เบื้องหลังภารกิจ ของ วอยเอจเจอร์_1

ความเป็นมา

ในปี ค.ศ. 1964 นาซาได้เสนอแนวคิดโครงการแกรนด์ทัวร์ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งยานสำรวจเพื่อทำการศึกษาดาวเคราะห์ภายนอกระบบสุริยะ และเริ่มดำเนินงานโครงการในตอนต้นยุค ค.ศ. 1970[11] ข้อมูลที่ได้รับจากยานสำรวจ ไพโอเนียร์ 10 ยังช่วยให้ทีมวิศวกรของยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ สามารถออกแบบยานสำรวจเพื่อรับมือกับระดับกัมมันตรังสีที่รุนแรงของดาวพฤหัสบดีได้อีกด้วย[12]

เดิมทียานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ก็คือยานสำรวจ "มาริเนอร์ 11" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการมาริเนอร์มาก่อน ภายหลังงบประมาณของโครงการถูกจำกัดลง ทำให้เป้าหมายของภารกิจจึงเน้นไปที่การสำรวจดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์เป็นหลัก ยานถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มาริเนอร์ จูปิเตอร์-แซทเทิร์น (Mariner Jupiter-Saturn) แต่ภายหลังการดำเนินโครงการได้ระยะหนึ่ง มีการเปลี่ยนชื่อยานสำรวจอีกครั้งเป็น วอยเอจเจอร์ 1 เนื่องด้วยตัวยานได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำภารกิจที่ยิ่งใหญ่กว่าโครงการมาริเนอร์[13]

ส่วนประกอบของยานฯ

จานสื่อสารเกณฑ์ขยายสูงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.7 เมตร หรือ 12 ฟุต

ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ถูกสร้างขึ้นโดยศูนย์ปฏิบัติการเครื่องยนต์ไอพ่น (JPL)[14][15][16] ตัวยานขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ไฮดราซีน 16 ตัว มีไจโรสโคปรักษาตำแหน่งแบบ 3 แกน และระบบควบคุมยานที่คอยรักษาทิศทางของเสาวิทยุบนยานให้ชี้มายังโลก อุปกรณ์เหล่านี้จะเรียกรวมว่าเป็นระบบควบคุมตำแหน่งและแนวโคจร (AACS) มาพร้อมกับระบบควบคุมสำรอง และเครื่องยนต์ไอพ่นสำรองอีก 8 ตัว นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์รวมกว่า 11 ชิ้นเพื่อใช้ทำการศึกษาเหล่าดาวเคราะห์ที่ยานโคจรเข้าใกล้[17]

ระบบสื่อสาร

ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ใช้ระบบการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงซึ่งออกแบบให้สามารถสื่อสารได้ไกลถึงนอกระบบสุริยะ ตัวยานประกอบไปด้วยจานสายอากาศทรงพาราโบลา แบบแคสซิเกรน (Cassegrain) ซึ่งมีเกณฑ์ขยายสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.7 เมตร (12 ฟุต) ส่งสัญญาณและรับสัญญาณคลื่นวิทยุผ่านเครือข่ายสื่อสารข้อมูลห้วงอวกาศ (Deep Space Network: DSN) ที่มีสถานีฐานกระจายอยู่ทั่วพื้นโลก[18] ปกติแล้วยานจะส่งสัญญาณผ่านทางช่องสัญญาณ์ 18 โดยใช้ย่านความถี่ 2.3 จิกะเฮิรตซ์ หรือ 8.4 จิกะเฮิรตซ์ ในขณะที่การส่งสัญญาณจากโลกไปหาตัวยานจะทำผ่านย่านความถี่ 2.1 จิกะเฮิรตซ์ [19]

ในช่วงที่ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ไม่สามารถส่งข้อมูลมายังโลกโดยตรงได้ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกลงเทปบันทึกระบบดิจิตอล (DTR) ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้สูงสุด 64 กิโลไบต์ เพื่อรอการส่งกลับมายังโลกในครั้งถัดไป[20] โดยใช้เวลาประมาณ 20 ชั่วโมงในการส่งสัญญาณจากยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 กลับมายังโลก[21]

แหล่งพลังงาน

ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ใช้พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี หรืออาร์ทีจี (Radioisotope Thermoelectric Generator) รวม 3 เครื่อง ติดตั้งในลักษณะเป็นส่วนแขนยื่นออกจากตัวยาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแต่ละเครื่องประกอบไปด้วยลูกบอลอัดเชื้อเพลิงพลูโตเนียม-238 (238Pu) ในรูปของพลูโตเนียมออกไซด์ (PuO2) ทั้งหมด 24 ลูก[22] กำลังไฟฟ้าวัดได้รวม 470 วัตต์ ณ วันที่ทำการปล่อยยาน[23] โดยพลังงานไฟฟ้าที่ได้จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป อันเป็นผลจากการสลายตัวของพลูโตเนียม-238 ที่มีค่าครึ่งชีวิตอยู่ที่ 87.7 ปี รวมถึงการเสื่อมสภาพของชุดเทอร์โมคัปเปิล อย่างไรก็ตามเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอาร์ทีจีจะยังคงจ่ายพลังงานให้กับตัวยานได้อย่างเพียงพอต่อไปจนถึงปี ค.ศ. 2025[17][22]

  • ผังแท่งเก็บเชื้อเพลิงของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอาร์ทีจี แสดงลูกบอลเชื้อเพลิงพลูโตเนียม-238 ออกไซด์
  • ผังชั้นโครงสร้างของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอาร์ทีจี แสดงชุดเทอร์โมคัปเปิลทำจากซิลิคอน-เจอมาเนียม
  • แบบจำลองเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอาร์ทีจี

ปัจจุบันปริมาณพลูโตเนียม-238 ใน วอยเอจเจอร์ 1 คงเหลือ 71.09% เทียบกับวันที่ปล่อยยาน และจะลดลงจนเหลือเพียง 56.5% ในปี ค.ศ. 2050

ระบบคอมพิวเตอร์

แทบทุกส่วนของตัวยานสำรวจทำงานโดยอัตโนมัติผ่านการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ยกเว้นระบบถ่ายภาพแสงที่มองเห็นได้ซึ่งเป็นเพียงระบบเดียวที่ไม่ได้ทำงานแบบอัตโนมัติ แต่จะถูกควบคุมโดยชุดค่าพารามิเตอร์ในคอมพิวเตอร์ระบบย่อยข้อมูลการบิน (Flight Data Subsystem: FDS) ต่างจากกล้องถ่ายภาพในยานสำรวจยุคหลังจากปี ค.ศ. 1990 ที่เปลี่ยนมาใช้ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติทั้งหมดแล้ว[24]

ระบบย่อยคอมพิวเตอร์สั่งการ (Computer Command Subsystem: CCS) ประกอบไปด้วยชุดคำสั่งแบบสำเร็จ เช่น ชุดคำสั่งถอดรหัส ชุดคำสั่งตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่อง ชุดคำสั่งควบคุมทิศทางของเสาอากาศ และชุดคำสั่งควบคุมตำแหน่งยาน คอมพิวเตอร์ส่วนนี้เป็นส่วนที่พัฒนามาจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในยานโครงการไวกิ้ง (Viking Program) ช่วงยุค ค.ศ. 1970 ฮาร์ดแวร์แบบปรับแต่งเอง (custom-built) ที่ใช้สำหรับระบบย่อยคอมพิวเตอร์สั่งการของยานสำรวจทั้งสองลำในโครงการ โวเอจเจอร์ จะเหมือนทุกประการ มีเพียงการปรับแต่งโปรแกรมเล็กน้อยเพราะมีระบบย่อยทางวิทยาศาสตร์ที่ยานอีกลำไม่มี[25]

ระบบย่อยควบคุมตำแหน่งและแนวโคจร (Attitude and Articulation Control Subsystem: AACS) เป็นระบบที่ใช้ในการควบคุมตำแหน่งและทิศทางของตัวยาน คอยควบคุมองศาของเสาอากาศยานให้ชี้มายังโลก ควบคุมการเปลี่ยนตำแหน่ง และบังคับทิศทางของยานเพื่อทำการถ่ายภาพวัตถุและพื้นผิว ระบบย่อยนี้สำหรับยานสำรวจในโครงการ โวเอจเจอร์ จะเหมือนทุกประการ[26][27]

เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์

ดูบทความหลักที่: โครงการวอยเอจเจอร์
ประเภทตัวย่อรายละเอียดการทำงาน
ระบบวิทยาศาสตร์การถ่ายภาพ (Imaging Science System)
ปิดการทำงานแล้ว
ISSทำงานโดยอาศัยกล้องถ่ายภาพ 2 ชุด คือ กล้องมุมมองกว้าง และกล้องมุมมองแคบ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายของดาวเคราะห์หรือวัตถุที่ยานเคลื่อนผ่านตลอดภารกิจ เพิ่มเติม
ตัวกรองแสง
กล้องมุมมองแคบ[28]
ชนิดความยาวคลื่นสเปกตรัมไวต่อแสง
แบบใส280–640 นาโนเมตร
แสงยูวี280–370 นาโนเมตร
สีม่วง350–450 นาโนเมตร
สีน้ำเงิน430–530 นาโนเมตร
สีเขียว530–640 นาโนเมตร
สีส้ม590–640 นาโนเมตร
กล้องมุมมองกว้าง[29]
ชนิดความยาวคลื่นสเปกตรัมไวต่อแสง
แบบใส280–640 นาโนเมตร
สีม่วง350–450 นาโนเมตร
สีน้ำเงิน430–530 นาโนเมตร
CH4-U536–546 นาโนเมตร
สีเขียว530–640 นาโนเมตร
Na-D588–590 นาโนเมตร
สีส้ม590–640 นาโนเมตร
CH4-JST614–624 นาโนเมตร
ระบบวิทยาศาสตร์วิทยุ (Radio Science System)
ปิดการใช้งานแล้ว
RSSทำงานโดยอาศัยระบบสื่อสารของยานโวเอจเจอร์ในการเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์และดาวบริวาร (ชั้นบรรยากาศ มวล สนามแรงโน้มถ่วง ความหนาแน่น) อีกทั้งยังทำการเก็บข้อมูลปริมาณและขนาดของวัตถุที่อยู่ในวงแหวนของดาวเสาร์ รวมถึงขนาดของวงแหวนอีกด้วย เพิ่มเติม
อินฟราเรด อินเตอร์เฟอโรมิเตอร์ สเปกโทรมิเตอร์ (Infrared Interferometer Spectrometer)
ปิดการทำงานแล้ว
IRISทำการสำรวจดุลพลังงาน และองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศแบบเฉพาะพื้นที่และแบบทั่วทั้งดาว นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลรายละเอียดของระดับอุณภูมิในแต่ละชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์และเหล่าดาวบริวาร รวมถึงองค์ประกอบ สมบัติทางความร้อน และขนาดของวัตถุที่อยู่ในวงแหวนของดาวเสาร์ เพิ่มเติม
อัลตราไวโอเลต สเปกโทรมิเตอร์ (Ultraviolet Spectrometer)
ปิดการทำงานแล้ว
UVSออกแบบมาเพื่อทำการวัดค่าต่างๆ ของชั้นบรรยากาศ รวมถึงการวัดค่าของการแผ่รังสี เพิ่มเติม
ฟลักซ์เกทแมกนิโทมิเตอร์แบบสามแกน (Triaxial Fluxgate Magnetometer)
ยังทำงานอยู่
MAGออกแบบมาเพื่อทำการศึกษาสนามแม่เหล็ก ของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ปฏิกิริยาระหว่างพายุสุริยะที่มีต่อแม็กนีโตสเฟียร์ของดาวเคราะห์แต่ละดวง สนามแม่เหล็กของอวกาศชั้นนอก ไปจนถึงเส้นขอบระหว่างลมสุริยะกับสนามแม่เหล็กของอวกาศระหว่างดาว เพิ่มเติม
พลาสมา สเปกโทรมิเตอร์ (Plasma Spectrometer)
ระบบขัดข้อง
PLSทำการศึกษาคุณสมบัติของอนุภาคไออนในพลาสมาและตรวจหาจำนวนของอิเล็กตรอนที่มีพลังงานในช่วง 5 อิเล็กตรอนโวลต์ถึง 1 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ เพิ่มเติม
เครื่องตรวจวัดอนุภาคมีประจุพลังงานต่ำ (Low Energy Charged Particle Instrument)
ยังทำงานอยู่
LECPทำการวัดความค่าความเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์พลังงาน การกระจายตัวเชิงมุมของไอออนและอิเล็กตรอน ตลอดจนวัดความเปลี่ยนแปลงของพลังงานในสารประกอบของไอออน เพิ่มเติม
เครื่องตรวจจับรังสีคอสมิก (Cosmic Ray System)
ยังทำงานอยู่
CRSค้นหาแหล่งกำเนิดและกระบวนการเร่ง ประวัติในช่วงชีวิตและการพัวพันเชิงพลวัตของรังสีคอสมิกระหว่างดาว (interstellar cosmic ray) การสังเคราะห์นิวเคลียสของธาตุองค์ประกอบในแหล่งกำเนิดของรังสีคอสมิก พฤติกรรมของรังสีคอสมิกในมวลสารระหว่างดาว รวมถึงสภาพแวดล้อมของอนุภาคพลังงานสูงของดาวเคราะห์ที่ถูกกักไว้ เพิ่มเติม
ระบบวิเคราะห์ดาราศาสตร์วิทยุ (Planetary Radio Astronomy Investigation)
ปิดการทำงานแล้ว
PRAอาศัยการทำงานของเครื่องรับวิทยุแบบกวาดความถี่เพื่อศึกษาคลื่นวิทยุที่ปล่อยออกมาจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ เพิ่มเติม
เครื่องวัดการโพลาไรซ์ของแสง (Photopolarimeter System)
ระบบขัดข้อง
PPSอาศัยการทำงานของกล้องโทรทรรศน์ที่มีโพลาไรเซอร์ในการเก็บข้อมูลรายละเอียดและองค์ประกอบของพื้นผิว รวมถึงคุณสมบัติการกระจายตัวและความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสและดาวเสาร์ เพิ่มเติม
ระบบตรวจจับคลื่นพลาสมา (Plasma Wave System)
ยังทำงานอยู่
PWSอาศัยการทำงานของเสาอากาศที่ยืดหดได้ในการวัดปฏิกิริยาของคลื่นอิเล็กตรอนบริเวณรอบดาวเคราะห์กับช่วงมวลสารระหว่างดาว โดยการตรวจวัดค่าความเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้าเมื่อเสาอากาศเคลื่อนผ่านกลุ่มเมฆประจุไฟฟ้า เพิ่มเติม
ภาพของยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1
ยาน วอยเอจเจอร์ 1 ในหอจำลองสภาพอวกาศ
ยาน วอยเอจเจอร์ 1 ในหอจำลองสภาพอวกาศ 
แผ่นจานทองคำ ถูกติดตั้งไปกับยาน วอยเอจเจอร์ 1
แผ่นจานทองคำ ถูกติดตั้งไปกับยาน วอยเอจเจอร์ 1 
Edward C. Stone อดีตผู้อำนวยการการของนาซา ถ่ายภาพคู่กับแบบจำลองของยาน วอยเอจเจอร์
Edward C. Stone อดีตผู้อำนวยการการของนาซา ถ่ายภาพคู่กับแบบจำลองของยาน วอยเอจเจอร์ 
ผังแสดงตำแหน่งของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
ผังแสดงตำแหน่งของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ 
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ the Voyager spacecraft

แหล่งที่มา

WikiPedia: วอยเอจเจอร์_1 http://lightyears.blogs.cnn.com/2011/12/06/spacecr... http://edition.cnn.com/2003/TECH/space/11/05/voyag... http://edition.cnn.com/TECH/space/9802/17/nasa.dis... http://news.discovery.com/space/voyager-1-flys-int... http://www.dnaindia.com/scitech/report_voyager-1-p... http://heavens-above.com/solar-escape.asp http://www.heavens-above.com/solar-escape.asp http://www.latimes.com/science/sciencenow/la-sci-s... http://www.mail-archive.com/medianews@twiar.org/ms... http://forum.nasaspaceflight.com/index.php?action=...