โบราณสถาน ของ วัดอัมพวันเจติยาราม

ภาพจิตรกรรมฝาผนังกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค รัชกาลที่ 2

พระปรางค์ของวัด มีลักษณะก่ออิฐถือปูน ย่อมุมไม้ยี่สิบฐานเป็นสิงห์ซ้อนกันชั้น ๆ เรือนธาตุมีซุ้มทั้งสี่ด้าน มีวิหารคดล้อมรอบซึ่งมีหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ภายในวิหารคดประดิษฐานพระพุทธรูปพระทับนั่งอยู่โดยรอบ ด้านหนึ่งประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์

พระที่นั่งทรงธรรม วิหารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องมีชายคาปีกนกคลุมทั้งสี่ด้าน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป "หลวงพ่อทรงธรรมหรือหลวงพ่อดำ" และรอยพระพุทธบาทจำลองสี่รอย พระอุโบสถของวัดเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องด้านหน้าและมีพาไลยื่นออกมา หน้าบันประดับกระจกสี ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งเขียนช่วงปี พ.ศ. 2540–2542 เป็นภาพแสดงพระราชประวัติรัชกาลที่ 2 และเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์เรื่อง สังข์ทอง ไกรทอง คาวี และอิเหนา และบริเวณประตูด้านหน้าเป็นภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค วัดยังมีกุฏิทรงไทยยกพื้นสูง สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 1[5]

ใกล้เคียง

วัดอัมพวัน (จังหวัดสิงห์บุรี) วัดอัมพวันเจติยาราม วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร วัดอัมพวัน (จังหวัดลพบุรี) วัดอัครเทวดามีคาแอล ซ่งแย้ วัดอัมพวัน (จังหวัดนครนายก) วัดอัมพวัน (กรุงเทพมหานคร) วัดอัมพวัน (จังหวัดนนทบุรี) วัดอัมพวัน (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) วัดอัมพวัน