ลอราเซแพม
ลอราเซแพม

ลอราเซแพม

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งลอราเซแพม (อังกฤษ: Lorazepam) ซึ่งขายในชื่อทางการค้าคือ อะทีแวน (ในบรรดาชื่อต่าง ๆ) เป็นยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน[3]ใช้แก้กังวล, นอนไม่หลับ, การชักรวมทั้งภาวะชักต่อเนื่อง, การขาดสุรา และอาการคลื่นไส้และอาเจียนเหตุเคมีบำบัด (CINV)[3]ยายังใช้ในการผ่าตัดเพื่อให้คนไข้จำเหตุการณ์ไม่ได้ และใช้ระงับประสาทสำหรับผู้ใส่เครื่องช่วยหายใจ[3][7]แม้จะใช้กับภาวะกายใจไม่สงบ (agitation) ที่รุนแรงได้ แต่ปกติก็จะเลือกใช้มิดาโซแลม[3]อนึ่ง ยังใช้เป็นยาควบคู่เพื่อรักษากลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (ACS) จากการเสพโคเคน[3]ยาสามารถให้กิน ฉีดเข้าในกล้ามเนื้อ หรือให้ผ่านเส้นเลือดดำ[3]เมื่อฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จะได้ผลภายใน 1-30 นาทีและอาจคงยืนอยู่ได้ตลอดวัน[3]เมื่อให้ทางเส้นเลือด ก็จะต้องดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิด[3]ผลข้างเคียงสามัญรวมทั้งอ่อนเพลีย ง่วงนอน ความดันเลือดต่ำ และพยายามหายใจน้อยลง[3]ในคนไข้โรคซึมเศร้า อาจทำให้เสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้น[3][8]เมื่อใช้ในระยะยาว อาจต้องใช้ในขนาดสูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลเท่ากัน[3]และการติดยาไม่ว่าเพราะเหตุกายหรือใจก็อาจเกิดได้ด้วย[3]ถ้าหยุดยาอย่างกระทันหันหลังจากใช้เป็นเวลานาน อาจมีอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน (benzodiazepine withdrawal syndrome)[3]คนชราจะเกิดผลข้างเคียงบ่อยครั้งกว่า[9]ในคนกลุ่มนี้ ยาสัมพันธ์กับการหกล้มและกระดูกสะโพกหัก[10]เพราะเหตุนี้ ทั่วไปจึงแนะนำให้ใช้ยาอย่างมากเพียง 2-4 สัปดาห์[11]ยาได้จดสิทธิบัตรในปี 1963 แล้ววางตลาดขายในสหรัฐปี 1977[12]เป็นยาในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (EML) โดยเป็นยาที่ได้ผลและปลอดภัยที่สุด และจำเป็นในระบบสาธารณสุข[13]ปัจจุบันมีจำหน่ายเป็นยาสามัญ[3]ราคาขายส่งในประเทศกำลังพัฒนาสำหรับยากินขนาด 1 มก. อยู่ที่ประมาณ 0.69-7.19 บาทในปี 2015[14]ขนาดเดียวกันในสหราชอาณาจักรเป็นค่าใช้จ่ายต่อกระทรวงสาธารณสุขที่ประมาณ 7.33 บาท[15]ในสหรัฐ ยาที่ปกติใช้ได้เดือนหนึ่งมีราคาน้อยกว่า 856 บาท[16]ในปี 2016 เป็นยาที่แพทย์สั่งเป็นอันดับ 57 ในสหรัฐ[17]

ลอราเซแพม

การเปลี่ยนแปลงยา glucuronidation[upper-alpha 1] (ผ่านตับ)
ระยะเวลาออกฤทธิ์ 12-24 ชม.[3]
เลขทะเบียน CAS
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ 1-5 นาที (เข้าเส้นเลือด), 15-30 นาที (ผ่านผิวหนัง)[3]
MedlinePlus a682053
AHFS/Drugs.com Monograph
PubChem CID
ChemSpider
รหัส ATC
DrugBank
ชื่ออื่น O-Chloroxazepam, L-Lorazepam Acetate
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ 10-20 ชม.[4][5][6]
KEGG
ChEMBL
สูตร C15H10Cl2N2O2
UNII
Dependenceliability น้อยจนถึงปานกลาง[2]
ช่องทางการรับยา กิน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ให้เข้าเส้นเลือดดำ อมใต้ลิ้น แปะที่ผิวหนัง
ECHA InfoCard 100.011.534
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: C
  • US: D (มีความเสี่ยง)
    มวลต่อโมล 321.2 g/mol
    สถานะตามกฏหมาย
    ชีวประสิทธิผล 85% เมื่อกิน
    การขับออก ไต
    แบบจำลอง 3D (JSmol)
    ชื่อทางการค้า Ativan, Tavor, Temesta, อื่น ๆ[1]

    แหล่งที่มา

    WikiPedia: ลอราเซแพม http://www.baxter.com/products/anesthesia/anesthet... http://ebm.bmj.com/cgi/reprint/11/2/54.pdf http://emj.bmj.com/cgi/content/extract/23/6/472 http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.3821.... http://www.medscape.com/viewarticle/430209_3 http://www.medscape.com/viewarticle/489358 http://article.psychiatrist.com/?ContentType=START... http://www.rxlist.com/cgi/generic/loraz_ad.htm http://dgidb.genome.wustl.edu/drugs/DAP000237 http://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/labe...