วงศ์เม่นโลกเก่า
วงศ์เม่นโลกเก่า

วงศ์เม่นโลกเก่า

เม่นโลกเก่า (อังกฤษ: Old world porcupine) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จำพวกเม่นวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hystricidaeมีลักษณะทั่วไปตัวยาวเต็มที่ประมาณ 2 ฟุต หรือ 2 ฟุตครึ่ง ขาสั้น มีลักษณะเด่น คือ มีขนที่บริเวณหลังและช่วงท้ายลำตัวแข็งยาวเป็นหนามมีลายสลับสีขาวดำ บางอันอาจยาวได้ถึง 1 ฟุต ปลายแหลมเหมือนปลายหอกหรือลูกศร ซึ่งเอาไว้ป้องกันตัวจากศัตรูที่รุกราน ซึ่งทำให้แผลอักเสบติดเชื้อได้เม่น เป็นสัตว์ที่หากินและอยู่อาศัยเพียงลำพังตัวเดียวหรือไม่ก็อยู่เป็นคู่ หากินในเวลากลางคืน กลางวันจะนอนหลับพักผ่อนในโพรงดินที่ขุดขึ้นมาเอง หากินรากพืชหรือผลไม้ เป็นอาหารหลัก ถ้าถูกคุกคาม เม่นจะวิ่งหนี ถ้าหากจวนตัวเมื่อไหร่จะหยุดและพองขน พร้อมกับสั่นขนให้เกิดเสียงสั่นซ่า พร้อมกับกระทืบเท้าลงพื้นดินเป็นการขู่ หากยังไม่หยุดคุกคาม เม่นจะหยุดกะทันหันหรือบางครั้งอาจจะถอยหลังวิ่งเข้าหา ซึ่งขนแหลมเหล่านี้จะปักลงไปในเนื้อของผู้รุกราน ทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก ซึ่งแม้แต่สัตว์ใหญ่อย่าง สิงโต หากโดนขนหนามเหล่านี้แทงเข้าถูกอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ หรือปอด ทำให้ถึงแก่ความตายได้เม่น เป็นสัตว์ที่มีกรงเล็บแหลมคมและฟันแทะที่แข็งแรงมาก ซึ่งเขียนเป็นสูตรได้ว่า 1.0.1.3 1.0.1.3 {\displaystyle {\tfrac {1.0.1.3}{1.0.1.3}}} ใช้สำหรับขุดโพรงดินเพื่อเป็นรังที่อยู่อาศัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน ซึ่งในโพรง ๆ หนึ่งอาจอยู่รวมกันหลายตัว ฟันของเม่นนอกจากจะใช้กัดแทะพืชแล้ว ยังใช้แทะเขาสัตว์, โครงกระดูกสัตว์อื่นที่ตายแล้ว หรืองาช้าง เพื่อเสริมแคลเซี่ยมให้แก่ร่างกายได้ด้วย ที่แอฟริกาตะวันตกเคยมีผู้จับเม่นไปขังไว้ในหีบไม้ ปรากฏว่าพอรุ่งเช้า เม่นสามารถแทะหีบไม้นั้นทะลุเป็นรูโหว่หนีไปได้ขนของเม่นสามารถที่จะผลัดใหม่ได้ เมื่อขนเก่าหลวม จะสลัดขนทิ้งโดยการสั่นตัว ซึ่งอาจจะพุ่งไกลไปข้างหลังได้หลายฟุต ซึ่งจากพฤติกรรมตรงนี้เองที่ทำให้เกิดความเชื่อว่า เม่นสามารถสะบัดขนใส่ศัตรู ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ ขนของเม่นนั้นเมื่อปักติดกับเนื้อของผู้ที่ถูกแทงเข้าแล้ว จะเจ็บปวดมากและดึงออกยาก เนื่องจากในเส้นขนนั้นจะมีเงี่ยงเล็ก ๆ แหลมคมจำนวนมากเหมือนตะขออยู่ด้านข้าง เมื่อปักลงเนื้อแล้วจึงถอนออกได้ยาก เพราะจะสวนทางกับเงี่ยงแหลมที่เกี่ยวติดกับเนื้อ[1]เม่นออกลูกเป็นตัว คราวละ 2-3 ตัว เมื่อเกิดมาแล้วลูกเม่นจะสามารถลืมตาและเกือบจะเดินได้เลย แต่ขนตามลำตัวยังไม่แข็งเหมือนตัวเต็มวัย จนรอให้ถึงอายุประมาณ 90 วันเสียก่อน[2]เม่นโลกเก่า กระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า โลกเก่า คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป ในประเทศไทย พบ 2 ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus) ซึ่งแต่เดิมเคยจัดให้ เม่นใหญ่แผงคอสั้น (Hystrix hodgsoni) มีอยู่ด้วย แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นชนิดย่อยของเม่นใหญ่แผงคอยาวไป[3]