ตัวอย่าง ของ ลิมิตของฟังก์ชัน

ฟังก์ชันค่าจริง

lim x → 3 x 2 = 9 {\displaystyle \lim _{x\to 3}x^{2}=9} ลิมิตของ x2 เมื่อ x เข้าใกล้ 3 คือ 9 ในกรณีนี้ ฟังก์ชันนั้นต่อเนื่อง และค่าของมันมีนิยามที่จุดนั้น ค่าลิมิตจึงเท่ากับการแทนค่าฟังก์ชัน
lim x → 0 + x x = 1 {\displaystyle \lim _{x\to 0^{+}}x^{x}=1} ลิมิตของ xx เมื่อ x เข้าใกล้ 0 จากทางขวาคือ 1
lim x → 0 1 x = Undefined {\displaystyle \lim _{x\to 0}{1 \over x}={\mbox{Undefined}}}
lim x → 0 + 1 x = + ∞ {\displaystyle \lim _{x\to 0^{+}}{1 \over x}=+\infty }
ลิมิตสองด้านของ 1/x เมื่อ x เข้าใกล้ 0 นั้นไม่มีนิยาม
ลิมิตของ 1/x เมื่อ x เข้าใกล้ 0 จากทางขวาคือ +∞
lim x → 0 + | x | x = 1 {\displaystyle \lim _{x\to 0^{+}}{|x| \over x}=1}
lim x → 0 − | x | x = − 1 {\displaystyle \lim _{x\to 0^{-}}{|x| \over x}=-1}
ลิมิตด้านเดียวของ |x|/x เมื่อ x เข้าใกล้ 0 คือ 1 จากด้านบวกและคือ -1 จากด้านลบ สังเกตว่า |x|/x = -1 เมื่อ x เป็นลบ และ |x|/x = 1 เมื่อ x เป็นบวก
lim x → 0 x sin ⁡ 1 x = 1 {\displaystyle \lim _{x\to 0}x\sin {1 \over x}=1} ลิมิตของ x sin(1/x) เมื่อ x เข้าใกล้ 0 คือ 0
lim | x | → ∞ x − a = 0  if  a ∈ R ; a > 0 ; x ∈ C {\displaystyle \lim _{|x|\to \infty }x^{-a}=0{\mbox{ if }}a\in \mathbb {R} ;a>0;x\in \mathbb {C} } ฟังก์ชันยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นลบใดๆ เข้าใกล้ 0 เมื่อขนาดของ x เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
lim x → ∞ x a b x = 0  if  a , b ∈ R ; b > 0 {\displaystyle \lim _{x\to \infty }{x^{a} \over b^{x}}=0{\mbox{ if }}a,b\in \mathbb {R} ;b>0} ฟังก์ชันยกกำลังใดๆ จะมีขนาดลดลงเป็นศูนย์ เทียบกับฟังก์ชันเลขชี้กำลังเพิ่มใดๆ เมื่อ x เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
lim x → ∞ log b ⁡ x x a = 0  if  a , b ∈ R ; a > 0 ; b > 0 {\displaystyle \lim _{x\to \infty }{\log _{b}x \over x^{a}}=0{\mbox{ if }}a,b\in \mathbb {R} ;a>0;b>0} ฟังก์ชันลอการิทึมใดๆ จะมีขนาดลดลงเป็นศูนย์ เทียบกับฟังก์ชันยกกำลังที่เป็นบวกใดๆ เมื่อ x เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
lim x → ∞ a x x ! = 0  if  a ∈ R {\displaystyle \lim _{x\to \infty }{a^{x} \over x!}=0{\mbox{ if }}a\in \mathbb {R} } ฟังก์ชันเลขชี้กำลังใดๆ จะมีขนาดลดลงเป็นศูนย์ เทียบกับฟังก์ชันแฟกทอเรียลใดๆ เมื่อ x เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด

ฟังก์ชันบนปริภูมิอิงระยะทาง

  • ถ้า z เป็นจำนวนเชิงซ้อน โดยที่ |z| < 1 แล้วลำดับ z, z2, z3, ... ของจำนวนเชิงซ้อนจะลู่เข้าโดยมีลิมิตเป็น 0 โดยเรขาคณิตแล้ว จำนวนเหล่านี้จะ "เวียนเป็นก้นหอย" เข้าสู่จุดกำเนิด ตามเส้นก้นหอยลอการิทึม
  • ในปริภูมิอิงระยะทาง C[a,b] ของฟังก์ชันต่อเนื่องใดๆ ที่นิยามบนช่วง [a,b] โดยมีระยะทางเพิ่มขึ้นจาก Supremum norm สมาชิกทุกตัวสามารถเขียนในรูปของลิมิตของลำดับของ ฟังก์ชันพหุนาม ได้ นี่คือเนื้อหาของ ทฤษฎีบทสโตน-ไวแยร์สตราสส์ (Stone-Weierstrass theorem)

คุณสมบัติ

ประโยค "ลิมิตของฟังก์ชัน f ที่ p คือ L" เหมือนกับประโยค

"สำหรับลำดับลู่เข้า (xn) ใน M ซึ่งมีลิมิตเท่ากับ pลำดับ (f(xn)) ลู่เข้าสู่ลิมิต L"

ในกรณีที่ f เป็นฟังก์ชันค่าจริง จะได้ว่า ประโยคนั้นเหมือนกับ "ทั้งลิมิตซ้ายและลิมิตขวาของ f ที่ p คือ L"

ฟังก์ชัน f ต่อเนื่อง ที่ p ก็ต่อเมื่อ เราสามารถหาค่าของลิมิตของ f(x) เมื่อ x เข้าใกล้ p และค่านั้นเท่ากับ f(p)หรืออีกนัยหนึ่ง ฟังก์ชัน f แปลงลำดับใดๆ ใน M ซึ่งสู่เข้าหา p ไปเป็นลำดับ N ซึ่งลู่เข้าหา f(p)

[[[nl:Limiet#Limiet van een functie]]]