วอยเอจเจอร์_1
วอยเอจเจอร์_1

วอยเอจเจอร์_1

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งวอยเอจเจอร์ 1 (อังกฤษ: Voyager 1) เป็นยานสำรวจอวกาศ (space probe) แบบไร้คนขับซึ่งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐหรือองค์การนาซาได้ทำการปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1977 ภายใต้โครงการวอยเอจเจอร์ ปัจจุบันยานปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นเวลา 43 ปี 2 เดือน 2 วัน (ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2020) และยังคงสื่อสารกับพื้นโลกผ่านทางเครือข่ายอวกาศห้วงลึก (DSN) เพื่อรับคำสั่งประจำและส่งข้อมูลกลับมายังโลก โดยข้อมูลระยะทางและความเร็วของยานตามเวลาจริงสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของนาซาและห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น[3] และด้วยระยะทางของยานสำรวจที่อยู่ไกลจากโลกราว 148.61 หน่วยดาราศาสตร์ (22.2 พันล้านกิโลเมตร, 13.8 พันล้านไมล์) ณ วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2020[4] ส่งผลให้ยาน วอยเอจเจอร์ 1 เป็นวัตถุที่สร้างโดยมนุษย์ที่อยู่ไกลจากโลกมากที่สุด[5]ภารกิจของยานสำรวจคือการบินโฉบดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และดวงจันทร์ไททัน (ดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์) ซึ่งต่างจากแผนการบินเดิมคือการบินโฉบดาวพลูโตโดยการไม่ผ่านดวงจันทร์ไททัน แต่ภายหลังได้มีการปรับเปลี่ยนแผนการบินเป็นการบินโฉบดวงจันทร์ไททัน ซึ่งมีความสำคัญมากกว่า โดยพุ่งเป้าไปที่ชั้นบรรยากาศ[6][7][8] วอยเอจเจอร์ 1 ได้ทำการสำรวจสภาพอากาศ สภาพสนามแม่เหล็ก และวงแหวนของทั้งดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ นอกจากนี้ยังเป็นยานสำรวจลำแรกที่ได้ถ่ายภาพเผยให้เห็นรายละเอียดของกลุ่มดาวบริวารของดาวเคราะห์เหล่านี้อีกด้วย ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจหลักในการบินโฉบดาวเสาร์เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980 ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ได้สร้างประวัติศาสตร์ โดยเป็นวัตถุที่สร้างโดยมนุษย์ชิ้นที่ 3 (จากทั้งหมด 5 ชิ้น) ที่โคจรด้วยความเร็วมากพอจนถึงระดับความเร็วหลุดพ้นเพื่อออกจากระบบสุริยะ นอกจากนี้ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2012 ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ยังเป็นยานอวกาศลำแรกที่ได้ข้ามผ่านอวกาศชั้นเฮลิโอพอสและเข้าสู่อวกาศชั้นมวลสารระหว่างดาว[9]ในปี ค.ศ. 2017 ทีมงานของวอยเอจเจอร์ประสบความสำเร็จในการทดลองจุดชุดเครื่องยนต์ไอพ่นที่ใช้ในการควบคุมแนวโคจร (TCM) ซึ่งไม่มีการใช้งานมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ส่งผลให้สามารถขยายเวลาทำภารกิจของยานไปได้อีกสองถึงสามปี[10]คาดการณ์ว่ายานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 จะยังสามารถทำภารกิจต่อไปได้จนถึงปี ค.ศ. 2025 หรือจนกว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี (RTG) จะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุปกรณ์ภายในยาน และหลังจากนั้นยานจะลอยเคว้งคว้างเป็นวัตถุเร่ร่อนในอวกาศ

วอยเอจเจอร์_1

ผู้ผลิต ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น
เว็บไซต์ voyager.jpl.nasa.gov
มวลขณะส่งยาน 825.5 kg (1,820 lb)
COSPAR ID 1977-084A[1]
กำลังไฟฟ้า 470 วัตต์ (ขณะปล่อยยาน)
ประเภทภารกิจ สำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอก เฮลิโอสเฟียร์ และมวลสารระหว่างดาว
SATCAT no. 10321[2]
วันที่ส่งขึ้น 5 กันยายน ค.ศ. 1977, 12:56:00 UTC
ผู้ดำเนินการ นาซา
ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น
ระยะห่าง 6,490 km (4,030 mi)
จรวดนำส่ง Titan_IIIE
เข้าใกล้สุด 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980
ระยะภารกิจ
  • 43 ปี 2 เดือน 2 วัน
  • สำรวจดาวเคราะห์: 3 ปี 3 เดือน 9 วัน
  • สำรวจอวกาศระหว่างดาวฤกษ์: 39 ปี 10 เดือน 24 วัน
ชนิดยานอวกาศ มาริเนอร์ จูปิเตอร์-แซทเทิร์น (Mariner Jupiter-Saturn)
ฐานส่ง ฐานปล่อยจรวด 41 ฐานทัพอากาศแหลมคะแนเวอรัล

แหล่งที่มา

WikiPedia: วอยเอจเจอร์_1 http://lightyears.blogs.cnn.com/2011/12/06/spacecr... http://edition.cnn.com/2003/TECH/space/11/05/voyag... http://edition.cnn.com/TECH/space/9802/17/nasa.dis... http://news.discovery.com/space/voyager-1-flys-int... http://www.dnaindia.com/scitech/report_voyager-1-p... http://heavens-above.com/solar-escape.asp http://www.heavens-above.com/solar-escape.asp http://www.latimes.com/science/sciencenow/la-sci-s... http://www.mail-archive.com/medianews@twiar.org/ms... http://forum.nasaspaceflight.com/index.php?action=...