ประวัติ ของ วัดพระธรรมกาย

ยุคเริ่มต้น (พ.ศ. 2506–2521)

ในสมัยที่พระมงคลเทพมุนีได้มรณภาพไปแล้ว ลูกศิษย์ของท่าน รวมถึงแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ได้สืบทอดสายปฏิบัติของวิชชาธรรมกาย ให้กับลูกศิษย์รุ่นใหม่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ[5] ในสมัยนั้น ไชยบูลย์ สุทธพลศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2506 ไชยบูลย์ ได้ไปที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ หลังจากที่ได้อ่านวารสาร วิปัสสนาบันเทิงสาร ซึ่งมีอ้างถึงคุณวิเศษของแม่ชีจันทร์[6][7]

ไชยบูลย์ได้ชักชวนเพื่อนนักศึกษาร่วมกิจกรรมที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ คณะลูกศิษย์แม่ชีจันทร์จึงขยายมากขึ้น[7] มีอยู่หนึ่งคนในคณะลูกศิษย์ที่ชื่อเผด็จ ผ่องสวัสดิ์ (ซึ่งในภายหลังได้บวชเป็นพรภิกษุ และได้มาเป็นรองเจ้าอวาสวัดพระธรรมกาย ชื่อพระเผด็จ ทตฺตชีโว). ในปี 2512 ไชยบูลย์เองได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้รับฉายา "ธมฺมชโย" และต่อมาได้เริ่มสอนกรรมฐานที่วัดปากน้ำภาษีเจริญร่วมกับแม่ชีจันทร์[8] ในที่สุดคณะลูกศิษย์ได้ขยายไปเป็นจำนวนมาก จึงมีความยากที่จะจัดกิจกกรมที่วัดปากน้ำภาษีเจริญต่อ[9] ดังนั้นในวันที่ 20 ก.พ. พ.ศ. 2513 แม่ชีจันทร์ พระธัมมชโย และพระทัตตชีโว พร้อมกับบรรดาลูกศิษย์ได้ย้ายไปตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมอีกต่างหาก โดยที่มีเริ่มต้นบนที่ดินแปลง 196 ไร่ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี[10]

กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นวัดตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ในชื่อ "ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดวรณีธรรมกายาราม" ได้ชื่อตามวรณี สุนทรเวช ธิดาของพระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) กับคุณหญิงแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (ประหยัด สุนทรเวช) ผู้บริจาคสถานที่ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "วัดพระธรรมกาย" จนถึงปัจจุบัน[11][12] ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดโดยสมบูรณ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2522 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 15 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522[13][14]

ในสมัยแรกแม่ชีจันทร์ยังมีบทบาทที่สำคัญในการบอกบุญ และการปกครอง ต่อมา เมื่อท่านอายุมากขึ้น จึงค่อยๆ มอบให้ลูกศิษย์ของท่าน คือหลวงพ่อธัมมชโย และหลวงพ่อทัตตชีโวบริหารงานต่อ[9]

การเติบโต (พ.ศ. 2522–2539)

ในสมัย พ.ศ. 2520-2530 ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจในประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว วัดพระธรรมกายเริ่มเป็นที่นิยมของประชาชนมากขึ้น.[15][16][17] วัดพระธรรมกายได้ถ่ายทอดค่านิยม มุ่งเน้นความสำเร็จทางธุรกิจ ความทันสมัย และการฝึกฝนตนเอง ซึ่งทำให้วัดเป็นที่ดึงดูดของประชาชนชนชั้นกลาง[18] อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้นประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน ทั้งด้านธรรมเนียมประเพณี และด้านสังคม ชนชั้นกลางจึงต้องการที่พึ่ง[19][20]

ตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มสร้างวัดพระธรรมกายจะมุ่งเน้นกิจกรรมสำหรับนักเรียน และนักศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 วัดพระธรรมกายได้ตั้งโครงการอบรมขึ้นมา โดยตั้งชื่อว่า ธรรมทายาท ซึ่งเป็นโครงการปฏิบัติธรรมที่มุ่งเน้นนักศึกษามหาวิทยาลัย[21] ต่อมานักศึกษที่ผ่านการอบรมโครงการนี้ ได้มาเป็นผู้ประสานงานในชมรมพุทธของมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยที่ในช่วงเวลา พ.ศ. 2520–2530 มีผู้ประสานงานที่เป็นลูกศิษย์ของวัดประสานงานในชมรมพุทธในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย[22] และในปี พ.ศ. 2524 วัดพระธรรมกายจัดตั้งโครงการ ทางก้าวหน้า โดยที่มีโรงเรียนหลายแห่งในประเทศไทยสมัครเพื่อให้นักเรียนแข่งขันสอบความรู้ด้านคำสอนเรื่องจรียธรรมในพระพุทธศาสนา[23] ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 วัดพระธรรมกายได้ปรับโครงการ ธรรมทายาท มาเป็นโครงการบวช ตามธรรมเนียมโบราณที่จะบวชสั้น[24] ซึงในเวลานั้นการบวชตามประเพณีมักบวชไม่นานนัก วัดพระธรรมกายจึงได้พยายามที่จะสวนกระแสดังกล่าว โดยการจัดบวช 2–3 เดือนเป็นอย่างน้อย[25] ในปี พ.ศ. 2529 วัดพระธรรมกายได้เริ่มอบรมผู้หญิงในโครงการอบรมระยะยาว[9]

ในสมัย พ.ศ. 2530 วัดพระธรรมกายมีคนร่วมพิธีกรรมสำคัญโดยเฉลี่ยจำนวน 50,000 คน[26] โครงการธรรมทายาทดังกล่าวเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2522 โดยมีผู้มาอบรมเพียง 60 คน แต่ในปี พ.ศ. 2529 จำนวนเพิ่มขึ้นเป็นหลายพันคน[27] ในปี พ.ศ. 2533 มีพระประจำรวม 260 รูป สามเณรรวม 214 รูป และเจ้าหน้าที่วัดรวม 441 คน[9] ทางวัดพระธรรมกาย ริเริ่มจัดกิจกรรมอย่างกว้าง อย่างเช่น ชวนประชาชนร่วมกันบริจาคเลือด จัดอบรมปฏิบัติธรรมให้กับภาครัฐ และเอกชน[28] รวมทั้งส่งเสริมงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. 2527 มีการจัดทำซีดีพระไตรปิฎกที่สามารถสืบค้นคำสำคัญได้ ซึ่งได้ร่วมมือกับสมาคมบาลีปกรณ์ ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัย California ณ เมือง Berkeley สหรัฐอเมริกา[29]

ในปี พ.ศ. 2529 มูลนิธิธรรมกายได้รับการรับรอง จากองค์กรสหประชาชาติ[10] และเริ่มมีการประชุมการศึกษา เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อส่งเสริมสันติภาพ สำหรับกลุ่มเยวชน เมื่อปี พ.ศ. 2559 มูลนิธิธรรมกายมีฐานะเป็นองค์กรที่ปรึกษาของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ[28] ในสมัยนั้นมูลนิธิธรรมกายเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรพุทธต่างประเทศหลายองค์กร ตัวอย่างเช่นฟอควงซาน [en]ในไต้หวันและวัดพระพุทธเจ้า แสนพระองค์ [en]ในฮ่องกง เป็นต้น[9][10]

วัดพระธรรมกายเริ่มขยายพื้นที่มากขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาทางวัดได้เริ่มตั้งศูนย์สาขาในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไต้หวัน[30][9]

การวิจารณ์ และคดี (พ.ศ. 2540–2543)

โครงการด้านการคณะสงฆ์

โครงการเจริญพุทธมนต์ 5 ธันวามหาราช จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556โครงการมุทิตาสักการะพระภิกษุ–สามเณรเปรียญธรรม 9 ประโยค เริ่มปี พ.ศ. 2530 จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนสิงหาคม นับถึงปี พ.ศ. 2556 เป็นครั้งที่ 26 โดยมีพระเปรียญธรรม 9 ประโยค ร่วมรับถวายมุทิตา จำนวน 1,132 รูป รวมมอบทุนการศึกษากว่า 7,924,000 บาท[31]โครงการถวายทุนการศึกษาแก่สำนักเรียนบาลีทั่วประเทศ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 นับถึงปี พ.ศ. 2556 เป็นครั้งที่ 10 โดยมอบทุนการศึกษาแก่สำนักเรียนที่สอบได้คะแนนสูงสุดในแต่ละประเภท รวมมอบทุนการศึกษา ปีละกว่า 4,000,000 บาท[31][32]

กรณีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น

วันที่ 16 ก.พ. 2560 ทางรัฐบาลมีคำสั่งใช้มาตรา 44 ให้พื้นที่บริเวณวัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เป็นเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ ป้องกันไม่ให้มีบุคคลเข้าไปในพื้นที่และผลักดันผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในวัดออกนอกพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอได้เข้าไปตรวจค้น พร้อมทั้งควบคุมตัวพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา คดีพิเศษเลขที่ 27/2559 ในข้อหาสบคบและร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร [33][34]

ใกล้เคียง

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดพระธรรมกาย วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

แหล่งที่มา

WikiPedia: วัดพระธรรมกาย http://www.archipel.uqam.ca/2637/1/D1882.pdf http://www.bbc.com/news/world-asia-39263793 http://morning-news.bectero.com/social-crime/09-De... http://www.blognone.com/node/35193 http://www.blognone.com/node/35247 http://www.blognone.com/node/35287 http://www.forbesthailand.com/commentaries-detail.... http://fb.kapook.com/hilight-88083.html http://www.matichonelibrary.com/ http://www.posttoday.com/social/general/469130