เภสัชวิทยา ของ ลอราเซแพม

ยามีฤทธิ์คลายกังวล ฤทธิ์ระงับประสาท ฤทธิ์ยานอนหลับ ฤทธิ์ให้จำไม่ได้ ฤทธิ์ต้านการชัก และฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ[79]เป็นยาเบ็นโซไดอาเซพีนมีฤทธิ์แรง ความพิเศษ[80][81],ข้อดีและข้อเสียของยาโดยหลักมาจากคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์ของมัน คือ ละลายน้ำและลิพิดได้ไม่ดี ยึดกับโปรตีนได้ดี มีเมแทบอลิซึมที่ไม่อาศัยออกซิเดชั่นโดยแปลงเป็นรูปแบบกลูคิวโรไนด์ (glucuronide) ที่ไม่มีฤทธิ์ทางเภสัช[82][83]ครึ่งชีวิตของยาอยู่ที่ 10-20 ชม.[84]

เภสัชจลนศาสตร์

ลอราเซแพมมักยึดอยู่กับโปรตีน (highly protein bound) และผ่านเมแทบอลิซึมกลายเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์โดยมาก[9]เพราะละลายในลิพิดได้น้อย จึงดูดเข้าผ่านทางเดินอาหารค่อนข้างช้า และไม่เหมาะให้ยาทางทวารหนักแต่ก็เพราะละลายในลิพิดได้ไม่ดีและโดยมากยึดอยู่กับโปรตีน (85-90%[85]) จึงหมายถึงว่า โดยมากมันอยู่ในหลอดเลือดและก่อฤทธิ์สูงสุดได้ค่อนข้างยาวเทียบกับยาไดแอซิแพมที่ละลายในลิพิดได้ดี ซึ่งแม้จะดูดซึมได้ดีทางปากหรือทางทวารหนัก แต่ก็กระจายจากน้ำเลือดไปยังส่วนอื่นของร่างกายโดยเฉพาะไขมันร่างกายอย่างรวดเร็วซึ่งอธิบายว่าทำไมลอราเซแพมแม้จะมีครึ่งชีวิตในน้ำเลือดที่สั้นกว่า แต่ก็ออกฤทธิ์ในระดับสูงสุดได้นานกว่าไดแอซิแพมในขนาดเดียวกัน[86]

ลอราเซแพมจะจับคู่ที่กลุ่ม 3-hydroxy กับกลูคิวโรไนด์กลายเป็นเมทาบอไลต์คือลอราเซแพม-กลูคิวโรไนด์ แล้วขับออกทางปัสสาวะเมทาบอไลต์นี้ไม่มีผลต่อระบบประสาทกลางในสัตว์ความเข้มข้นในน้ำเลือดของยาขึ้นอยู่กับขนาดยาที่ให้ไม่มีหลักฐานจนกระทั่งถึง 6 เดือนจากเริ่มให้ว่า ยาสะสมในร่างกายเทียบกับไดแอซิแพมซึ่งสะสม เพราะมีครึ่งชีวิตที่ยาวนานกว่าและมีเมแทบอไลต์ที่ออกฤทธิ์ เมแทบอไลต์ยังมีครึ่งชีวิตที่ยาวนานอีกด้วย

ตัวอย่างจากคลินิก: ไดแอซิแพมเป็นยาที่มักลือกใช้รักษาภาวะชักต่อเนื่อง เพราะละลายในลิพิดได้ดี จึงดูดซึมเข้าร่างกายได้เร็วเท่ากันไม่ว่าจะให้ทางปากหรือทางทวารหนัก (เพราะนอก รพ. การให้ยานอกเหนือจากทางเส้นเลือดดำจะสะดวกกว่า) แต่ก็เพราะละลายในลิพิดได้ดี มันจึงไม่อยู่ในเส้นเลือดนานแล้วกระจายไปยังเนื้อเยื่อร่างกายอื่น ๆ ดังนั้น จึงอาจจำเป็นต้องให้ไดแอซิแพมอีกเพื่อให้ออกฤทธิ์ต้านการชักได้สูงสุด ทำให้สะสมในร่างกาย ส่วนลอราเซแพมไม่เป็นอย่างนี้ เพราะละลายในลิพิดได้ไม่ดี มันจึงดูดซึมเข้าร่างกายได้ช้ายกเว้นทางเส้นเลือดดำ แต่เมื่อเข้าไปในเส้นเลือดแล้ว มันจะไม่กระจายไปยังร่างกายส่วนอื่น ๆ ดังนั้น ฤทธิ์ต้านการชักของมันจึงคงทนกว่า และไม่จำเป็นต้องให้ยาซ้ำบ่อยเท่าถ้าคนไข้ปกติจะหยุดชักหลังจากให้ไดแอซิแพม 1-2 คราว นี่อาจจะดีกว่าเพราะผลระงับประสาทของมันจะน้อยกว่าการให้ลอราเซแพม 1 ครั้ง คือฤทธิ์ต้านการชักและฤทธิ์ระงับประสาทของไดแอซิแพมจะหมดไปหลังจาก 15-30 นาที แต่ฤทธิ์ของลอราเซแพมจะคงยืนถึง 12-24 ชม.[87] แต่ผลระงับประสาทที่ยาวกว่าของลอราเซแพมอาจเป็นข้อแลกเปลี่ยนที่ให้พอยอมรับได้เพื่อให้ได้ผลที่คงยืนกว่า โดยเฉพาะถ้าต้องส่งคนไข้ไปยังสถานพยาบาลอีกที่หนึ่ง แม้ลอราเซแพมอาจจะไม่ได้ผลดีกว่าไดแอซิแพมเพื่อระงับการชักในเบื้องต้น[88] แต่ก็กลายเป็นยาที่ได้ทดแทนไดแอซิแพมเมื่อให้ทางเส้นเลือดดำเพื่อรักษาภาวะชักต่อเนื่อง[89][90]

ความเข้มข้นในน้ำเลือดของลอราเซแพมขึ้นอยู่กับขนาดยาที่ให้ยา 2 มก. ที่กินทางปากจะถึงความเข้มข้นในเลือดสูงสุดที่ราว ๆ 20 นาโนกรัม/มิลลิลิตรประมาณ 2 ชม. ต่อมา[85][91]ครึ่งหนึ่งเป็นลอราเซแพม และอีกครึ่งเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์คือลอราเซแพม-กลูคิวโรไนด์[92]ลอราเซแพมขนาดเดียวกันที่ให้ทางเส้นเลือดดำจะได้ความเข้มข้นสูงสุดที่สูงกว่าและเร็วกว่า และมีลอราเซแพมที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นเมแทบอไลต์และยังมีฤทธิ์ในสัดส่วนที่สูงกว่า[93]

หลังจากให้เป็นประจำ ระดับในเลือดจะสูงสุดภายใน 3 วันการใช้ยาในระยะยาวจะไม่สะสมยาเพิ่มขึ้นจนถึงอย่างน้อย 6 เดือน[85]หลังจากเลิกให้ยา ระดับยาในเลือดจะถึงระดับไม่สำคัญหลังจาก 3 วันและจะตรวจจับไม่ได้หลังจากอาทิตย์หนึ่งยาจะผ่านเมแทบอลิซึมในตับโดยการจับคู่ (conjugation) กลายเป็นลอราเซแพม-กลูคิวโรไนด์ซึ่งไม่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นในตับ ดังนั้น ตับที่ทำงานได้น้อยลงจึงไม่มีผลต่อยาลอราเซแพม-กลูคิวโรไนด์ละลายน้ำได้ดีกว่าลอราเซแพมเอง ดังนั้น จึงกระจายไปทั่วร่างกายได้มากกว่า จึงมีครึ่งชีวิตที่ยาวนานกว่าลอราเซแพมลอราเซแพม-กลูคิวโรไนด์ในที่สุดจะขับออกทางไต[85]และเพราะมันสะสมในเนื้อเยื่อ ก็จะยังตรวจจับโดยเฉพาะในปัสสาวะได้ยาวนานกว่าลอราเซแพมอย่างพอสมควร

เภสัชพลศาสตร์

เทียบกับเบ็นโซไดอาเซพีนอื่น ๆ ลอราเซแพมเชื่อว่ามีสัมพรรคภาพ (affinity) สูงกับหน่วยรับกาบา (GABA receptor)[94]ซึ่งอาจอธิบายฤทธิ์ทำให้เสียความจำที่เด่นของมัน[30]ผลทางเภสัชของยาก็คือเพิ่มผลของสารสื่อประสาทกาบาที่หน่วยรับกาบาA[9]โดยคล้ายกับเบ็นโซไดอาเซพีนอื่น ๆ คือเพิ่มความถี่การเปิดช่องไอออนคลอไรด์ที่หน่วยรับกาบาAโดยมีผลเป็นฤทธิ์รักษาของยาแต่โดยตนเองก็ไม่ได้ทำให้หน่วยรับกาบาA ทำงานมากขึ้น คือยังต้องอาศัยสารสื่อประสาทกาบาดังนั้น จึงเท่ากับเพิ่มผลของสารสื่อประสาทกาบา[9][66]

กำลังและระยะของฤทธิ์ยาขึ้นอยู่กับขนาดที่ให้ คือขนาดที่มากกว่ามีฤทธิ์มากกว่าและคงฤทธิ์นานกว่า นี่เป็นเพราะสมองยังมีหน่วยรับยาเหลืออยู่เพราะขนาดของยาที่ให้เพื่อรักษาเข้าไปทำการกับหน่วยรับที่มีเพียงแค่ 3%[95]

ฤทธิ์ต้านการชักของลอราเซแพมและเบ็นโซไดอาเซพีนอื่น ๆ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือว่าบางส่วน อาจมาจากการเข้ายึดกับช่องโซเดียมที่เปิดปิดโดยศักย์ไฟฟ้า (voltage-dependent sodium channel) ไม่ใช่ทำการที่หน่วยรับเบ็นโซไดอาเซพีนคือยาจะจำกัดการส่งกระแสประสาทแบบซ้ำ ๆ โดยมีผลยืดระยะ recovery period ของนิวรอน (ระยะที่ศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ระดับพักจะกลับเป็นปกติหลังจากได้ส่งศักยะงานหนึ่ง ๆ ไปตามแอกซอนแล้วก่อนจะส่งศักยะงานอันต่อไปได้) ดังที่พบในการเพาะไขสันหลังหนู[96]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลอราเซแพม http://www.baxter.com/products/anesthesia/anesthet... http://ebm.bmj.com/cgi/reprint/11/2/54.pdf http://emj.bmj.com/cgi/content/extract/23/6/472 http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.3821.... http://www.medscape.com/viewarticle/430209_3 http://www.medscape.com/viewarticle/489358 http://article.psychiatrist.com/?ContentType=START... http://www.rxlist.com/cgi/generic/loraz_ad.htm http://dgidb.genome.wustl.edu/drugs/DAP000237 http://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/labe...