ศาสนาพุทธโดยเป็นวิทยาศาสตร์ ของ ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์

อาจารย์กรรมฐานโกเอ็นก้าอธิบาย "พุทธธรรม" ว่าเป็น "วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับจิตและสสารล้วน ๆ"[17]และอ้างว่า ศาสนาพุทธใช้ศัพท์และเหตุผลทางปรัชญาและจิตวิทยา ที่แม่นยำ ที่เป็นเชิงวิเคราะห์[ต้องการอ้างอิง] อาจารย์พรรณนาคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ไม่ใช่เป็นความเชื่อในหลักคำสอนที่พิสูจน์ไม่ได้ แต่เป็นการตรวจสอบธรรมชาติตามความเป็นจริง ซึ่งต้องอาศัยการทำ ไม่เอนเอียง และไม่ลำเอียง[ต้องการอ้างอิง]

สิ่งที่ยอมรับกันทั่ว ๆ ไปในคำสอนศาสนาพุทธก็คือ ผลต้องเกิดจากเหตุเริ่มตั้งแต่ปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นต้นไป พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิบายความจริงของสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นเหตุและผลเช่น ความทุกข์และโทมนัสที่มีอยู่ในคนใดคนหนึ่ง ล้วนแต่มาจากเหตุวิธีการหนึ่งที่จะอธิบายมรรคมีองค์แปดก็คือ การหันเข้าหาความจริงที่มีอยู่ในปัจจุบัน และทำความเข้าใจความจริงนั้นโดยประจักษ์แม้ว่า จะมีการถกเถียงกันว่า การตรวจสอบเช่นนี้เป็นไปทางอภิปรัชญาหรือญาณวิทยา

พระภิกษุนิกายเซน ทิก เญิ้ต หั่ญได้เขียนเกี่ยวกับศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์ไว้ว่า[18]

ในศาสนาพุทธ มีความจริงสองอย่างคือ สมมุติสัจจะและปรมัตถสัจจะ

เมื่อกล่าวถึงสมมุติสัจจะ ชาวพุทธจะพูดถึงสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต การเกิดและการตาย การมาและการไป ภายในและภายนอก สัตว์หนึ่งหรือมากเป็นต้นและคำสอนและข้อปฏิบัติของพระพุทธเจ้าที่อาศัยสมมุติสัจจะ จะช่วยลดความทุกข์ และช่วยนำมาซึ่งความกลมกลืนและความสุขเมื่อกล่าวถึงปรมัตถสัจจะ คำสอนจะก้าวล่วงบัญญัติว่า สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต การเกิดและการตาย การมาและการไป ภายในและภายนอก สัตว์หนึ่งหรือมากเป็นต้นและคำสอนและข้อปฏิบัติที่อาศัยปรมัตถสัจจะ จะช่วยผู้ปฏิบัติให้พ้นจากการเลือกปฏิบัติ (ต่อบุคคลต่าง ๆ) ความหวาดกลัว และช่วยให้สัมผัสพระนิพพาน ซึ่งเป็นปรมัตถสัจจะชาวพุทธไม่เห็นข้อขัดแย้งระหว่างสัจจะทั้งสอง และมีอิสระในการประยุกต์ใช้คำสอนเกี่ยวกับสัจจะทั้งสองให้ดี

วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิก ดังที่เห็นในทฤษฎีของไอแซก นิวตัน สร้างขึ้นบนรากฐานที่สะท้อนประสบการณ์ในชีวิตประจำวันที่วัตถุต่าง ๆ มีอยู่โดยตนเอง และสามารถกำหนดได้ในกาลเวลาและสถานที่ส่วนกลศาสตร์ควอนตัมเป็นมูลฐานที่ใช้เพื่อเข้าใจว่า ธรรมชาติในระดับที่เล็กกว่าอะตอมมีความเป็นไปอย่างไร แต่เป็นศาสตร์ที่แตกต่างจากวิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกอย่างสิ้นเชิงเพราะว่า ในศาสตร์นี้ ไม่มีอะไรที่เรียกว่า ปริภูมิเปล่า (empty space) และตำแหน่งและโมเมนตัมไม่สามารถกำหนดได้อย่างแม่นยำพร้อม ๆ กันอนุภาคมูลฐานสลับเปลี่ยนจากมีแล้วก็ไม่มี และไม่ได้มีอยู่จริง ๆ แต่มีเพียงแต่ "ความโน้มน้าวที่จะมี"

วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกดูเหมือนจะสะท้อนสมมุติสัจจะ และกลศาสตร์ควอนตัมดูเหมือนจะก้าวหน้าไปเพื่อจะแสดงปรมัตถสัจจะโดยพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะทิ้งบัญญัติว่า สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ภายในและภายนอก ความเป็นเดียวกันและความเป็นอันอื่นเป็นต้นในขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ก็กำลังทำความพยายามเพื่อจะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสัจจะทั้งสอง ที่วิทยาศาสตร์ทั้งสองแบบเป็นตัวแทนเพราะว่า สัจจะทั้งสองสามารถทดสอบได้และประยุกต์ใช้ได้ในชีวิต

ในวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีหนึ่ง ๆ ควรจะได้รับการทดสอบหลาย ๆ ทางก่อนที่จะมีการยอมรับโดยพวกนักวิทยาศาสตร์พระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำในกาลามสูตรด้วยว่า คำสอนและความเข้าใจที่ครูสอน ควรจะรับการทดสอบผ่านประสบการณ์ก่อนที่จะยอมรับว่าเป็นความจริงความเข้าใจที่แท้จริง หรือว่า สัมมาทิฏฐิ มีสมรรถภาพในการปลดเปลื้อง (ให้พ้นจากการเลือกปฏิบัติเป็นต้น) และในการนำมาซึ่งความสงบและความสุขสิ่งที่ค้นพบในวิทยาศาสตร์ก็เป็นความเข้าใจเหมือนกัน และสามารถประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยี แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้ในพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเรา เพื่อเพิ่มคุณภาพของชีวิตและเพิ่มความสุขชาวพุทธและนักวิทยาศาสตร์สามารถแชร์วิธีการและข้อปฏิบัติแก่กันและกัน และสามารถได้ประโยชน์จากความเข้าใจและประสบการณ์ของกันและกัน

ข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อสติและสมาธิจะนำมาซึ่งความเข้าใจซึ่งสามารถช่วยทั้งชาวพุทธและนักวิทยาศาสตร์ความเข้าใจ (ปัญญา) ที่สอนโดยผู้ปฏิบัติที่แทงตลอดแล้วเช่นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ สามารถเป็นแรงจูงใจและแรงอุปถัมก์ สำหรับทั้งผู้ปฏิบัติชาวพุทธและนักวิทยาศาสตร์และการทดสอบทางวิทยาศาสตร์สามารถช่วยผู้ปฏิบัติชาวพุทธ ให้มีความเข้าใจที่ดีขึ้น มีความั่นใจมากขึ้น เกี่ยวกับความเข้าใจที่ได้มาจากโบราณจารย์ทั้งหลายเป็นความเชื่อของข้าพเจ้า (พวกเรา) ว่า ในศตวรรษที่ 21 นี้ ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์ะจะดำเนินไปด้วยกันเพื่อโปรโหมตเพิ่มความเข้าใจสำหรับเราทุกคน และนำมาซึ่งการปลดเปลื้องยิ่ง ๆ ขึ้น โดยลดการเลือกปฏิบัติ ช่องว่าง (ระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ) ความหวาดกลัว ความโกรธ และความสิ้นหวังในโลก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์ http://books.google.com.au/books?id=Rsv-FGH-MQcC&p... http://www.saraniya.com/books/meditation/SN_Goenka... http://www.sciam.com/article.cfm?chanID=sa006&arti... http://www.wired.com/wired/archive/14.02/dalai.htm... http://www.academia.edu/663726/Oliver_Kress_-_A_ne... http://online.sfsu.edu/~rone/Buddhism/VerhoevenBud... http://www.buddhanet.net/e-learning/kalama1.htm http://web.archive.org/web/20150407081507/http://w... http://australianinstitute.org/ http://www.buddhistethics.org/6/fenn991.html