ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์
ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์

ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์

ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

สถานีวิกิย่อย
ประวัติศาสนาพุทธพระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์มีการเสนอเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ศาสนาพุทธนั้นเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้ ทำให้ศาสนาพุทธได้กลายเป็นประเด็นหนึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์[1]มีการอ้างว่า คำสอนทั้งทางปรัชญาทั้งทางจิตวิทยาในศาสนาพุทธ มีส่วนที่เหมือนกันกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และทางปรัชญายกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธสนับสนุนให้ทำการตรวจสอบธรรมชาติอย่างเป็นกลาง ๆ แนวคิดที่นิยมบางอย่าง เชื่อมคำสอนศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม และทฤษฎีจักรวาลวิทยา แต่ว่า นักวิทยาศาตร์โดยมาก เห็นความแตกต่างระหว่างคำสอนทางศาสนาและเกี่ยวกับอภิปรัชญาของศาสนาพุทธ กับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์[2]ในปี ค.ศ. 1993 มีการตีพิมพ์แบบจำลองที่แปลงมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางประชาน (theory of cognitive development) ของฌ็อง ปียาแฌ ที่เสนอว่า ศาสนาพุทธเป็นวิธีการทางความคิดแบบที่สี่[3]นอกเหนือไปจากไสยศาสตร์ (magic) วิทยาศาสตร์ และศาสนา[4]มีการกล่าวถึงศาสนาพุทธว่ามีเหตุผลและไม่ใช่ความเชื่อแบบหักล้างไม่ได้ (dogma) และมีหลักฐานที่แสดงว่า เป็นมาอย่างนี้แล้วมาตั้งแต่ต้น[5] แม้จะมีผู้ที่เสนอว่า ลักษณะเช่นนี้มีการให้ความสำคัญมากในปัจจุบัน และเป็นการตีความใหม่โดยบางส่วน[6]แต่ว่า ไม่ใช่ว่า ทุกนิกายในศาสนาพุทธ จะหลีกเลี่ยงการมีความเชื่อที่หักล้างไม่ได้ หรือสามารถวางตัวเป็นกลางเกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมชาติ หรือว่าเปิดใจที่จะยอมรับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ (ที่อาจจะขัดกับหลักศาสนา)รูปแบบของศาสนาพุทธมีหลายอย่าง รวมทั้งแบบมีความเชื่ออย่างมั่นคงในลัทธิของตน (fundamentalism)[7] แบบเน้นการบูชา[8]แบบอ้อนวอนผีบ้านและแบบที่มีความเชื่อทางไสยศาสตร์ต่าง ๆ[9]อย่างไรก็ดี มีการอ้างถึงความเหมือนกันระหว่างการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดวิถีพุทธในปี ค.ศ. 2005 องค์ทะไลลามะที่สิบสี่ เทนซิน เกียตโซ ได้กล่าวปาฐกถาในงานประชุมของสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ (Society for Neuroscience) ในเมืองวอชิงตัน ดี.ซี.ที่กำหนด "การตั้งความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องสัมบูรณ์ (คือความเชื่อว่าสิ่งนี้ต้องเป็นอย่างนี้เท่านั้น)" และการพึ่งอาศัยความเป็นเหตุผล (causality) และประสบการณ์นิยม (empiricism) ว่าเป็นหลักที่เหมือนกันในพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์[10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์ http://books.google.com.au/books?id=Rsv-FGH-MQcC&p... http://www.saraniya.com/books/meditation/SN_Goenka... http://www.sciam.com/article.cfm?chanID=sa006&arti... http://www.wired.com/wired/archive/14.02/dalai.htm... http://www.academia.edu/663726/Oliver_Kress_-_A_ne... http://online.sfsu.edu/~rone/Buddhism/VerhoevenBud... http://www.buddhanet.net/e-learning/kalama1.htm http://web.archive.org/web/20150407081507/http://w... http://australianinstitute.org/ http://www.buddhistethics.org/6/fenn991.html