สาระสำคัญ ของ ศิลปะร่วมสมัย

หนึ่งในอุปสรรคของการเข้าถึงงานศิลปะร่วมสมัยนั้นคือความหลากหลายของตัวชิ้นงาน ทั้งในด้านวัสดุ รูปแบบ แนวความคิด และแม้กระทั่งเรื่องของระยะเวลา ศิลปะร่วมสมัยไม่ได้ถูกจำแนกประเภทได้โดยมีชุดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง, แนวคิด, หรือลัทธิที่เป็นหลักที่สำคัญเหมือนเช่นที่เราเห็นได้ในงานศิลปะรูปแบบอื่นหรือช่วงระยะเวลาหรือการเคลื่อนไหวทางศิลปะอื่นๆ หากจะพูดกันอย่างกว้างๆ แล้ว การที่เรามองไปยังลัทธิสมัยใหม่เปรียบได้กับการมองไปที่หลักการของมัน หลักการซึ่งมุ่งเน้นไปที่ตัวเองศิลปะเองเช่นการพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้ พิจารณาการใช้เส้น, รูปร่าง, สี หรือรูปทรง เช่นเดียวกับลัทธิประทับใจหรืออิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) ที่มักพิจารณาไปที่การรับรู้ของช่วงเวลานั้นๆ ผ่านการใช้แสงและสี เพื่อเป็นการท้าทายงานศิลปะที่มีรูปแบบตายตัวจากลัทธิสัจนิยม (ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทางศิลปะเช่นกัน) ในทางตรงกันข้าม ศิลปะร่วมสมัยไม่มีหลักการใดหลักการหนึ่งที่สามารถนำมาพิจารณาได้ โดยมุมมองของศิลปะร่วมสมัยนั้นมักจะกำกวม และบางที่ก็มักจะเป็นภาพสะท้อนของโลกปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าหลักการของศิลปะร่วมสมัยนั้นจะต้องมีความขัดแย้ง สับสน และมีขอบเขตที่เปิดกว้าง อย่างไรก็ตาม เรายังสามารถเห็นขอบเขตคร่าวๆ ได้บ้าง หลักๆ คือ อัตลักษณ์ทางการเมือง, ร่างกาย, โลกาภิวัฒน์และการย้ายถิ่นฐาน, เทคโนโลยี, สังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย, เวลาและความทรงจำ และการวิจารณ์ความเป็นสถาบันและการเมือง ทฤษฎีจากลัทธิต่างๆ ได้แก่ ลัทธิหลังสมัยใหม่ (Post-modern), ลัทธิหลังโครงสร้างนิยม (Post-structuralist), เฟมินิสต์ (Feminist), และลัทธิมาร์กซ์ (Marxist) ถูกนำมาใช้เป็นบทบาทหลักในการพัฒนาทฤษฎีร่วมสมัยในโลกศิลปะ

บทความเกี่ยวกับศิลปกรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล
  1. https://www.mutualart.com/Article/Combining-Past--Present-and-Future--The-/DCC6DC54DE5810EF