วิกฤติทวีความรุนแรง ของ วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา

เพียงหนึ่งชั่วโมงหลังจากนั้นเมื่อเวลา 11:24 มีการส่งโทรเลขโดยจอร์จ บอลไปยังสถานทูตอเมริกาในตุรกีและสถานทูตอเมริกาส่งต่อให้กับนาโต้โดยระบุว่าพวกเขาต้องการยื่นข้อเสนอที่จะถอนขีปนาวุธออกจากตุรกีเพื่อแลกกับการที่อีกฝ่ายถอนขีปนาวุธออกจากคิวบา ต่อมาในเช้าของวันที่ 25 ตุลาคมนักข่าวชื่อวอลเตอร์ ลิปป์แมนได้เสนอทางออกเดียวกันในหนังสือพิมพ์ของเขา

ในช่วงที่วิกฤติยังดำเนินต่อไป ในค่ำนั้นโซเวียตได้รายงานถึงการแลกเปลี่ยนข้อตกลงผ่านทางโทรเลขระหว่างครุสชอฟและเบิร์ตแรนด์ รัสเซล ซึ่งครุสชอฟได้เตือนว่าการกระทำเยื่ยงโจรสลัดของสหรัฐจะนำไปสู่สงคราม อย่างไรก็ตามเมื่อเวลา 21:24 มีโทรเลขจากครุชเชฟถึงเคนเนดีซึ่งได้รับเมื่อเวลา 22:52 ซึ่งครุสชอฟได้บอกถึงการที่สหภาพโซเวียตจะปฏิเสธทุกการกระทำตามอำเภอใจของสหรัฐ และมองว่าการปิดกั้นทางทะเลเป็นการกระทำที่ก้าวร้าวและเรือของพวกเขาจะได้รับคำสั่งให้เพิกเฉย

ในคืนของวันที่ 23 ตุลาคมเหล่าหัวหน้าเจ้าหน้าที่ได้สั่งการฝ่ายบัญชาการยุทธศาสตร์ทางอากาศให้ไปยังเดฟคอน 2 (DEFCON 2) เพื่อเพียงยืนยันเวลา ข้อความและการโต้ตอบถูกส่งแบบถอดรหัสเพื่อทำให้หน่วยข่าวกรองของโซเวียตได้รับมัน[1] เรดาร์เตรียมพร้อม แต่ละฐานต่อสายตรงสู่ศูนย์บัญชาการการป้องกันทางอากาศในอเมริกาเหนือ

เมื่อเวลา 01:45 ของวันที่ 25 ตุลาคมเคนเนดีได้ตอบโทรเลขของครุสชอฟด้วยการกล่าวว่าสหรัฐถูกบังคับให้ทำการหลังจากที่ได้รับการยืนยันว่าไม่มีขีปนาวุธที่พร้อมโจมตีใด ๆ ในคิวบา และเมื่อการยืนยันเหล่านั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าผิดพลาดเขาหวังว่ารัฐบาลของโซเวียตจะกระทำการที่จำเป็นเพื่อทำให้สถานการณ์กลับไปเป็นปกติ

แผนที่ที่ใช้โดยกองทัพเรือสหรัฐในแอตแลนติก มันแสดงให้เห็นตำแหน่งเรือของฝ่ายอเมริกาและโซเวียตที่ช่วงที่วิกฤตการณ์ถึงจุดเดือด

เมื่อเวลา 07:15 เรือยูเอสเอส เอสเซ็กซ์และยูเอสเอส เกียร์ริ่งได้พยายามเข้าสกัดกั้นเรือชื่อบูชาเรสท์แต่ล้มเหลว เรือบรรทุกที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางทหารจะสามารถผ่านการปิดกั้นไปได้ หลังจากวันนั้นเมื่อเวลา 17:43 ผู้บัญชาการการปิดกั้นได้สั่งการให้เรือยูเอสเอส เคนเนดีเข้าสกัดกั้นและเข้ายึดเรือของเลบานอน หลังจากที่เรือลำดังกล่าวถูกตรวจก็ผ่านไปได้

เมื่อเวลา 17:00 นายวิลเลียม คลีเมนท์ได้ประกาศว่าขีปนาวุธในคิวบายังคงทำงานอยู่ ต่อมารายงานนี้ได้รับการตรวจสอบโดยซีไอเอที่แนะว่าขีปนาวุธนั้นไม่เคยหยุดทำงานเลย เคนเนดีตอบโต้ด้วยการสั่งการให้เครื่องบินทุกลำติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์

เช้าวันต่อมาเคนเนดีได้รายงานต่อคณะกรรมการบริหารว่าเขาเชื่อว่าเพียงแค่การบุกก็เพียงพอแล้วในถอนขีปนาวุธออกจากคิวบา อย่างไรก็ตามเขาถูกโน้มน้าวให้ใช้เวลาและใช้การเจรจาทางการทูต เขาเห็นด้วยและสั่งการให้การบินที่ระดับต่ำเหนือเกาะมีทุก ๆ สองชั่วโมง เขายังวางแผนให้มีการตั้งรัฐบาลใหม่ของคิวบาขึ้นมาหากเกิดการบุก

เมื่อมาถึงจุดนี้วิกฤตการณ์ยังคงเป็นการคุมเชิงอยู่ สหภาพโซเวียตไม่แสดงสัญญาณใด ๆ ที่ว่าพวกเขาจะยอมจำนนและยังเข้าการขัดขวางอีกด้วย สหรัฐไม่มีเหตุผลที่จะเชื่อในทางตรงกันข้ามและยังอยู่ในช่วงแรกของการเตรียมเข้าบุก พร้อมกับการใช้นิวเคลียร์โจมตีโซเวียตในกรณีโซเวียตใช้กำลังทางทหารเข้าโต้ตอบ[15]

ใกล้เคียง

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา http://journal.frontierindia.com/index.php?option=... http://www.upi.com/Audio/Year_in_Review/Events-of-... http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/artic... http://www.gwu.edu/~nsarchiv/coldwar/interviews/ep... http://www.gwu.edu/~nsarchiv/nsa/cuba_mis_cri/6201... http://www.gwu.edu/~nsarchiv/nsa/cuba_mis_cri/pres... http://andromeda.rutgers.edu/~hbf/missile.htm http://www.presidency.ucsb.edu/ws/index.php?pid=58... http://www.loc.gov/exhibits/archives/colc.html http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/us_and...