ภูมิหลัง ของ วิกฤตการณ์ปากน้ำ

การรุกคืบของฝรั่งเศสเพื่อเข้ามายึดครองดินแดนในแถบอินโดจีนเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 กรณีพิพาทเริ่มคุกรุ่นจากเหตุการณ์เมื่อพวกฮ่อได้รุกจากสิบสองจุไทลงมาตีเมืองหลวงพระบางในช่วงปี พ.ศ. 2428 [1] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)) เป็นแม่ทัพยกกำลังไปปราบฮ่อ ฝ่ายฝรั่งเศสอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันทั้งห้าทั้งหกว่าเป็นเมืองขึ้นของญวน ขอให้ทัพไทยถอยออกไปให้พ้นเขต การเจรจาต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับข้อเสนอของกันและกัน มีการข่มขู่จากฝรั่งเศสว่ามีกองกำลังเสริมประจำในไซ่ง่อนและจะส่งกองเรือรบเข้ามากรุงเทพฯและอ้างว่าฝ่ายอังกฤษได้จัดส่งเรือรบเข้ามาเพิ่มเติมในน่านน้ำไทย

ในที่สุดฝรั่งเศสจึงส่งเรือการข่าว "แองกงสตัง" (Inconstant) และเรือปืน "โกแมต" (Comète) 2 มาถึงปากแม่น้ำและขออนุญาตแล่นเรือผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อไปสมทบกับเรือ "ลูแตง" (Le Lutin) [2] เพื่อเจรจาต่อรอง เมื่อสยามปฏิเสธ ผู้บังคับบัญชาฝ่ายฝรั่งเศส พลเรือตรี แอดการ์ อูว์มัน (Edgar Humann) เมินเฉยต่อความต้องการของสยามและคำสั่งจากรัฐบาลฝร่งเศส ซึ่งก่อนการต่อสู้ พลเรือตรี อูว์มัน ได้รับคำสั่งห้ามเข้าสู่ปากแม่น้ำเพราะสยามได้เตรียมการอย่างดีสำหรับการรบ กองกำลังฝ่ายสยามประกอบด้วยป้อมพระจุลจอมเกล้าที่พึ่งสร้างเสร็จ มีปืนเสือหมอบขนาด 6 นิ้ว 7 กระบอก3 ป้อมอื่นๆใกล้เคียง (ป้อมแผลงไฟฟ้า ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง), ป้อมเสือซ่อนเล็บ, ป้อมผีเสื้อสมุทร) ระดมพลและเตรียมความพร้อมตามหัวเมืองชายทะเลตะวันออก มีการติดต่อสั่งซื้อยุทธภัณฑ์จากต่างประเทศ และการเตรียมการนี้มีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้เสด็จตรวจป้อมพระจุลจอมเกล้าอยู่เนืองๆ ทรงเปิดทางรถไฟสายปากน้ำ และมีการทดลองยิงปืนใหญ่ให้ทอดพระเนตร สยามยังได้จมเรือสำเภาและเรือบรรทุกหินในแม่น้ำเพื่อเป็นแนวป้องกัน บีบให้เส้นทางเดินเรือกลายเป็นทางผ่านแคบ ๆ เพียงทางเดียว มีการเตรียมระเบิดตอร์ปิโดขนาดเล็ก เตรียมปืนใหญ่ไว้ที่บางนา บางจาก และคลองพระโขนง[3]

เรือปืน 5 ลำจอดทอดสมออยู่ด้านหลังแนวสิ่งกีดขวาง ประกอบไปด้วย เรือมกุฎราชกุมาร, เรือทูลกระหม่อม, เรือหาญหักศัตรู, เรือนฤเบนทร์บุตรี และ เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์4 มีเรือ 2 ลำเป็นเรือรบทันสมัย คือ เรือมกุฎราชกุมาร และเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์[4] ขณะที่เรือที่เหลือเป็นเรือปืนเก่าหรือเรือกลไฟแม่น้ำที่ดัดแปลงมา มีการวางข่ายทุ่นระเบิด 16 ลูก ผู้บังคับบัญชาป้อมเป็นนายพลเรือชาวดัตช์ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวยุโรปหลายคนที่เข้ารับราชการในกองทัพไทย พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ) เป็นผู้บังคับบัญชาเรือปืน

ใกล้เคียง

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907