ผลที่ไม่พึงประสงค์ ของ ลอราเซแพม

ฤทธิ์ที่มีประโยชน์หลายอย่างของยา (เช่น ระงับประสาท คลายกล้ามเนื้อ คลายกังวล และช่วยให้ลืม) อาจกลายเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์เมื่อไม่ต้องการ[30]เช่น ระงับประสาทหรือก่อความดันต่ำโดยผลจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับยาที่กดระบบประสาทกลางอื่น ๆ[22][36]ผลที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ รวมความสับสน ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (ataxia) การระงับไม่ให้สร้างความจำใหม่ และอาการเมาค้าง (hangover effects)ถ้าใช้ยาเบ็นโซไดอาเซพีนเป็นระยะเวลายาว ก็จะไม่ชัดเจนว่าความพิกาารทางประชานจะกลับคืนสู่ปกติเมื่อเลิกยาหรือไม่โดยความบกพร่องทางประชานจะคงยืนอย่างน้อย 6 เดือนหลังเลิกยา แต่อาจใช้เวลามากกว่านั้นเพื่อฟื้นสภาพลอราเซแพมดูเหมือนจะมีผลร้ายต่อความจำมากกว่าเบ็นโซไดอาเซพีนชนิดอื่น ๆ โดยมีผลต่อทั้งความจำชัดแจ้ง (explicit memory) และความจำโดยปริยาย (implicit memory)[47][48]

คนชราอาจหกล้มเพราะยาผลที่ไม่พึงประสงค์เกิดบ่อยกว่าในคนชรา และมีแม้เมื่อกินยาน้อยกว่าคนที่อายุน้อยกว่ายาอาจก่อหรือทำโรคซึมเศร้าให้แย่ลงปฏิกิริยาปฏิทรรศน์ก็อาจเกิดด้วย เช่น ชักเพิ่มขึ้น หรือตื่นเต้นมากขึ้นโดยมีโอกาสมากกว่าในบุคคลต่าง ๆ รวมทั้งคนชรา เด็ก ผู้มีประวัติติดแอลกอฮอล์ และผู้มีประวัติดุร้ายหรือมีปัญหากับความโกรธ[9]ฤทธิ์ของยาขึ้นอยู่กับขนาด ยิ่งมาก ฤทธิ์ (รวมทั้งผลข้างเคียง) ก็ยิ่งมากการใช้ขนาดน้อยที่สุดเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการจะลดความเสี่ยงต่อผลที่ไม่พึงประสงค์ยาระงับประสาทและยานอนหลับรวมทั้งยานี้ สัมพันธ์กับความเสี่ยงตายสูงขึ้น[49]

การระงับประสาท (กดการหายใจ ลดความดันเลือดเป็นต้น) เป็นผลข้างเคียงที่คนกินยารายงานบ่อยที่สุดในกลุ่มคนไข้โรควิตกกังวล 3,500 คน ผลข้างเคียงที่บ่นมากที่สุดจากยาก็คือการระงับประสาท (15.9%) เวียนศีรษะ (6.9%) อ่อนเพลีย (4.2%) และเดินยืนไม่มั่นคง (3.4%)ผลข้างเคียงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ[50]อนึ่ง ความพิการทางประชาน การเสียการยับยั้งใจ การกดการหายใจ และความดันต่ำ ก็อาจเกิดขึ้นด้วย[35][39]

  • ผลปฏิทรรศน์ - ในบางกรณี ผลปฏิทรรศน์จะเกิดกับยาเบ็นโซไดอาเซพีน เช่น เป็นปฏิปักษ์ ดุร้าย โกรธ และไม่สงบกายสงบใจมากขึ้น โดยมีผลกับยานี้มากกว่าเบ็นโซไดอาเซพีนชนิดอื่น ๆ[51] ผลปฏิทรรศน์มีโอกาสเกิดเพิ่มในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเมื่อเพิ่มขนาดยา ในคนที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ และในคนไข้จิตเวช การได้สิ่งเร้าที่ไม่น่าพอใจอาจจุดชนวนให้มีปฏิกิริยาเช่นนี้ แม้แพทย์อาจจะให้ยานี้เพื่อรับมือกับความเครียดความไม่น่าพอใจเช่นนี้โดยตรงตั้งแต่แรก เพราะผลปฏิทรรศน์ดูเหมือนจะขึ้นกับขนาดยา ดังนั้น ปกติก็จะหายไปเมื่อลดขนาดหรือเมื่องดยาโดยสิ้นเชิง[52][53][54][55][56][57]
  • การฆ่าตัวตาย - เบ็นโซไดอาเซพีนสัมพันธ์กับความเสี่ยงฆ่าตัวตายมากขึ้น อาจเป็นเพราะเสียการยับยั้งใจ[8] โดยขนาดที่มากขึ้นดูจะเสี่ยงมากขึ้น
  • ผลให้จำไม่ได้ - ในบรรดายากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ยานี้มีผลให้จำไม่ได้ค่อนข้างมาก[30][58] แต่ในที่สุดก็จะชินผลเช่นนี้เมื่อใช้ยาเป็นประจำ เพื่อเลี่ยงไม่ให้เสียความจำ (หรือระงับประสาทมากเกินไป) ขนาดยาที่ให้แต่ละวันเบื้องต้นไม่ควรเกิน 2 มก. โดยยากินก่อนนอนก็เช่นกัน งานศึกษาการนอนหลับมีผู้เข้าร่วม 5 คนได้รับยาลอราเซแพม 4 มก. ตอนกลางคืน วันต่อมา คน 3 คนมีจุดโหว่หลายจุดสำหรับความจำในวันนั้น โดยผลหายไปโดยสิ้นเชิงหลังจากได้ยาเป็นเวลา 2-3 วัน[59] ผลต่อความจำไม่สามารถประมาณจากระดับการระงับประสาทเพราะฤทธิ์สองอย่างไม่สัมพันธ์กัน

ยาที่ให้โดยไม่ได้กินในขนาดมาก ๆ หรือในระยะยาวบางครังสัมพันธ์กับ propylene glycol (ที่ใช้เป็นองค์ประกอบของยาที่ไม่ได้กิน) เป็นพิษ[35][60]

ข้อห้ามใช้

ยาควรหลีกเลี่ยงในบุคคลต่อไปนี้คือ

  • ผู้แพ้ยาหรือไวปฏิกิริยาต่อยา ไม่ว่าจะเป็นลอราเซแพม เบ็นโซไดอาเซพีนทุกชนิด หรือต่อองค์ประกอบของยากินหรือยาฉีด
  • การหายใจล้มเหลว เพราะเบ็นโซไดอาเซพีนรวมทั้งยานี้ อาจกดการหายใจของระบบประสาทกลาง จึงเป็นข้อห้ามใช้สำหรับการหายใจล้มเหลวที่รุนแรง ตัวอย่างของการให้ยาอย่างไม่สมควรก็คือเพื่อคลายกังวลที่สัมพันธ์กับโรคหืดปัจจุบันที่ไม่ตอบสนองต่อยาพ่นหรือสเตอรอยด์ (acute severe asthma) ฤทธิ์คลายกังวลยังอาจมีผลลบต่อความพร้อมใจและสมรรถภาพในการพยายามหายใจ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อาจใช้ยาเพื่อระงับประสาทในะระดับลึก (deep sedation แต่ยังไม่ถึงสลบ)
  • พิษจากสาร ยาอาจมีปฏิกิริยาแบบเสริมกับผลของแอลกอฮอล์ ยาเสพติด หรือสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทอื่น ๆ และดังนั้น จึงไม่ควรให้กับคนเมาไม่ว่าจะเป็นเพราะแอลกอฮอล์หรือยา
  • ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (ataxia) นี่เป็นอาการทางประสาท โดยแขนขาและตัวจะขยับอย่างสั่น ๆ และอย่างเงอะงะ เพราะกล้ามเนื้อต่าง ๆ ไม่ประสานงานโดยเห็นชัดที่สุดเมื่อยืนหรือเดิน นี่เป็นอาการคลาสสิกของการเมาเหล้า เบ็นโซไดอาเซพีนไม่ควรให้กับบุคคลที่มีภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการอยู่แล้ว
  • ต้อหินมุมแคบที่กำลังเกิด เพราะยามีฤทธิ์ขยายม่านตา ซึ่งอาจกวนการระบายสารน้ำ (aqueous humor) ที่อยู่ในห้องหน้า (anterior chamber) ของตา และดังนั้นอาจทำให้ต้อหินมุมแคบแย่ลง
  • การหยุดหายใจช่วงนอน (sleep apnea) อาจแย่ลงเพราะผลกดระบบประสาทกลางของยา และอาจลดสมรรถภาพการป้องกันรักษาทางเดินอากาศหายใจของตนเมื่อหลับ[61]
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย (MG) มีอาการเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรง และดังนั้น ยาคลายกล้ามเนื้อเช่นยานี้อาจทำให้อาการแย่ลง
  • การตั้งครรภ์และการให้นมลูก ยานี้อยู่ในหมวดหมู่ D ขององค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ซึ่งหมายความว่า ยาอาจเป็นอันตรายต่อทารกที่กำลังพัฒนาเมื่อกินในไตรมาศแรกของการตั้งครรภ์ หลักฐานยังสรุปไม่ได้ว่ายาที่กินในช่วงตั้งครรภ์ต้น ๆ มีผลเป็นเชาวน์ปัญญาที่ลดลง ปัญหาพัฒนาการทางประสาท สภาพวิรูปในโครงสร้างหัวใจและใบหน้า หรือสภาพวิรูปอื่นของเด็กเกิดใหม่บางคนหรือไม่ ยาที่ให้หญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดอาจก่อภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย (hypotonia) ในทารก[62] หรือกดการหายใจแล้วทำให้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ การใช้ยาเป็นประจำในไตรมาศที่ 3 ช่วงตั้งครรภ์หลัง ๆ ทำให้ทารกเสี่ยงมีอาการขาดเบ็นโซไดอาเซพีน มีอาการเป็นภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ไม่ดูดนม หยุดหายใจ เขียวคล้ำ (cyanosis) และการตอบสนองทางเมทาบอลิซึมที่พิการต่อไข้หวัด ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยในทารกและอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีนในเด็กเกิดใหม่รายงานว่า คงยืนเป็นชั่วโมง ๆ จนถึงเป็นเดือน ๆ หลังคลอด[63] ยายังอาจยับยั้งกระบวนการเมแทลอลิซึมของบิลิรูบิน (bilirubin glucuronidation[upper-alpha 1]) ของตับ ซึ่งก่อดีซ่าน (ตัวเหลืองตาเหลือง) ยายังพบว่าอยู่ในนมแม่ จึงต้องระวังเมื่อให้นมลูก

บุคคลในกลุ่มเฉพาะ ๆ

  • เด็กและคนชรา - ความปลอดภัยและประสิทธิผลยังไม่ชัดเจนสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปีแต่ก็มักใช้ยารักษาอาการชัก ขนาดที่ใช้ต้องจำเพาะเฉพาะบุคคล โดยเฉพาะคนชราที่อ่อนแอและเสี่ยงต่อการระงับประสาทเกินมากกว่า การใช้รักษาในระยะยาวอาจทำให้ระบบประชาน/ความคิดบกพร่อง โดยเฉพาะในคนชรา และอาจฟื้นสภาพได้เพียงเป็นบางส่วนเท่านั้น คนชราย่อยสลายเบ็นโซไดอาเซพีนได้ช้ากว่าคนที่อ่อนวัยกว่า ไวต่อผลไม่พึงประสงค์ของเบ็นโซไดอาเซพีนมากกว่าแม้จะมีระดับในเลือดเท่ากัน อนึ่ง คนชรามักกินยาต่าง ๆ มากกว่าซึ่งอาจมีปฏิกิริยาหรือเพิ่มผลของเบ็นโซไดอาเซพีน เบ็นโซไดอาเซพีนรวมทั้งลอราเซแพมพบว่า เพิ่มความเสี่ยงหกล้มและกระดูกหักในคนชรา ดังนั้น ขนาดยาที่แนะนำสำหรับคนชราจะอยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่งของที่ให้กับบุคคลที่อายุน้อยกว่า และให้ใช้ไม่เกิน 2 อาทิตย์[9][64] ยายังอาจกำจัดออกจากร่างกายได้ช้ากว่าในคนชรา ซึ่งอาจมีผลให้สะสมยา ทำให้ยามีผลมากขึ้น[65] ลอราเซแพม โดยเหมือนกับเบ็นโซไดอาเซพีนและน็อนเบ็นโซไดอาเซพีน (nonbenzodiazepine) เป็นเหตุให้เสียดุลร่างกายและให้ยืนไม่เสถียรในบุคคลที่ตื่นขึ้นตอนกลางคืนหรือแม้แต่ตอนเช้า ดังนั้น จึงมีรายงานบ่อย ๆ ว่าล้มหรือกระดูกสะโพกหัก การกินร่วมกับแอลกอฮอล์ยังเพิ่มความพิการเช่นนี้ด้วย แต่ทานบ่อยเข้าก็จะชินต่อความพิการไปบ้าง[10]
  • ตับและไตวาย -ยานี้อาจปลอดภัยกว่าเบ็นโซไดอาเซพีนชนิดอื่น ๆ ในบุคคลที่ตับทำงานได้ไม่ดี โดยเหมือนกับยา oxazepam (เป็นเบ็นโซไดอาเซพีนอีกชนิดหนึ่ง) เพราะเมแทบอลิซึมไม่อาศัยกระบวนการออกซิเดชั่นในตับ อาศัยแต่กระบวนการ glucuronidation[upper-alpha 1] โดยกลายเป็น ลอราเซแพม-กลูคิวโรไนด์ (lorazepam-glucuronide) ดังนั้น ตับที่ทำงานได้ไม่สมบูรณ์ก็ไม่ทำให้สะสมยาจนเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์[27] เช่นเดียวกัน โรคไตก็มีผลน้อยมากต่อระดับลอราเซแพมในเลือด[66]
  • การให้ยานำก่อนผ่าตัด - ในบางประเทศ การยินยอมให้รักษาของคนไข้หลังจากได้ยานำคือ ลอราเซแพม อาจถูกฟ้องยกเลิกได้ในภายหลัง แพทย์พยาบาลต้องใช้พยานที่ 3 เพื่อป้องกันจากถูกกล่าวหาว่าทำการผิด ๆ เมื่อกำลังรักษาด้วยยานี้ การกล่าวหาอาจเกิดเพราะคนไข้เสียความจำอย่างไม่สมบูรณ์ การเสียการยับยั้งใจ สมรรถภาพการรับรู้สถานการณ์อาศัยตัวช่วยที่แย่ลง การให้ยานำจะดีสุดสำหรับคนไข้ที่อยู่ใน รพ. เพราะมีผลตกค้างค่อนข้างนาน (รวมทั้งระงับประสาท ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ ความดันเลือดต่ำ และการเสียความจำ) คนไข้ไม่ควรให้กลับบ้านจาก รพ. ภายใน 24 ชม. หลังได้รับยานำคือ ลอราเซแพม นอกจากจะมีผู้คอยตามช่วยเหลือ คนไข้ไม่ควรขับรถ ทำงานกับเครื่องจักร หรือใช้แอลกอฮอล์ในช่วงนี้
  • ผู้ที่ติดยาและแอลกอฮอล์ จะเสี่ยงใช้ลอราเซแพมอย่างผิด ๆ[64]
  • ความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ ที่เป็นร่วมกันก็จะเพิ่มความเสี่ยงการติดหรือผลปฏิทรรศน์ที่ไม่พึงประสงค์ของยา[64]

ความชินและการติด

การติดยาที่ปรากฏโดยเป็นอาการขาดยาจะเกิดในคน 1 ใน 3 ที่ใช้ยาเบ็นโซไดอาเซพีนรักษาเกินกว่า 4 สัปดาห์ขนาดที่สูงหรือการใช้ยาในระยะยาวจะเพิ่มความเสี่ยงการติดยายาที่มีฤทธิ์แรงและมีครึ่งชีวิตค่อนข้างสั้น เช่นยานี้, alprazolam และ triazolam เสี่ยงติดยาสูงสุด[9]การชินยาเบ็นโซไดอาเซพีนก็จะเกิดด้วยถ้าใช้เป็นประจำซึ่งเป็นผลที่ต้องการสำหรับฤทธิ์ให้จำไม่ได้และฤทธิ์ระงับประสาท แต่ไม่พึงประสงค์สำหรับฤทธิ์คลายกังวล ช่วยให้นอนหลับ และฤทธิ์ต้านการชักคนไข้เบื้องต้นจะบรรเทาจากความวิตกกังวลและนอนไม่หลับอย่างมาก แต่อาการจะค่อย ๆ กลับมาโดยค่อนข้างเร็วสำหรับการนอนไม่หลับ แต่จะช้ากว่าสำหรับอาการวิตกกังวลหลังจากใช้ยาเบ็นโซไดอาเซพีนเป็นประจำ 4-6 เดือน ประสิทธิผลของยาจะลดลง[ต้องการอ้างอิง]ถ้าใช้รักษาเป็นปกติเกินกว่า 4-6 เดือน อาจต้องเพิ่มขนาดยาเพื่อให้มีฤทธิ์เช่นเดียวกัน แต่ "อาการดื้อยา" จริง ๆ อาจเป็นอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน[67]เพราะเกิดอาการชินยาสำหรับฤทธิ์ต้านการชัก โดยทั่วไปจึงไม่แนะนำให้รักษาโรคลมชักในระยะยาวเพราะแม้การเพิ่มขนาดจะแก้การชินยาได้ แต่การชินยาในขนาดที่สูงขึ้นก็อาจเกิดขึ้นได้โดยผลข้างเคียงก็ยังอาจคงยืนต่อไปหรือแย่ลง

กลไกการชินยาเบ็นโซไดอาเซพีนเป็นเรื่องซับซ้อน อาจอาศัยการลดหน่วยรับกาบาเอ (GABAA receptor downregulation),การเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยย่อยของหน่วยรับ GABAA, กระบวนการ uncoupling[upper-alpha 3]หรือการดูดจุดเชื่อมเบ็นโซไดอาเซพีนกับหน่วยรับ GABAA เข้าในเซลล์ และการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน[9]

โอกาสติดลอราเซแพมค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเบ็นโซไดอาเซพีนชนิดอื่น ๆ เพราะมีครึ่งชีวิตในเลือดค่อนข้างสั้น อยู่จำกัดโดยหลักในเส้นเลือด และมีเมแทบอไลต์ที่ไม่ออกฤทธิ์ จึงอาจก่ออาการขาดยาแม้ในระหว่างมื้อยา ทำให้อยากยามื้อต่อไป จึงอาจเสริมแรงการติดยาทางใจยาเม็ดเล็กขนาด 0.5 มก. ก็ยังมีฤทธิ์อย่างสำคัญเพราะมีฤทธิ์แรง ประเทศที่ใช้ยาเม็ดเล็กสุดขนาด 1 มก. เช่นสหราชอาณาจักร จึงมีปัญหาติดยามากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงการติดทั้งทางกายและใจ ควรใช้ยานี้ในระยะสั้น และในขนาดน้อยที่สุดซึ่งได้ผลแนะนำให้หยุดยาเบ็นโซไดอาเซพีนที่ใช้ในระยะยาวไม่ว่าจะชนิดใด ๆ โดยให้ใช้เวลาเป็นอาทิตย์ ๆ เป็นเดือน ๆ หรือยาวนานกว่านั้น ตามขนาดและระยะที่ใช้ ตามระดับการติดและตามคนไข้

ลอราเซแพมที่ใช้ในระยะยาวอาจเลิกง่ายกว่าถ้าเปลี่ยนไปใช้ยาไดแอซิแพมในขนาดเดียวกันจนอยู่ตัวแล้วค่อย ๆ ลดขนาดลงข้อดีของการลดขนาดไดแอซิแพมก็คือ เพราะมีครึ่งชีวิตยาวนานกว่า (20-200 ชม.) และมีเมแทบอไลต์ที่ออกฤทธิ์ จึงจะรู้สึกขาดยาน้อยกว่า[68]

การขาดยา

การเลิกยาอย่างทันทีหรือเร็วเกินไป อาจก่อความวิตกกังวลและอาการขาดยา เช่นที่เห็นจากการขาดเหล้าหรือขาดบาร์บิเชอเรตเหมือนยาเบ็นโซไดอาเซพีนอื่น ๆ ลอราเซแพมอาจทำให้ติดยาทางกาย การติดยาทางใจ และอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน (benzodiazepine withdrawal syndrome)ยิ่งใช้ขนาดมากหรือยาวนานเท่าไร โอกาสเสี่ยงอาการขาดยาที่เป็นทุกข์ก็มากขึ้นเท่านั้นแต่การขาดยาก็ยังสามารถเกิดจากการใช้ขนาดธรรมดา ๆ และหลังจากการใช้ในระยะสั้นการรักษาด้วยเบ็นโซไดอาเซพีนควรหยุดให้เร็วที่สุดโดยค่อย ๆ ลดขนาด[69]

อาการเกิดโรคอีก (rebound effect) มักเหมือนกับอาการที่กำลังรักษา แต่ปกติจะรุนแรงกว่าและอาจวินิจฉัยได้ยากอาการขาดยาอาจเริ่มตั้งแต่ความวิตกกังวลและการนอนไม่หลับเบา ๆ จนถึงอาการที่รุนแรงกว่า เช่น ชักและอาการโรคจิตในบรรดาปัจจัยต่าง ๆ ความเสี่ยงและความรุนแรงของการขาดยาจะเพิ่มขึ้นถ้าใช้ยาในระยะยาว ใช้ขนาดสูง ลดยาอย่างฉับพลันหรือเร็วเกิน เบ็นโซไดอาเซพีนที่มีฤทธิ์ระยะสั้น ๆ เช่น ลอราเซแพมมีโอกาสก่ออาการขาดยาที่รุนแรงกว่าเทียบกับยาที่มีฤทธิ์นาน[9]อาการขาดยาสามารถเกิดได้แม้ใช้ในขนาดรักษาเพียงแค่อาทิตย์เดียวอาการรวมทั้งปวดหัว, วิตกกังวล, เครียด, ซึมเศร้า, นอนไม่หลับ, อยู่ไม่เป็นสุข, สับสน, หงุดหงิด, เหงื่อออก, อารมณ์ละเหี่ย, เวียนหัว, derealization[upper-alpha 4], บุคลิกวิปลาศ (depersonization), ปลายนิ้วปลายแขนขาชา, ไวแสง เสียง กลิ่น, การรับรู้บิดเบือน, คลื่นไส้, อาเจียน, ไม่อยากอาหาร, ประสาทหลอน, เพ้อ, ชัก, สั่น, ตะคริวท้อง, ปวดกล้ามเนื้อ, กายใจไม่สงบ, ใจสั่น, หัวใจเต้นเร็ว, ตื่นตระหนก (panic attack), เสียความจำระยะสั้น และไข้สูงร่างกายใช้เวลา 18-36 ชม. เพื่อกำจัดเบ็นโซไดอาเซพีนออก[70]

ปฏิกิริยา

ยาไม่ทำให้ถึงตายถ้ากินเกิน แต่อาจกดการหายใจถ้ากินเกินขนาดพร้อมกับแอลกอฮอล์การกินผสมนี้ยังเพิ่มฤทธิ์ให้เสียการยับยั้งชั่งใจและเสียความจำ จึงอาจทำเรื่องอับอายหรืออาชญากรรมนักวิชาการบางพวกแนะนำให้เตือนคนไข้ไม่ให้ดื่มแอลกฮอล์เมื่อกำลังรักษาด้วยยา[30][71]แต่การเตือนตรง ๆ เช่นนี้ก็ไม่ได้ทำอย่างทั่วไป[72]

ผลไม่พึงประสงค์อาจรุนแรงขึ้นเมื่อใช้กับยาอื่น ๆ เช่น โอปิออยด์หรือยานอนหลับอื่น ๆ[66]อาจมีปฏิกิริยากับยา rifabutin[73] (เป็นยาปฏิชีวนะปกติใช้รักษาวัณโรคและการติดเชื้อ Mycobacterium avium complex)ยา valproate (โดยหลักใช้รักษาโรคลมชัก โรคอารมณ์สองขั้ว และป้องกันไมเกรน) ยับยั้งเมแทบอลิซึมของลอราเซแพม เทียบกับคาร์บามาเซพีน, lamotrigine (ใช้รักษาโรคลมชักและโรคอารมณ์สองขั้ว), phenobarbital (ใช้รักษาโรคลมชัก), เฟนิโทอิน และ rifampin (เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อโรคมีวัณโรคเป็นต้น) ที่เพิ่มเมแทบอลิซึมของมันยาต่าง ๆ เช่น ยาแก้ซึมเศร้าบางอย่าง ยาแก้ชักเช่น phenobarbital, เฟนิโทอิน และคาร์บามาเซพีน ยาต้านฮิสตามีนที่มีฤทธิ์ระงับประสาท โอปิแอต ยารักษาโรคจิตและแอลกอฮอล์ ซึ่งล้วนเมื่อกินร่วมกับลอราเซแพมอาจมีผลระงับประสาทเพิ่มขึ้น[9]

ยาเกินขนาด

ในกรณีที่สงสัยว่ากินยาลอราเซแพมเกินขนาด สำคัญที่จะรู้ว่าเป็นผู้ใช้ยาลอราเซแพมหรือเบ็นโซไดอาเซพีนอื่น ๆ เป็นประจำหรือไม่ เพราะการใช้เป็นประจำจะทำให้ชินยาและต้องพิจารณาด้วยว่า ได้บริโภคสารอื่น ๆ เข้าไปด้วยหรือไม่

อาการแสดงการกินยาเกินเริ่มจากความสับสน พูดไม่เป็นความ ปฏิกิริยาปฏิทรรศน์ ง่วงซึม กล้ามเนื้อตึงตัวน้อย กล้ามเนื้อเสียสหการ ความดันเลือดต่ำ ภาวะเหมือนถูกสะกดจิต โคม่า ระบบหัวใจและหลอดเลือดถูกกด หายใจน้อยเกิน และความตาย

การรักษาในเบื้องต้นรวมทั้งยาทำให้อาเจียน (emetic) ล้างท้อง และคาร์บอนกัมมันต์ (activated carbon)ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็เพียงแค่สังเกตดูอาการรวมทั้งชีวสัญญาณต่าง ๆ การดูแล และถ้าจำเป็น เมื่อพิจารณาถึงอันตรายที่อาจมีเพราะทำอย่างนี้แล้ว ให้ยา flumazenil[upper-alpha 5]ทางเส้นเลือดดำ

ในสถานการณ์อุดมคติ คนไข้ควรอยู่ในที่มีการพยาบาลอย่างเมตตา ไร้สิ่งที่ทำให้หงุดหงิด เพราะเบ็นโซไดอาเซพีนเพิ่มโอกาสให้เกิดปฏิกิริยาปฏิทรรศน์ถ้าให้ความเห็นใจแม้เมื่อแกล้งทำ คนไข้อาจตอบสนองอย่างเอื้ออารี แต่ก็ยังอาจตอบสนองต่อสิ่งที่ทำให้หงุดหงิดอย่างไม่สมเหตุผล[75]การให้คำปรึกษาแนะนำ (counseling) ไม่ค่อยมีคุณค่าในกรณีนี้ เพราะคนไข้ไม่น่าจะจำเหตุการณ์นี้ได้ เหตุฤทธิ์ทำให้จำไม่ได้ของยา

การตรวจจับในร่างกาย

ลอราเซแพมสามารถวัดได้ในเลือดหรือน้ำเลือดเพื่อยืนยันความเป็นพิษในคนไข้ใน รพ. หรือเป็นหลักฐานเพื่อจับว่าขับรถเมื่อเมา หรือเพื่อช่วยชันสูตรศพความเข้มข้นในเลือดปกติมีพิสัย 10-300 ไมโครกรัม/ลิตรสำหรับบุคคลที่ได้ยาเพื่อรักษาหรือสำหรับบุคคลที่ถูกจับว่าขับรถเมื่อเมาพิสัย 300-1,000 ไมโครกรัม/ลิตร จะพบในคนไข้ที่ได้ยาเกิน[76]แต่ลอราเซแพมอาจตรวจไม่พบด้วยวิธีการตรวจเบ็นโซไดอาเซพีนในปัสสาวะที่ใช้อย่างสามัญ[77][78]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลอราเซแพม http://www.baxter.com/products/anesthesia/anesthet... http://ebm.bmj.com/cgi/reprint/11/2/54.pdf http://emj.bmj.com/cgi/content/extract/23/6/472 http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.3821.... http://www.medscape.com/viewarticle/430209_3 http://www.medscape.com/viewarticle/489358 http://article.psychiatrist.com/?ContentType=START... http://www.rxlist.com/cgi/generic/loraz_ad.htm http://dgidb.genome.wustl.edu/drugs/DAP000237 http://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/labe...