกำลังรวมตัว[74] ดังนั้น ชานชานจึงทวีกำลังแรงขึ้นได้อีกเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 4 สิงหาคม ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ต่างปรับให้ชานชานเป็นพายุไต้ฝุ่น หลังจากที่การหมุนเวียนอย่างรวดเร็วถูกพบว่าได้โอบล้อมเข้าสู่ศูนย์กลางของการพัฒนา การวิเคราะห์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นระบุว่าตัวพายุมีความเร็วลมพัดสูงสุดใน 10 นาทีที่ 130 กม./ชม. และความกดอากาศต่ำสุดที่ 970 hPa และคงสถานะอยู่อย่างนั้นเป็นเวลาหลายวัน
  • วันที่ 6 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ระบุว่าชานชานเริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อย หลังจากที่มีกำลังแรงอยู่ในระยะหนึ่ง เมื่อตาของพายุเริ่มมีลักษณะขรุขระและเริ่มหายไปเล็กน้อย
  • วันที่ 7 สิงหาคม อย่างไรก็ตาม ชานชานได้กลับมาทวีกำลังแรงอีกครั้งหนึ่งและมีความรุนแรงถึงพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 โดยมีลมพัดแรงใน 1 นาทีที่ 165 กม./ชม. ขณะที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น จากนั้นเป็นต้นมา ชานชานเริ่มเปลี่ยนเส้นทางเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกอย่างรวดเร็ว และอ่อนกำลังลง
  • วันที่ 9 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกคำแนะนำเป็นฉบับสุดท้าย
  • วันที่ 10 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นติดตามเส้นทางเดินของพายุ จนกระทั่งระบบได้เปลี่ยนเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในเวลา 06.00 UTC

พายุโซนร้อนยางิ

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา6 – 15 สิงหาคม
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)
ชื่อของ PAGASA: การ์ดิง

  • วันที่ 1 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำพัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะอิโอะ จิมะ[75]
  • วันที่ 6 สิงหาคม หลังจากที่ผ่านมาเป็นเวลาห้าวัน ในที่สุดระบบก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน โดยการตรวจของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ติดตามด้วยในเวลาต่อมา[76] นอกจากนี้ PAGASA ยังเริ่มออกแถลงการณ์ถึงระบบพายุ และให้ชื่อท้องถิ่นว่า การ์ดิง (Karding) ส่วนตัวพายุยังคงกำลังเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน เนื่องจากลมเฉือนตะวันออกกำลังปานกลางถึงกำลังแรง มีจะมีการหมุนเวียนอยู่รอบ ๆ ระบบก็ตาม[77]
  • วันที่ 8 สิงหาคม ภาพจากดาวเทียม METOP-A ASCAT แสดงให้เห็นว่าระบบมีกำลังลมถึง 35 นอต ด้วยเหตุนี้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงปรับให้มันเป็นพายุโซนร้อน[78] พร้อมกันนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ยังปรับให้มันเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน และใช้ชื่อว่า ยางิ (Yagi)
  • วันที่ 9 สิงหาคม ยางิมีทิศทางเคลื่อนตัวโค้งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ในขณะที่ตัวพายุก็ยังต้องสู้กับลมเฉือนอยู่อย่างต่อเนื่อง และพยายามที่จะทวีกำลังแรงขึ้น
  • วันที่ 11 สิงหาคม เวลา 12.00 UTC กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นพิเคราะห์ว่ายางิบรรลุความรุนแรงสูงสุด โดยมีความเร็วลมพัดต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 75 กม./ชม. และมีความกดอากาศต่ำที่สุด 990 hPa ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมประกาศว่ายางิบรรลุความเร็วลมที่ 85 กม./ชม. ในเวลาเดียวกัน หลังจากที่พายุรวมตัวกันได้และมีโครงสร้างที่ดีขึ้นแล้ว[79]
  • วันที่ 12 สิงหาคม ยางิขึ้นฝั่งที่เขตเวินหลิงในเมืองไท้โจวของมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ในเวลาประมาณ 23.35 น. ตามเวลาท้องถิ่น[80] ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกคำแนะนำเป็นฉบับสุดท้าย[81]
  • วันที่ 13 สิงหาคม แต่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมยังคงติดตามเส้นทางเดินพายุไปจนมันอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน[82] กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ทำเช่นเดียวกันในเวลา 06.00 UTC
  • วันที่ 15 สิงหาคม แต่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงติดตามเส้นทางเดินของพายุจนมันกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน

แม้ว่ายางิจะไม่ได้พัดขึ้นฝั่งในประเทศฟิลิปปินส์ แต่ตัวพายุนั้นได้กระตุ้นให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น และก่อให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมอย่างรุนแรงในหลายเขตของฟิลิปปินส์ NDRRMC ประกาศว่ามีผู้เสียชีวิตสองคน มีความเสียหาย 996 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (595 ล้านบาท หรือ 18.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม[83] ส่วนในภาคตะวันออกของประเทศจีน ยางิได้คร่าชีวิตคนจำนวนสามคน และสร้างความเสียหายมูลค่า 2.51 พันล้านหยวน (1.19 หมื่นล้านบาท หรือ 367 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[34]

พายุโซนร้อนเบบินคา

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา9 – 17 สิงหาคม
ความรุนแรง85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)
  • วันที่ 9 สิงหาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ ในตอนแรกระบบยังคงไม่เคลื่อนที่
  • วันที่ 12 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้เริ่มติดตามระบบ และให้รหัสเรียกว่า 20W[84]
  • วันที่ 13 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับให้พายุดีเปรสชันเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อว่า เบบินคา (Bebinca) อีกเก้าชั่วโมงต่อมา ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ปรับตาม เมื่อพบการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วค่อย ๆ บานออกใกล้ศูนย์กลางที่กะทัดรัด[85] ทั้ง ๆ ที่การหมุนเวียนสอดคล้องกันกับอุณหภูมิน้ำทะเลที่อบอุ่น แต่เบบินคาก็ยังคงมีกำลังอ่อนอยู่เนื่องจากลมเฉือนที่มีกำลังแรง[86]
  • วันที่ 16 สิงหาคม เบบินคา เริ่มเข้าสู่ช่วงที่ทวีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากศูนย์กลางของมันมียกตัวของไอน้ำอย่างหนาแน่นจากแกนกลางของพายุ (Central dense overcast)[87] และดังนั้น กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจึงจัดให้เบบินคาเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการวิเคราะห์ในอีกหลายชั่วโมงต่อมา โดยระบบบรรลุความรุนแรงสูงสุดโดยมีลมพัดแรงใน 1 นาทีต่อเนื่องที่ 110 กม./ชม.
  • วันที่ 17 สิงหาคม เบบินคาพัดขึ้นฝั่ง ระบบอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และทั้งสองหน่วยงานได้ออกคำแนะนำเป็นฉบับสุดท้าย และสลายตัวลงไปในวันเดียวกัน

เบบินคาทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมจำนวน 6 คน มีความเสียหายทางเศรษฐกิจในภาคใต้ของจีนที่ 2.31 พันล้านหยวน (1.09 หมื่นล้านบาท หรือ 333 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[34] มีความเสียหายทั้งหมดในเวียดนามรวม 7.86 แสนล้านด่อง (1.11 พันล้านบาท หรือ 33.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[88]

พายุโซนร้อนกำลังแรงหลี่ผี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา11 – 15 สิงหาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
994 mbar (hPa; 29.35 inHg)
  • วันที่ 11 สิงหาคม พายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน หลี่ผี (Leepi)
  • วันที่ 13 สิงหาคม พายุโซนร้อนหลี่ผีเริ่มคุกคามประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 14 สิงหาคม หลี่ผีทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และมีสถานะเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 เป็นเวลาสั้น ๆ โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม
  • วันที่ 15 สิงหาคม หลี่ผีขึ้นฝั่งที่เมืองฮีวงะ จังหวัดมิยาซากิ ประเทศญี่ปุ่น และสลายตัวลงไปในวันเดียวกัน เหลือเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนที่ไม่เหลือพลังงานใด ๆ เลย และมุ่งหน้าไปทางแผ่นดินหลักของรัสเซีย[89]
  • วันที่ 16 สิงหาคม หลี่ผีสลายตัวไป โดยตำแหน่งสุดท้ายที่ถูกติดตามคือทางตะวันออกของประเทศเกาหลีใต้ ในฐานะหย่อมความกดอากาศต่ำ

พายุโซนร้อนเฮกเตอร์

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา13 (เข้ามาในแอ่ง) – 16 สิงหาคม
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)
  • วันที่ 13 สิงหาคม เวลา 18.00 UTC ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ต่างประกาศว่าพายุโซนร้อนเฮกเตอร์จากแอ่งแปซิฟิกตะวันออก ได้เคลื่อนตัวข้ามเส้นแบ่งเขตวันสากลเข้าสู่แอ่งแปซิฟิกตะวันตกแล้ว[90] ที่จุดนี้ เฮกเตอร์ยังคงตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมอันเหมาะสม คือ มีเพียงลมเฉือนกำลังปานกลาง แม้ว่าการหมุนเวียนที่เร็วจะถูกจำกัดอยู่บริเวณใกล้ศูนย์กลางของพายุเท่านั้น[91]
  • วันที่ 14 สิงหาคม เนื่องจากกระแสวนหมุนในชั้นโทรโพสเฟียร์ระดับบนที่อยู่ทางตะวันตกของเฮกเตอร์ ทำให้มันเริ่มสูญเสียความรุนแรงและเริ่มอ่อนกำลังลง[92] โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับลดเฮกเตอร์ลงเป็นพายุดีเปรสชัน หลังจากที่ระบบได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ที่มีลมเฉือนแนวตั้งที่พัดแรง[93]
  • วันที่ 15 สิงหาคม ทั้งสองหน่วยงานต่างออกคำเตือนฉบับสุดท้ายของพายุเฮกเตอร์ โดยกล่าวว่า ศูนย์กลางเมฆระดับต่ำ (LLCC) ของเฮกเตอร์ได้เริ่มยืดขยายออก และตัวพายุนั้นก็ได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนกึ่งเขตร้อนเรียบร้อยแล้ว[94]
  • วันที่ 17 สิงหาคม อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงเฝ้าติดตามพายุจนถึงเวลา 00.00 UTC

พายุโซนร้อนรุมเบีย

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา14 – 19 สิงหาคม
ความรุนแรง85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)
  • วันที่ 15 สิงหาคม พายุดีเปรสชันในทะเลจีนตะวันออกทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและได้ชื่อว่า รุมเบีย (Rumbia)
  • วันที่ 16 สิงหาคม รุมเบียบรรลุความรุนแรงสูงสุดเหนืออ่าวหางโจว
  • วันที่ 17 สิงหาคม รุมเบียได้พัดขึ้นฝั่งที่เขตผู่ตง เซี่ยงไฮ้ ในเวลาประมาณ 04.05 น. ตามเวลาท้องถิ่น และกลายเป็นพายุโซนร้อนลูกที่สามของปีที่พัดเข้าเซี่ยงไฮ้ในปี 2561[95]

รุมเบียทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 22 คนในภาคตะวันออกของจีน และมีความเสียหายทางเศรษฐกิจ 9.2 พันล้านหยวน (4.34 หมื่นล้านบาท หรือ 1.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[96][97] ที่เขตโช่วกวงมีปริมาณน้ำฝน 174.7 มม. มีบ้านเรือน 10,000 หลังถูกทำลาย มีผู้เสียชีวิต 13 คน เมืองนี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตผักและการเกษตรรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจีนได้รับความเสียหายอย่างมาก โรงเรือน 200,000 โรงถูกทำลายลง ต้นน้ำของแม่น้ำหมี่มีปริมาณน้ำฝนถึง 241.6 มม. และเป็นสาเหตุให้มีน้ำท่วม ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำสามอ่างสูงขึ้นในระดับอันตราย ทำให้เจ้าหน้าที่ปล่อยน้ำส่วนเกินออกเพื่อป้องกันไม่ให้อ่างเก็บน้ำพังทลายลง การเพิ่มขึ้นของปลายน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงในเมืองโช่วกวง เศษพายุหมุนนอกเขตร้อนของรุมเบียถูกติดตามเส้นทางไปถึงทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮกไกโดก่อนจะสลายตัวลงทางชายฝั่งของรัสเซียตะวันออกไกล[97]

พายุไต้ฝุ่นซูลิก

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา15 – 24 สิงหาคม
ความรุนแรง155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
950 mbar (hPa; 28.05 inHg)
  • วันที่ 15 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลฟิลิปปินจัดระบบตัวเป็นพายุดีเปรสชัน
  • วันที่ 16 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกคำแนะนำกับระบบ และใช้รหัสว่า 22W ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นประกาศว่าระบบเป็นพายุโซนร้อนและให้ชื่อว่า ซูลิก (Soulik)
  • วันที่ 17 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับให้ซูลิกเป็นพายุไต้ฝุ่น มันจึงกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นลูกที่หกของฤดูกาล ซูลิกทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุที่มีกำลังแรงอย่างรวดเร็ว
  • วันที่ 18 สิงหาคม ซูลิกบรรลุความรุนแรงสูงสุดที่ความเร็วลม 165 กม./ชม. และยังคงความรุนแรงเท่านั้นต่อไปอีกหลายวัน
  • วันที่ 22 สิงหาคม หลังจากที่เคลื่อนผ่ายหมู่เกาะรีวกีวแล้ว พายุได้ค่อย ๆ อ่อนกำลังลงเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่ต่ำ
  • วันที่ 23 สิงหาคม ซูลิกพัดขึ้นฝั่งที่อำเภอแฮนัม จังหวัดจอลลาใต้ ของประเทศเกาหลีใต้ ในเวลาประมาณ 23.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (14.00 UTC)[98]

ความเสียหายในจังหวัดเชจูอยู่ที่ประมาณ 5.22 พันล้านวอน (ประมาณ 151 ล้านบาท หรือ 4.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[99] มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนอยู่ที่ 550 ล้านหยวน (2.6 พันล้านบาท หรือ 79.9 ล้านบาท)[100] ส่วนอุทกภัยในเกาหลีเหนือซึ่งเกิดจากการกระตุ้นของพายุซูลิก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 86 คน[101]

พายุไต้ฝุ่นซีมารอน

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 24 สิงหาคม
ความรุนแรง155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
950 mbar (hPa; 28.05 inHg)
  • วันที่ 16 สิงหาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นใกล้กับหมู่เกาะมาร์แชลล์
  • วันที่ 17 สิงหาคม พายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า ซีมารอน (Cimaron)
  • วันที่ 18 สิงหาคม ซีมารอนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในที่สุด

พายุไต้ฝุ่นซีมารอนบรรลุความรุนแรงสูงสุดที่พายุไต้ฝุ่นระดับ 3

พายุไต้ฝุ่นซีมารอนอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนที่จะเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และมุ่งหน้าไปทางแผ่นดินหลักของรัสเซีย เป็นเพียงแค่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพายุอันรุนแรง พายุไต้ฝุ่นซีมารอนเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ตามมาตราของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม และเป็นพายุลูกที่ 12 ที่พัดเข้าญี่ปุ่นในปี 2561 และตามด้วยพายุที่โดดเด่นอย่างพายุไต้ฝุ่นเชบีในเดือนถัดมา[102] โดยซีมารอนพัดขึ้นฝั่งที่เมืองฮิเมจิ จังหวัดเฮียวโงะ ในเวลาใกล้เที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่น[103]

พายุไต้ฝุ่นเชบี

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา27 สิงหาคม – 4 กันยายน
ความรุนแรง195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
915 mbar (hPa; 27.02 inHg)
ชื่อของ PAGASA: ไมไม

ดูบทความหลักที่: พายุไต้ฝุ่นเชบี (พ.ศ. 2561)
  • วันที่ 25 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวชึ้นใกล้กับหมู่เกาะมาร์แชลล์
  • วันที่ 27 สิงหาคม ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น การหมุนเวียนที่เร็วขึ้นอย่างต่อเนื่องนำพาให้ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ใช้ชื่อว่า เชบี (Jebi)
  • วันที่ 29 สิงหาคม ระบบพายุได้อยู่ในภาวะการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ลูกที่ 3 ของฤดูกาล
  • วันที่ 4 กันยายน เชบีที่อ่อนกำลังลง แต่ยังมีพลังอยู่มากได้พัดขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของจังหวัดโทกูชิมะ ในเวลาประมาณ 12.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น (10.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ก่อนจะเคลื่อนตัวไปยังอ่าวโอซากะและขึ้นฝั่งอีกครั้งที่ใกล้ ๆ กับนครโกเบ จังหวัดเฮียวโงะที่เวลาประมาณ 14.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น (12.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ต่อมาพายุไต้ฝุ่นเชบีได้พัดไปปกคลุมเหนือจังหวัดเคียวโตะ และสร้างความหายนะอย่างมากขึ้นไปอีก ต่อมาพายุไต้ฝุ่นเชบีเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลญี่ปุ่นในเวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น (13.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) พร้อมกันนั้น แนวปะทะอากาศเย็นได้ก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่าตัวพายุเชบีเริ่มมีการเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนแล้ว
  • วันที่ 5 กันยายน หลังจากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมออกคำเตือนเป็นฉบับสุดท้ายในเวลา 00.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น แล้วพายุไต้ฝุ่นเชบีได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในเวลาประมาณ 03.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น (01.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ในขณะที่ระบบอยู่ใกล้กับคาบสมุทรชาโกตันของจังหวัดฮกไกโด พายุเชบีเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอย่างสมบูรณ์ที่แถบชายฝั่งของดินแดนปรีมอร์สกี ประเทศรัสเซีย ในเวลาประมาณ 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นเขตวลาดิวอสต็อก (07.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) หลังจากนั้นพายุหมุนนอกเขตร้อนก็ได้เคลื่อนเข้าสู่แผ่นดินของรัสเซียที่ดินแดนฮาบารอฟสค์ และมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเคลื่อนตัวอยู่ในบริเวณของแผ่นดิน โดยระบบพายุนอกเขตร้อนมีทิศทางเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือก่อน แล้วจึงเปลี่ยนทิศทางไปทางเหนือ
  • วันที่ 7 กันยายน ตัวระบบสลายตัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของเขตชนบทอายันในช่วงเช้าของวัน

พายุไต้ฝุ่นเชบีเป็นพายุไต้ฝุ่นที่ทรงพลัง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 17 คน (ณ วันที่ 11 กันยายน 2561) เชบีส่งผลกระทบกับหมู่เกาะมาเรียนา ไต้หวัน ญี่ปุ่น และรัสเซียตะวันออกไกลในประเทศญี่ปุ่น จังหวัดโอซากะได้รับผลกระทบอย่างเลวร้ายจากลมกระโชกที่มีความเร็วที่บันทึกได้ถึง 209 กม./ชม. ที่ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ และบันทึกได้ที่สถานีตรวจอากาศนครโอซากะ มีความเร็วลมถึง 171 กม./ชม. และบันทึกความกดอากาศต่ำที่สุดที่ระดับน้ำทะเลได้ 962 มิลลิบาร์ ถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ที่บันทึกได้เมื่อปีฤดูกาล 2504 (โดยพายุไต้ฝุ่นแนนซี) และถือเป็นความกดอากาศต่ำที่สุดในอันดับที่ห้าที่บันทึกได้ น้ำขึ้นจากพายุสูง 3.29 เมตรก่อให้เกิดน้ำท่วมตามแนวชายฝั่งของอ่าวโอซากะ รวมทั้งท่าอากาศยานนานาชาติคันไซด้วย โดยบริเวณทางวิ่งของเครื่องบินถูกน้ำท่วมขัง และบริการบางอย่างของระบบเดินอากาศได้รับความเสียหายจากลมและน้ำ สัญลักษณ์ของเมืองโอซากาอย่างยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์เจแปนต้องปิดให้บริการในช่วงระหว่างที่พายุไต้ฝุ่นเคลื่อนผ่าน ที่จังหวัดวากายามะวัดความเร็วลมกระโชกสูงสุดได้ 207 กม./ชม. เช่นกัน ส่วนที่จังหวัดเคียวโตะ ศาลเจ้าหลายแห่งต้องปิดชั่วคราวในระหว่างที่พายุไต้ฝุ่นเคลื่อนตัวผ่าน สถานีรถไฟเกียวโตได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เช่น กระจกที่ประดับอยู่เหนิอลานกลางอาคาร ที่ปกคลุมส่วนทางออก ร้านค้า และโรงแรม ได้ยุบตัวลง และบางส่วนได้หายไปเล็กน้อยในระดับเซนติเมตร

พายุไต้ฝุ่นเชบีเป็นพายุไต้ฝุ่นที่ทรงพลังที่สุดที่พัดเข้าประเทศญี่ปุ่น นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นแยนซี เมื่อปี พ.ศ. 2536

พายุไต้ฝุ่นมังคุด

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา7 – 17 กันยายน
ความรุนแรง205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
905 mbar (hPa; 26.72 inHg)
ชื่อของ PAGASA: โอมโปง

ดูบทความหลักที่: พายุไต้ฝุ่นมังคุด
  • วันที่ 7 กันยายน พายุดีเปรสชันก่อตัวใกล้กับหมู่เกาะมาร์แชลล์ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจึงเริ่มออกคำแนะนำกับระบบ ต่อมาในเวลา 10.00 น. (03.00 UTC) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ได้เริ่มติดตามระบบ และให้รหัสว่า 26W ในช่วงปลายของวัน ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจึงได้ใช้ชื่อว่า มังคุด (Mangkhut)
  • วันที่ 11 กันยายน มังคุดทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น และพัดขึ้นฝั่งที่หมู่เกาะโรตาในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
  • วันที่ 12 กันยายน เวลาประมาณ 03.00 น. ตามเวลาในประเทศฟิลิปปินส์ พายุไต้ฝุ่นมังคุดได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ในฐานะพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 และดังนั้น PAGASA จึงได้ใช้ชื่อ โอมโปง (Ompong) กับพายุ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้บันทึกว่าพายุมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และบรรลุความรุนแรงที่สุดของตัวมันในเวลา 18.00 UTC (01.00 น. วันที่ 13 กันยายน ตามเวลาในประเทศไทย) โดยมีลมพัดอย่างต่อเนื่องในหนึ่งนาทีเร็ว 285 กม./ชม.
  • วันที่ 13 กันยายน รัฐบาลฟิลิปปินเริ่มออกคำสั่งให้อพยพประชาชนที่อยู่อาศัยในแนวที่พายุจะเคลื่อนผ่าน
  • วันที่ 14 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดพัดขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ มีลมพัดอย่างต่อเนื่องในหนึ่งนาทีเร็ว 266 กม./ชม. ขณะที่เคลื่อนผ่านไปบนแผ่นดินนั้น มังคุดได้อ่อนกำลังลงเล็กน้อย แต่ก็ยังเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นอยู่ และต่อมาได้อ่อนกำลังลงอีก แต่ต่อมาพายุมังคุดได้ทวีกำลังแรงขึ้นอีกเล็กน้อยอย่างช้า ๆ และปรากฏให้เห็นถึงตาพายุขนาดใหญ่ โดยพายุมีทิศทางมุ่งหน้าไปทางฮ่องกง
  • วันที่ 17 กันยายน เมื่อมังคุดพัดขึ้นฝั่งครั้งสุดท้าย มันได้อ่อนกำลังลงอีก และยังคงการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วบนแผ่นดินอยู่ ก่อนจะอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดพายุมังคุดสลายตัวไปเหนือมณฑลกวางซี ประเทศจีน

วันที่ 23 กันยายน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 134 คนเนื่องจากเหตุการณ์พายุมังคุด โดยในจำนวนนั้นอยู่ในฟิลิปปินส์ 127 คน[104][105] และอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ 6 คน[106] และในไต้หวันอีก 1 คน[107] วันที่ 5 ตุลาคม NDRRMC (สภาบริหารและลดความเสี่ยงภัยพิบัติแห่งชาติของฟิลิปปินส์) ประมาณว่าพายุไต้ฝุ่นมังคุดทำให้เกิดความเสียหายในฟิลิปปินส์ 3.39 หมื่นล้านเปโซฟิลิปปินส์ (2.09 หมื่นล้านบาท หรือ 627 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[108]

พายุโซนร้อนบารีจัต

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 13 กันยายน
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)
ชื่อของ PAGASA: เนเนง

  • วันที่ 8 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นใกล้กับจังหวัดบาตาเนส ประเทศฟิลิปปินส์ โดยได้รับชื่อท้องถิ่นว่า เนเนง (Neneng) พร้อมกับการเตือนสัญญาณเตือนพายุหมุนเขตร้อนระดับ 1 ในจังหวัดดังกล่าวด้วย
  • วันที่ 9 กันยายน พายุเนเนงเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน โดยได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นว่า บารีจัต (Barijat)
  • วันที่ 11 กันยายน พายุโซนร้อนบารีจัตเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกตามแนวนอนในทะเลจีนใต้
  • วันที่ 13 กันยายน พายุโซนร้อนบารีจัตได้พัดขึ้นฝั่งที่คาบสมุทรเหลโจว ใกล้กับบริเวณที่พายุโซนร้อนเซินติญพัดขึ้นฝั่งเมื่อ 2 เดือนก่อน ก่อนจะพัดขึ้นฝั่งอีกครั้งที่ตอนเหนือของเวียดนามในวันเดียวกัน ต่อมาในช่วงเย็น พายุบารีจัตอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำส่วนที่เหลือ
  • วันที่ 14 กันยายน ระบบได้สลายตัวไปในที่สุด

พายุโซนร้อนบารีจัตทำให้เกิดแผ่นดินถล่มกว่า 12 ครั้งในจังหวัดบาตาเนส ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินถล่มครั้งใหญ่และมหาอุทกภัย ในดินซึ่งอิ่มตัวจากอิทธิพลของพายุนี้และจากพายุมังคุด

พายุไต้ฝุ่นจ่ามี

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา20 กันยายน – 1 ตุลาคม
ความรุนแรง195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
915 mbar (hPa; 27.02 inHg)
ชื่อของ PAGASA: ปาเอง

  • วันที่ 19 กันยายน ห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพเรือสหรัฐเริ่มเฝ้าระวังหย่อมความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่ก่อตัวขึ้นเหนือรัฐชุก สหพันธรัฐไมโครนีเซีย
  • วันที่ 20 กันยายน ระบบมีทิศทางเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางทิศตะวันตก และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ตามการตรวจของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน
  • วันที่ 21 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนจัดระบบตัวเองอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ได้รับชื่อว่า จ่ามี (Trami)
  • วันที่ 22 กันยายน จ่ามียังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ก่อนที่จะทวีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่นในที่สุด
  • วันที่ 23 กันยายน จ่ามียังคงอยู่ภายในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จึงได้ทวีกำลังแรงขึ้นอีก และเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา
  • วันที่ 24 กันยายน ในช่วงเช้า จ่ามีทวีกำลังแรงขึ้นต่อหลังจากที่วัฎจักรการแทนที่กำแพงตาเสร็จสมบูรณ์แล้ว และมีกำลังเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นตามมาตราของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม
  • วันที่ 25 กันยายน เวลา 01:00 น. จ่ามีทวีกำลังแรงขึ้นเป็นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 (ตามมาตราของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม) ขณะที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น แต่ต่อมา จ่ามีเริ่มเคลื่อนตัวช้าลง และเริ่มหยุดนิ่ง ก่อนจะเคลื่อนตัวอีกครั้งโดยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเฉเหนือ ในช่วงเวลานี้ ได้เกิดวัฏจักรการแทนที่กำแพงตาขึ้นอีก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่ลดลง และทำให้จ่ามีเริ่มอ่อนกำลัง แต่มันก็ยังสามารถคงสถานะพายุได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน
  • วันที่ 30 กันยายน โครงสร้างของจ่ามีเริ่มเสื่อมลง และความเร็วลมของมันก็ลดลง โดยพายุไต้ฝุ่นได้พัดขึ้นฝั่งที่เมืองทานาเบะ จังหวัดวากายามะ ในเวลาประมาณ 20:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (18:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย)[109] ในฐานะพายุไต้ฝุ่น
  • วันที่ 1 ตุลาคม หลังจากขึ้นฝั่งแล้ว โครงสร้างของจ่ามีเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่จ่ามีส่งผลกระทบกับเกาะฮนชูแล้ว จ่ามีได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนที่ยังคงแรงลมระดับพายุไต้ฝุ่นโดยสมบูรณ์ และไปส่งผลกระทบกับหมู่เกาะคูริลต่อ จากนั้นจึงได้อ่อนกำลังลงโดยมีแรงลมในระดับพายุโซนร้อน จนลงเหลือเป็นเศษที่หลงเหลือนอกเขตร้อน (extratropical remnants) บริเวณทะเลเบริง ใกล้กับหมู่เกาะอะลูเชียน

ความเสียหายในจังหวัดชิซูโอกะอยู่ที่ 1 หมื่นล้านเยน (96.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[110]

พายุไต้ฝุ่นกองเร็ย

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา28 กันยายน – 6 ตุลาคม
ความรุนแรง215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
900 mbar (hPa; 26.58 inHg)
ชื่อของ PAGASA: กวีนี

  • วันที่ 25 กันยายน การแปรปรวนของลมในเขตร้อนก่อตัวขึ้นในพื้นทะเลใกล้กับเกาะโปนเปของสหพันธรัฐไมโครนีเซีย โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้พิเคราะห์ในระบบเป็นพายุ ในนามของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (Invest) 94W ซึ่งมีโอกาสในการพัฒนาที่น้อย[111]
  • วันที่ 27 กันยายน ระบบมีมิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก และเริ่มจัดระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ริเริ่มให้คำแนะนำกับพายุ ขณะเดียวกันศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน
  • วันที่ 28 กันยายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมให้รหัสเรียกกับระบบว่า 30W[112] ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ออกการแจ้งเตือนพายุลมแรงกับระบบ[113] พายุดีเปรสชันเขตร้อนยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นว่า กองเร็ย (Kong-rey)
  • วันที่ 29 กันยายน ระบบยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก และเข้าสู่พื้นที่ที่มีเงื่อนไขเหมาะสมกับการทวีกำลังแรง จนในที่สุดพายุกองเร็ยได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 30 กันยายน พายุกองเร็ยได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในเวลา 03:00 UTC (10:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) และยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 1 ตุลาคม กองเร็ยกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ในเวลา 18:00 UTC (01:00 น. ของวันที่ 2 ตุลาคม ตามเวลาในประเทศไทย)
  • วันที่ 2 ตุลาคม กองเร็ยทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ก่อนจะได้รับผลกระทบจากลมเฉือนแนวตั้ง, ความจุความร้อนมหาสมุทรต่ำ และการลดลงของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล
  • วันที่ 3 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นกองเร็ยอ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ขณะที่ตัวพายุเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา[114] ซึ่งลมเฉือนแนวตั้งที่เพิ่มขึ้นและอุณหภูมิน้ำทะเลที่ต่ำทำให้การทวีกำลังของกองเร็ยหยุดชะงักลง
  • วันที่ 4 ตุลาคม พายุกองเร็ยอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 6 ตุลาคม พายุโซนร้อนกองเร็ยพัดขึ้นฝั่งที่เมืองทงย็อง จังหวัดคย็องซังใต้ในประเทศเกาหลีใต้[115] หลังจากนั้น กองเร็ยได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และส่งผลกระทบกับตอนใต้ของจังหวัดฮกไกโด ใกล้กับเมืองฮาโกดาเตะ

มีผู้เสียชีวิตจากพายุนี้ในช่วงเดือนตุลาคมจำนวน 3 คน โดยเป็นชาวเกาหลีใต้ 2 คน[116] แม้ว่าพายุกองเร็ยจะไม่ได้พัดขึ้นฝั่งโดยตรงบนเกาะคีวชูและเกาะชิโกกุ แต่แถบเมฆฝนด้านนอกได้ส่งผลกระทบกับสองเกาะดังกล่าว โดยในเกาะชิโกกุ วัดปริมาณน้ำฝนสะสมได้ถึง 300 มม. ในจังหวัดนางาซากิกว่า 12,000 ครัวเรือนต้องอยู่อาศัยโดยไร้ไฟฟ้า[117] ส่วนในจังหวัดฟูกูโอกะ มีรายงานผู้เสียชีวิตจากฝนตก[118] โดยมีความเสียหายภาคการเกษตรในจังหวัดโอกินาวะและจังหวัดมิยาซากิประมาณ 12.17 พันล้านเยน (106.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.5 พันล้านบาท)[119][120]

โดยที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับพายุกองเร็ย แต่พายุเฮอร์ริเคนวาลากานั้นได้ทวีกำลังถึงพายุเฮอร์ริเคนระดับ 5 ในเวลาเดียวกันกับที่พายุกองเร็ยทวีกำลังถึงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ทำให้เหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ที่มีพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงในระดับ 5 เกิดขึ้นโดยพร้อมกันในซีกโลกเหนือ[121]

พายุไต้ฝุ่นยวี่ถู่

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา21 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน
ความรุนแรง215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
900 mbar (hPa; 26.58 inHg)
ชื่อของ PAGASA: โรซีตา

  • วันที่ 21 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามเส้นทางเดินของพายุดีเปรสชันที่ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของกวมและหมู่เกาะมาเรียนา พร้อมทั้งเริ่มออกคำแนะนำกับระบบ ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกรหัสเรียกกับระบบว่า 31W ต่อมาพายุลูกนี้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นว่า ยวี่ถู่ (Yutu)
  • วันที่ 22 ตุลาคม เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อันประกอบด้วย มีลมเฉือนต่ำ และอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูง เอื้ออำนวยให้พายุยวี่ถู่เกิดการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีความรุนแรงถึงพายุโซนร้อนกำลังแรงและพายุไต้ฝุ่น ภายในไม่กี่ชั่วโมงนับจากนั้น
  • วันที่ 23 ตุลาคม พายุยวี่ถู่ยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จนบรรลุความรุนแรงเป็นถึงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
  • วันที่ 24 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นยวี่ถู่ยังคงทวีกำลังแรงขึ้นต่อไปอีก และแสดงออกให้เห็นถึงโครงสร้างการพาความร้อนที่ดีของตัวระบบ ขณะที่กำลังเคลื่อนตัวไปทางเกาะไซปัน ต่อมาพายุไต้ฝุ่นยวี่ถู่ได้พัดขึ้นฝั่งที่เกาะติเนียน ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของไซปัน และกลายเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดที่มีผลกระทบต่อหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาเท่าที่เคยบันทึกมา[122][123]
  • วันที่ 25 ตุลาคม หลังจากพัดขึ้นฝั่งที่เกาะไซปันแล้ว พายุยวี่ถู่ได้เข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา ซึ่งกระบวนการได้เสร็จสมบูรณ์ลงในวันรุ่งขึ้น ผลที่ได้ไม่ดีนัก ซึ่งตาของพายุดูรุ่งริ่งและมีเมฆเข้ามาปกคลุม
  • วันที่ 27 ตุลาคม ตาพายุของพายุไต้ฝุ่นยวี่ถู่กลับมาปรากฏให้เห็นชัดได้อีกครั้ง และเมฆที่ก่อตัวในศูนย์กลางของพายุได้สลายไปจนหมด ทำให้ระบบทวีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาในช่วงปลายของวัน ได้ปรากฏเมฆในตาพายุอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในท้ายที่สุดทำให้การทวีกำลังของยวี่ถู่หยุดลง และเริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อย
  • วันที่ 28 ตุลาคม เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เมฆส่วนใหญ่ในศูนย์กลางของพายุยวี่ถู่หายไป แต่การทวีกำลังแรงของพายุนั้นไม่กลับคืนมา เนื่องจากมีลมเฉือนแนวตั้ง และอุณหภูมิน้ำทะเลที่เย็นลง ต่อมายวี่ถู่ได้อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปริมาณความจุความร้อนที่พื้นผิวน้ำทะเลลดลงอย่างฮวบฮาบ และถูกโจมตีด้วยลมเฉือนตะวันตก ทำให้โครงสร้างการพาความร้อนไม่ดีต่อพายุ และกำแพงตาด้านในเริ่มจะสลายตัว จนความรุนแรงได้ลดลงในที่สุด
  • วันที่ 30 ตุลาคม หลังจากที่พัดขึ้นฝั่งแล้ว การพาความร้อนส่วนใหญ่ของพายุยวี่ถู่หยุดการทำงาน และโครงสร้างโดยรวมของพายุเริ่มพังลงเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่ลดลง อีกทั้งกระแสลมเฉือนตะวันตกยังเป็นเหตุให้พายุอ่อนกำลังลง โดยยวี่ถู่อ่อนกำลังลงไปเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ลมเฉือนยังเป็นสาเหตุในยวี่ถู่อ่อนกำลังลงอีกเป็นพายุโซนร้อน แม้ว่าจะยังมีการไหลเวียนที่ชัดเจนอยู่ก็ตาม

ในวันที่ 25 ตุลาคม ที่เกาะไซปัน พายุไต้ฝุ่นยวี่ถู่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งคน เมื่อพายุยวี่ถู่ทำให้อาคารที่เธออยู่ภายในถล่มลง และยังให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวน 133 คน โดยสามรายนั้นได้รับบาดเจ็บสาหัส บนเกาะไซปันที่อยู่ใกล้กับเกาะติเนียนนั้น ลมแรงจากพายุยวี่ถู่ทำให้เสาไฟฟ้าหักโค่นกว่า 200 ต้น อาคารส่วนใหญ่ในตอนใต้ของไซปันโดนพัดหลังคาหายไปหรือโดนพัดจนหลังคาถล่มลง รวมถึงมีโรงเรียนมัธยมถล่มด้วย[124]

พายุโซนร้อนกำลังแรงอูซางิ

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา9 – 26 พฤศจิกายน
ความรุนแรง110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)
ชื่อของ PAGASA: ซามูเวล

  • วันที่ 3 พฤศจิกายน ศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลางได้เริ่มติดตามพื้นที่ของอากาศแปรปรวนที่ก่อตัวขึ้นในแอ่งแปซิฟิกกลาง[125]
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน พื้นที่ของอากาศแปรปรวนดังกล่าวเคลื่อนตัวออกนอกแอ่ง และเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกโดยไม่มีการพัฒนาตัวขึ้น[126]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิก ต่อมาจึงสิ้นสุดการติดตามลงในช่วงปลายของวัน
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศที่ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอีกครั้ง
  • วันที่ 18 พฤศจิกายน PAGASA ใช้ชื่อท้องถิ่นกับพายุดีเปรสชันเขตร้อนว่า ซามูเวล (Samuel) พร้อมทั้งออกการเตือนภัยในเกาะมินดาเนาและวิซายัส
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนพัดขึ้นฝั่งในประเทศฟิลิปปินส์ทำให้มันอ่อนกำลังลงเล็กน้อยเนื่องจากเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะ และเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้จึงได้กลับมาทวีกำลังแรงอีกครั้ง
  • วันที่ 22 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า อูซางิ (Usagi)
  • วันที่ 24 พฤศจิกายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับความรุนแรงของพายุโซนร้อนเป็นพายุไต้ฝุ่น ต่อมาในเวลา 06:00 UTC กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ได้ปรับความรุนแรงของพายุโซนร้อนกำลังแรงอูซางิเป็นพายุไต้ฝุ่น ต่อมาในเวลา 12:00 UTC กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับลดความรุนแรงของอูซางิลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงอีกครั้ง
  • วันที่ 26 พฤศจิกายน อูซางิพัดขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุอูซางิสร้างความเสียหายในประเทศฟิลิปปินส์ โดยทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งราย และภาคการเกษตรเสียหาย 52.2 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (9.94 แสนดอลลาร์สหรัฐ)[127][128] ส่วนในประเทศเวียดนาม พายุอูซางิพัดขึ้นฝั่งในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ทำให้เกิดอุทกภัยในนครโฮจิมินห์ และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย[129] สร้างความเสียหายกับประเทศเวียดนาม 3.47 แสนล้านด่ง (15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 471 ล้านบาท)[130]

พายุโซนร้อนโทราจี

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา17 – 18 พฤศจิกายน
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)
  • วันที่ 17 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ ทางตะวันออกของประเทศเวียดนาม โดยระบบเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 13 นอต และมีความเร็วลมที่ศูนย์กลางประมาณ 30 นอต[131] ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ[132] ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาก็ได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันลูกนี้เช่นกัน[133] ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ โทราจี (Toraji)
  • วันที่ 18 พฤศจิกายน โทราจีได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนบริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม และอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วหลังจากพัดขึ้นฝั่ง โดยหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวไทย และเริ่มจัดระบบอีกครั้ง
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน ศูนย้เตือนไต้ฝุ่นร่วมจัดให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม โทราจีพัดขึ้นฝั่งครั้งที่สองในคาบสมุทรมลายู
  • วันที่ 21 พฤศจิกายน โทราจีอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด เนื่องจากลมปรปักษ์ (Hostile winds) บริเวณช่องแคบมะละกา

พายุไต้ฝุ่นหม่านหยี่

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา20 – 28 พฤศจิกายน
ความรุนแรง150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
955 mbar (hPa; 28.2 inHg)
ชื่อของ PAGASA: โตมัส

  • วันที่ 19 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากนั้นไม่นานได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนร้อน และได้รับชื่อว่า หม่านหยี่ (Man-yi)
  • วันที่ 21 พฤศจิกายน พายุหม่านหยี่มีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่น และเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ทำให้พายุไต้ฝุ่นได้รับชื่อจาก PAGASA ว่า โตมัส (Tomas)
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นหม่านหยี่อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 26 พฤศจิกายน พายุโซนร้อนหม่านหยี่อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2564 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2561 http://news.sina.com.cn/o/2018-11-12/doc-ihmutuea9... http://www.cma.gov.cn/en2014/news/News/201902/t201... http://www.jianzai.gov.cn//DRpublish/jzdt/00000000... http://www.jianzai.gov.cn//DRpublish/jzdt/00000000... http://www.jianzai.gov.cn//DRpublish/ywcp/00000000... http://www.jianzai.gov.cn//DRpublish/ywcp/00000000... http://www.jianzai.gov.cn//DRpublish/ywcp/00000000... http://www.jianzai.gov.cn//DRpublish/ywcp/00000000... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti...