คำกล่าวของนักวิทยาศาตร์สำคัญ ของ ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์

นีลส์ บอร์ นักฟิสิกส์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1922 ได้กล่าวไว้ว่า

โดยขนานกับบทเรียนที่ได้เกี่ยวกับทฤษฎีอะตอม

[เราจะต้องหันไปสนใจ]ปัญหาทางญาณวิทยาประเภทที่นักปราชญ์เช่นพระพุทธเจ้าและเล่าจื๊อได้เผชิญมาแล้วเมื่อเราพยายามจะทำความกลมกลืนระหว่างความเป็นผู้ชมและผู้แสดง ในละครชีวิตอันยิ่งใหญ่[19]

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ นักปราชญ์ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ. 1950 ได้พรรณนาศาสนาพุทธว่าเป็นปรัชญาเชิงวิทยาศาสตร์และ speculative philosophy โดยกล่าวว่า

ศาสนาพุทธเป็นการผสมกันของทั้งปรัชญาเชิงวิทยาศาสตร์และ speculative philosophy

ูซึ่งสนับสนุนระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ และทำการตามนั้นจนถึงที่สุด ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นเหตุผลนิยมในศาสนาเราอาจที่จะพบคำตอบต่อคำถามที่น่าสนใจเช่น"อะไรคือจิตและสสาร ในระหว่างทั้งสองนั้นอะไรสำคัญกว่า โลกนี้ดำเนินไปมีจุดประสงค์อะไรหรือไม่ มนุษย์เกี่ยวข้องกับธรรมชาติอย่างไร มีแบบการใช้ชีวิตที่ประเสริฐหรือไม่"เป็นศาสตร์ที่รับช่วงต่อในที่ที่วิทยาศาสตร์พาไปไม่ได้เพราะว่าความจำกัดทางเครื่องมือของวิทยาศาสตร์สิ่งที่พุทธศาสนาพิชิตก็คือเรื่องของจิต[20]

ส่วนนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันผู้เป็นบิดาของระเบิดปรมาณู ดร. เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ใช้อุปมาเกี่ยวกับศาสนาพุทธเมื่ออธิบายหลักความไม่แน่นอน คือ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราถามว่า ตำแหน่งของอิเล็กตรอนอยู่ที่เดียวกันหรือไม่ เราต้องตอบว่า ไม่ใช่

ถ้าเราถามว่า ตำแหน่งของอิเล็กตรอนเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรือไม่ เราต้องตอบว่า ไม่ใช่ถ้าเราถามว่า อิเล็กตรอนกำลังอยู่เฉย ๆ หรือไม่ เราก็ต้องตอบว่า ไม่ใช่ถ้าเราถามว่า อิเล็กตรอนกำลังเคลื่อนไปอยู่หรือไม่ เราก็ต้องตอบว่า ไม่ใช่พระพุทธเจ้าทรงให้คำตอบเช่นนี้เมื่อมีการถามถึงสภาพของอัตตาหลังจากตายแล้วแต่คำตอบเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องคุ้นเคยต่อนักวิทยาศาสตร์ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18[21]

ส่วนนักวิทยาศาสตร์ชื่อเสียงก้องโลกผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921 ดร. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผู้ค้นคิดทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ และหลักการความสมมูลระหว่างมวล-พลังงาน กล่าวถึงพุทธศาสนาว่า มีองค์แห่งจักรวาล (cosmic element) ที่มีกำลัง

...มีประสบการณ์ความรู้สึกทางศาสนาระดับที่สาม แม้ว่าจะไม่ค่อยปรากฏในรูปแบบที่ไม่เจือปน

ผมจะเรียกมันว่า ความรู้สึกทางศาสนาจักรวาล (cosmic religious sense)นี่เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายให้ชัดเจนเพื่อคนที่ยังไม่เคยประสบ เนื่องจากว่า เป็นความรู้สึกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับไอเดียของมนุษย์เกี่ยวกับพระเจ้าคือ บุคคลนั้นจะรู้สึกถึงความหยิ่งยโสของความต้องการและจุดมุ่งหมายของมนุษย์ และถึงความสง่างามและระเบียบที่น่าพิศวงซึ่งปรากฏในธรรมชาติและในโลกของความคิดเขาจะรู้สึกว่า ชะตากรรมของแต่ละบุคคลเป็นเหมือนกับถูกขังคุก และจะพยายามสืบหาเพื่อที่จะประสบความสมบูรณ์แบบของชีวิต โดยเป็นเอกภาพที่เต็มไปด้วยความหมายตัวบ่งชี้ความรู้สึกทางศาสนาจักรวาล สามารถเห็นได้แม้ในพัฒนาการขั้นก่อน ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในบทสวดของเดวิด (Psalms of David) และใน the Prophets(แต่ว่า) องค์ทางจักรวาลนั้นมีกำลังมากกว่าในพุทธศาสนา ดังที่ความเรียงยอดเยี่ยมของโชเพนเฮาเออร์ได้แสดงให้เราเห็นแล้วบุคคลอัจฉริยะทางศาสนาในทุกยุคทุกสมัยล้วนแต่เกิดความเด่นเพราะมีความรู้สึกทางศาสนาจักรวาลนี้ซึ่งไม่ยอมรับทั้งหลักการที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทั้งพระเจ้าที่สร้างเป็นรูปมนุษย์ดังนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะมีสถาบันศาสนา ที่คำสอนหลักจะมีรากฐานอยู่ที่ประสบการณ์ทางศาสนาจักรวาลดังนั้น จึงเป็นอย่างนี้เองว่า เราจะพบจากกลุ่มพวกคนนอกรีตจากทุกยุคทุกสมัย ซึ่งบุคคลที่รับแรงดลใจโดยประสบการณ์ศาสนาที่สูงสุดเช่นนี้บ่อยครั้ง คนพวกนี้จะปรากฏต่อคนยุคเดียวกันว่าเป็นพวกอเทวนิยม แต่บางครั้งก็จะปรากฏเป็นคนผู้มีคุณธรรมสูงสุด[22]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์ http://books.google.com.au/books?id=Rsv-FGH-MQcC&p... http://www.saraniya.com/books/meditation/SN_Goenka... http://www.sciam.com/article.cfm?chanID=sa006&arti... http://www.wired.com/wired/archive/14.02/dalai.htm... http://www.academia.edu/663726/Oliver_Kress_-_A_ne... http://online.sfsu.edu/~rone/Buddhism/VerhoevenBud... http://www.buddhanet.net/e-learning/kalama1.htm http://web.archive.org/web/20150407081507/http://w... http://australianinstitute.org/ http://www.buddhistethics.org/6/fenn991.html