คำสอนหลัก ของ ลัทธิสโตอิก

ลัทธิสโตอิก สอนว่าการควบคุมตนเองให้ปลอดจากการเกาะติดและจากอารมณ์กวนใจ บางครั้งแปลได้ว่าเป็นเส้นแบ่งความพอใจเท่ากันในความปีติหรือความเจ็บปวดที่เป็นการช่วยให้คนกลายเป็นนักคิดที่โปร่งใส เสมอต้นเสมอปลายไม่ลำเอียง ข้อดีของลัทธิสโตอิกได้แก่การช่วยปรับปรุงสภาพจิตของตัวบุคคลให้ดีขึ้น

คุณธรรม เหตุผลและกฎธรรมชาติ เป็นตัวชี้นำสำคัญ ลัทธิสโตอิกมีความเชื่อว่า ความเชี่ยวชาญในการควบคุมกัมมภาวะ (passion) และอารมณ์สามารถเอาชนะความไม่ร่วมแนว(discord) ของโลกภายนอกและจะได้รับความสุขสันติในตัวของบุคคลนั้นๆ เอง ลัทธิสโตอิก เชื่อว่ากัมมภาวะเป็นตัวบิดเบือนความจริง และว่าการมุ่งค้นหาความจริงคือคุณธรรม นักปราชญ์ชาวกรีก เช่นคลีนเทส ชรายซิบปุส และนักปราชญ์ชาวโรมันในสมัยต่อมาเช่น ซิเซโร,มาร์คัส ออเรลิอุส, คาโตผู้เยาว์, ดิโอ ชรายโซสตอม และอีปิเตตุส ทีช่วยสัมพันธ์เชื่อมโยงกับลัทธิสโตอิก ในกรณีของซิเซโร ควรเน้นให้เห็นว่าในขณะที่เขาใช้ลัทธิสโตอิกร่วมในบางส่วน แต่เขาก็ไม่ใช่ชาวสโตอิกแต่เป็นพวกคตินิยมสรรผสาน (ecletics) ปรัชญาสโตอิกจะมีความเปรียบต่างกับลัทธิบูชาความสำราญ (Epicureanism) อย่างเห็นได้ชัด

ลัทธิสโตอิก กลายเป็นปรัชญาที่ได้รับความนิยมอยู่ในแนวหน้าระหว่างพวกปัญญาชนผู้มีการศึกษาในสมัยจักรวรรดิเกรโก-โรมันถึงระดับที่ "ผู้สืบทอดของอเล็กซานเดอร์ยอมสารภาพว่าตนเองเป็นพวกสโตอิก" ตามคำกล่าวของกิลเบิร์ต เมอร์เรย์