วรรณะ ของ ศาสนาฮินดูแบบบาหลี

ระบบวรรณะของบาหลีปรากฏอยู่ในเอกสารของชาวยุโรปช่วงศตวรรษที่ 20 แบ่งเป็นสามกลุ่มได้สามกลุ่ม คือ ตรีวังสา (เกิดสามครั้ง) ทวิชาติ (เกิดสองครั้ง) และเอกชาติ (เกิดครั้งเดียว) โดยจะสูงศักดิ์ลดหลั่นลงมาตามลำดับ ส่วนวรรณะทั้งสี่แบบอินเดียนั้นจะออกเสียงแตกต่างออกไป คือ[20]

  • วรรณะพราหมณ์ (Brahmana บราห์มานา) – นักบวช
  • วรรณะกษัตริย์ (Satria ซาตรียา) – นักรบ
  • วรรณะแพศย์หรือไวศยะ (Wesia เวซียา) – วานิช
  • วรรณะศูทร (Sudra ซูดรา) – ทาส

นักมานุษยวิทยาชาวดัตช์ได้แบ่งกลุ่มวรรณะพราหมณ์ของบาหลีออกเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ ซีวา (Siwa) และบูดา (Buda) ซึ่งกลุ่มซีวาสามารถแบ่งย่อยได้อีก 5 กลุ่มย่อย ได้แก่ เกอเมอนุฮ์ (Kemenuh) เกอนีเติน (Keniten) มัซ (Mas) มานูบา (Manuba) และเปอตาปัน (Petapan) คือกลุ่มย่อยที่รองรับการสมรสระหว่างชายวรรณะสูงกับหญิงวรรณะต่ำ และนักมานุษยวิทยายังยังแบ่งวรรณะกลุ่มย่อย ๆ อีกตามเกณฑ์ลักษณะนี้ในศตวรรษที่ 19 ถึง 20 ตามการแต่งงานในกลุ่มวรรณะเดียวกัน ต่างวรรณะ หรืออาจมีปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งคล้ายคลึงกับระบบชนชั้นในอาณานิคมเม็กซิโกของสเปน และการศึกษาระบบวรรณะในอาณานิคมอินเดียของอังกฤษ[20]